ความดี

คนดีทำความดีได้ง่าย ทำความชั่วได้ยาก คนชั่วทำความดีได้ยาก ทำความชั่วได้ง่าย การนำหลักคนดีคนชั่วนี้มาประเมินตนเองอยู่บ่อยๆจะได้ปรับปรุงตนเอง ฝึกฝนตนเองอยู่เสมอ เพราะคนที่ฝึกตนดีแล้วประเสริฐสุด

ทำทุกอย่างด้วยความตั้งใจ

คนทำอะไรไม่มีใจก็ไร้ค่าไร้ราคาเปรียบเสมือนทรากศพเมื่อนำมาวัดแล้วมีสองอย่างคือฝัง­กับเผา คนเราทำงานสิ่งใดไม่ประกอบด้วยใจแล้วทำอะไรไม่ออกมาจากใจงานก็ไร้ค่าไร้ราคา เราควรฝึกหัดตัวเราให้ใส่ใจใคร่ครวญในงานที่ตนทำให้เป็นไปในทางธรรมะคือความดี

จรรยาบรรณผู้บริหารสถานศึกษา

จรรยาบรรณผู้บริหาร

ผู้บริหารในวงการศึกษา จาก 2 กลุ่มใหญ่ ผู้บริหารในวงการศึกษา ตามลักษณะของงานและหน่วยงานที่จะต้องประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู หรือจรรยาบรรณวิชาชีพอื่น อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย ได้ดังนี้

1. ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษา ที่เป็นสถานศึกษา

2. ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง ผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษา ที่ไม่ใช่สถานศึกษา

นอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หากผู้บริหารในวงการศึกษาผู้ใด เป็นข้าราชการ หรือพนักงาน หรือลูกจ้างอื่นของรัฐ จะต้องปฏิบัติตนตาม “จรรยาบรรณกลาง ของ ข้าราชการ และพนักงานหรือลูกจ้างอื่นของรัฐ” อีกด้วย

จรรยาบรรณในวิชาชีพของผู้บริหาร เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างเกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีของ ผู้บริหาร ให้ได้รับการยกย่อง เชื่อถือ ศรัทธา จากสังคมมาก จรรยาบรรณของผู้บริหารมี ดังนี้

1. จรรยาบรรณต่อตนเอง

1.1 พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และพัฒนาตน ให้มีคุณธรรม มี สุขภาพดี ทั้งกายและจิต รวมทั้งเพิ่มพูนความรู้ความสามารถในการบริหารงาน

1.2 พึงอุทิศตนเพื่อหน้าที่ มีความเสียสละ และมีความกล้าหาญทางจริยธรรม

1.3 พึงมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง

2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

2.1 พึงซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ

2.2 พึงใช้วิชาชีพในการบริหารจัดการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

2.3 พึงละเว้นการทำธุรกิจที่อาศัยอำนาจหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์ในกิจการนั้น

3. จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ

3.1 พึงซื่อสัตย์ต่อผู้รับบริการรักษาความลับและผลประโยชน์ในทางที่ถูก ของ ผู้รับบริการ

3.2 พึงละเว้นการแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ และให้บริการด้วยความเสมอภาค ไม่ใช้อภิสิทธิ

3.3 พึงให้ความสำคัญแก่ผู้รับบริการ บริหารงานเพื่อผลประโยชน์ของผู้รับบริการ มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

4. จรรยาบรรณต่อบุคลากรในองค์การ

4.1 พึงมีความยุติธรรม มีใจเป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติด้วยอคติ

4.2 พึงบริหารคนด้วยระบบคุณธรรม ไม่เล่นพรรคเล่นพวก

4.3 พึงรักษาความสามัคคี ปฏิบัติต่อบุคลากรด้วยหลักการและเหตุผล

5. จรรยาบรรณต่อองค์การ ชุมชน และสังคม

5.1 พึงให้ความสำคัญ และมีความจงรักภักดีต่อองค์การ

5.2 พึงดูแลรักษาและใช้ทรัพยากรส่วนรวมขององค์การ ย่างประหยัด คุ้มค่า และมีประสิทธิภาพ

5.3 พึงสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน และสร้างสันติภาพ สันติสุขให้เกิดขึ้นในสังคม

ข่าวการทอดผ้าป่าสร้างอาคารเรียน

วิดีโอภาพข่าวของโรงเรียนศรีแสงธรรม จากช่อง 7 สี ในงานทอดผ้าป่าสร้างอาคารเรียนศรีแสงธรรม

ต้นดี ปลายดี

ความดีเป็นภูมิคุ้มกันให้กับตัวเรา กริยาแห่งธรรม หรือจริยธรรมเป็นข้อควรปฏิบัติของมนุษย์ เป็นการประยุกต์หลักธรรมะมาใช้ในชีวิตตาม หลักภูมิคุ้มกันในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เฉลยข้อสอบภาษาไทย O-NET 54

เฉลยข้อสอบ O-NET ภาษาไทย 54 พร้อมเอกสารดาวน์โหลด นักเรียนสามารถดาวน์โหลดข้อสอบภาษาไทยได้ตามลิ้งค์นี้ http://www.mediafire.com/?39yuyxz5ph8a9

จิตสาธารณะ เป็นมงคลของชีวิต

จิตสาธารณะ คือรู้จักเสียสละไม่เห็นแก่ตัว เห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน การรักษาตนคือรักษาสิ่งแวดล้อม การรักษาตนเองด้วยระเบียบวินัย รักษาโรงเรียนด้วยจิตสาธารณะคือการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืน เป็นภูมิคุ้มกันให้กับตนเองในการอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

ความดีเกิดจากความตั้งใจ

ตั้งใจทำความดีย่อมส่งผลดี ตั้งใจทำสิ่งใดย่อมแสดงออกมาถึงผลงาน เพราะการกระทำถูกขับออกมาจากใจ เมื่อตั้งใจย่อมส่งผลมาดี ถ้าไม่ตั้งใจย่อมส่งผลงานออกมาไม่ดี

เฉลยข้อสอบสังคม O-NET 54

เตรียมสอบโอเนตวิชาสังคมศึกษา เป็นการสรุปเข้มพร้อมตัวอย่างข้อสอบ มีประโยชน์มากสำหรับนักเรียนชั้น ม.6 ที่เตรียมตัวไปสอบปีนี้