โรงไฟฟ้าลำตะคอง

เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา

52602614_2178399128943473_773924721300340736_n

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยท่านผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้นำคณะศึกษาดูงานจากโรงเรียนศรีแสงธรรมไปเยี่ยมชมระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ ในโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา

 

โดยวันแรกมาเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าสูบบกลับเขื่อนลำตะคอง แนวคิดการรองรับอนาคตการเสรีโซล่าร์เซลล์สำหรับประชาชนทั่วไปติดตั้งบนหลังคาบ้านเพื่อส่งไฟเข้าระบบจำหน่ายได้ตอนกลางวันที่บางคนไม่มีการใช้งานก็สามารถผลิตเพื่อจำหน่ายโดยมาคิดเงินกันสิ้นเดือนถ้าใช้ไฟจากสายส่งมากกว่าที่ผลิตได้ก็ให้จ่ายค่าไฟ แต่ถ้าผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ได้มากกว่าการใช้งานในเดือนนั้นก็ได้รับเงินจากรัฐ ทุกหกเดือนจะมาคิดบัญชีกัน หรือสิ้นปีค่อยมาหักลบกลบหนี้กัน

 

 

ระบบนี้หากมีเรื่องของการกักเก็บพลังงานเข้ามาแล้วอาจจะเพิ่มราคาการช่วยจ่ายในเวลาพีค หรือเวลาที่ต้องการไฟสูงสุดเช่นตอนบ่ายสองโมงในวันทำงานปกติ และตอนหัวค่ำ เหมือนภารกิจของโรงไฟฟ้าสูบกลับเขื่อนลำตะคอง ที่มีการนำไฟฟ้าในช่วงที่ไม่ได้ใช้มาสูบน้ำขึ้นบนหลังเขา แล้วปล่อยน้ำลงมาปั่นไฟในตอนที่ต้องการใช้งานอย่างรีบด่วน เพื่อช่วยเสริมระบบการผลิตหลักอย่างเช่นปัจจุบัน และยังช่วยเรื่องการกู้ระบบอย่างเช่นโรงไฟฟ้าหลักมีปัญหาดับกระทันหัน ต้องหาระบบไฟสำรอง ต้องใช้เขื่อนลำตะคองช่วยพยุงระบบไว้หลายชั่วโมงเพื่อมีเวลาเพียงพอให้เจ้าหน้าที่กู้ระบบต่างๆได้ ช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและอื่นๆ อืกมากมาย

53071321_2178406585609394_3729798987675336704_o

นอกจากนี้ยังมีกังหันลมปั่นไฟอีก 12 ต้นขนาด 24 เมกกะวัตต์ พร้อมทั้งมีศูนย์การเรียนรู้เรื่องการผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจน และกำลังเตรียมเปิดศูนย์เรียนรู้ที่ทันสมัยที่สุดในภาคอิสาน ด้วยหุ่นยนต์ HBOT อนาคตอันใกล้นี้หามีงบประมาณ หรือมีผู้สนับสนุนอาจจะเห็นศูนย์เรียนรู้ที่ทันสมัยในโรงเรียนศรีแสงธรรมก็เป็นได้ ตอนนี้ก็เป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ ไปก่อน ไม่มีอะไรที่เราจะทำไม่ได้ถ้าตั้งใจจริง

 

 

ซิลิคอน วัลเลย์

50472054_2123324701117583_6492004481364918272_oโครงการอบรมหุ่นยนต์สมองกลฝังตัวขนาดเล็ก ของโรงเรียนศรีแสงธรรมร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตามโครงการบริการวิชาการของวิศวะไฟฟ้า ซึ่งทางโรงเรียนศรีแสงธรรม ได้บันทึกความร่วมมือยกระดับคุณภาพวิชาการโดยมีมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยง

กิจกรรมครั้งมีอาจารย์สมนึก เวียงวัฒนชัย และคณะ รวมถึงนักศึกษาจิตอาสาได้มาช่วยดูแลน้องๆ นักเรียน ซึ่งได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเด็กๆ นักเรียนชมรมหุ่นยนต์ และนักเรียนที่สนใการทำหุ่นยนต์ โดยได้มีการเขียนโค้ดคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ในการสื่อสารกับตัวหุ่นยนต์

กิจกรรมมี  2 วัน ช่วยแรกเป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ การเขียนโค้ดคำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์ และทักษะการประกอบตัวหุ่นยนต์ลักษณะต่างๆ ที่มีข้อดีข้อด้อยต่อการใช้งานจริงอย่างไร ทั้งนี้นักเรียนสามารถนำไปสร้างเป็นหุ่นยนต์จริงได้ถ้ามีความพร้อม หรือมีงบประมาณเพียงพอ ซึ่งหุ่นยนต์เป็นการใช้งบประมาณสูงพอสมควรสำหรับโรงเรียนในชนบทตามแนวชายแดน แต่ด้วยความมุ่งหวังต่อการพัฒนา การยกระดับคุณภาพการศึกษา ทางโรงเรียนจึงจัดหางบประมาณมาให้นักเรียนได้เรียนรู้กัน

นอกจากจะได้รับความรู้แล้วก็ยังมีความสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับการสื่อสารผลงานที่ได้ทำขึ้น มีการเชื่อมต่อเข้ากับระบบมือถือเพื่อสั่งการไปยังหุ่นยนต์ให้วิ่งไปตามต้องการ มีการใช้ระบบ IOT เข้ามาร่วมในกิจกรรมการบังคับหุ่นยนต์ แข่งขันหุ่นยนต์แข่งขันการทำภารกิจในช่วงท้ายการอบรมด้วย


กิจกรรมการอบรมหุ่นยนต์ได้รับความสนใจทั้งครูและนักเรียน เข้าร่วมการอบรมตลอดหลักสูตร เพื่อนำไปต่อยอดในการเรียนรายวิชาคอมพิวเตอร์ และเป็นการจัดการศึกในรูปแบบของ STEM Education ที่โรงเรียนศรีแสงธรรมได้จัดเป็นธรรมชาติของโรงเรียนอยู่แล้ว

กิจกรรมดีๆ ที่ทางโรงเรียนได้จัดขึ้นนับเป็นอีกมิติของการร่วมมือกับชุมชน หรือผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามามอบความรู้ ความสุขในการเรียนการสอน ขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับอาจารย์สมนึก เวียนวัฒนชัย หัวหน้าโครงการ อาจารย์ผดุง และคณะ ที่มาเป็นวิทยากรอบรมให้กับเด็กๆ ที่นี่ได้มีโอกาสได้เรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ จะเรียกได้ว่าเป็น “ซิลิคอน วัลเลย์ แห่งเมืองอุบล” ก็ว่าได้

#ซิลิคอนวัลเลย์แห่งเมืด้องอุบล