โคมไฟพลังแสงอาทิตย์ศรีแสงธรรม

โคมไฟพลังแสงอาทิตย์ศรีแสงธรรม

โคมไฟบนตอไม้ เป็นศิลปะอีกอย่างหนึ่งด้านพลังงานทดแทน

โคมไฟโซล่าร์เซลล์ส่องถนนไปบ้านพักครูของโรงเรียนโดยทดลองทำขึ้นเพื่อรองรับแบตเตอรีที่จะมีผู้มีจิตศรัทธาที่จะนำมาบริจาคให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทน เป็นโรงเรียนพลังงานทดแทนต้นแบบ ซึ่งทางโรงเรียนได้นำมาติดตั้งบริเวณแปลงเกษตรหน้าบ้านพักครูเพื่อส่องสว่างในเวลากลางคืนและประหยัดค่าไฟฟ้าอีกทางหนึ่ง

โคมไฟพลังแสงอาทิตย์ตามสวนเกษตร

โคมไฟพลังแสงอาทิตย์ในแปลงมะนาวบ่อซีเมนต์ของโรงเรียนศรีแสงธรรม

รวมทั้งเป็นต้นแบบให้กับผู้ที่สนใจศึกษานำไปติดตั้งตามสวน บ้าน หรือทางเดินต่างๆ ตามความเหมาะสมของตนเองซึ่งโคมไฟพลังแสงอาทิตย์ศรีแสงธรรมนี้สว่างมาก ทำเสาสูง 3 เมตรส่องจนเห็นยอดหญ้าต้องเพิ่มเสาขึ้นเป็น 3.5 เมตร หรือ 4 เมตรก็ได้

ความสว่างโคมไฟพลังแสงอาทิตย์

ความสว่างของโคมไฟพลังแสงอาทิตย์ศรีแสงธรรม

ชุดทดลองโคมไฟพลังแสงอาทิตย์ศรีแสงธรรม ได้ใช้แผ่นโซล่าเซลล์แบบโมโนขนาด 40 W.เพื่อชาร์จแบตเตอรี 12 V.ขนาดความจุ 17A/H โดยผ่านคอนโทรลชาร์จ 3 A/H ที่สามารถตั้งเวลาเปิด-ปิดอัตโนมัตได้ ชุดแรกใช้เสาประปา 3 นิ้วลดนิ้วครึ่ง

อุปกรณ์โคมไฟพลังแสงอาทิตย์ศรีแสงธรรมข้อแนะนำเสาไฟหากต้องการประหยัดและดูเรียบร้อยลองใช้ใส่ท่อ PVC ก็ได้ เพราะว่าแถวชนบทที่โรงเรียนตั้งอยู่จะขายท่อประปา 3 นิ้ว ท่อนละ 1,900 บาทและยังต้องเสียค่าขนส่งใช้รถปิคอัพไปขนก็ต้องตัดท่อมาทำให้ลำบากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น หรือจะใช้เสาไม้ไผ่ก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงไปได้อีก ชุดโคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์หากซื้อของมาเอง ทำเอง ติดตั้งเองจะมีค่าใช้จ่ายประมาณสี่พันบาทต่อชุด เมื่อเปรียบเทียบขนาดเดียวกันหรือใกล้เคียงกันกับท้องตลาดจะขายตั้งแต่ชุดละหมื่นห้าพันไปจนถึงสามหมื่นกว่าบาทถ้าเราทำเองได้จะประหยัดลงไปอีกเยอะและเป็นการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนอีกด้วย เมื่อต้องการขยายก็ทำใหม่ ถ้าไปซื้อก็ได้ต้นเดียวถ้าทำเป็นแล้วจะเอากี่ต้นก็ได้

โคมไฟพลังแสงอาทิตย์นักเรียนศรีแสงธรรม

นักเรียนชั้นม.1 กำลังช่วยกันต่อโคมไฟพลังแสงอาทิตย์ศรีแสงธรรม

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานให้แก่พสกนิกรสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับหลายอย่างซึ่งแต่ก่อนเราเข้าใจว่าใช้ได้เฉพาะด้านการเกษตร หรือให้คนจนอยู่ดีกินดี แต่ความจริงแล้วใช้ได้ทุกระดับ ทุกมิติทางสังคม ดังเช่นโคมไฟพลังแสงอาทิตย์โรงเรียนศรีแสงธรรมนี้ก็เป็นตัวอย่างการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานอีกทางหนึ่ง

โคมไฟพลังแสงอาทิตย์โรงเรียนศรีแสงธรรม

โคมไฟพลังแสงอาทิตย์ศรีแสงธรรม โรงเรียนพลังงานทดแทนต้นแบบ

ยุคเศรษฐกิจฝืดเคีองการพึ่งพาตนเองดีที่สุด

สู้ภัยแล้ง ลดโลกร้อน

ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์“กริดกู สู้ภัยแล้ง ลดโลกร้อน”

“กริดกู สู้ภัยแล้ง ลดโลกร้อน”
ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ชุดทดลองใช้ซัฟเมิส ขนาด 1.5 แรง ที่มีอัตราการไหลของน้ำ 70 ลิตร/นาที ที่ระดับความสูง 60 เมตร หรือสามารถสูบน้ำได้ 21,000 ลิตร/วัน

12313800_926562080793857_7486666032275278621_n

ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ สูบน้ำลึก 40 เมตร

เหมาะสำหรับเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลไฟฟ้าเข้าไม่ถึงเพราะการลงทุนขยายสายไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่อาจจะใช้ทุนสูงและต้องเสียค่าไฟฟ้าต่อไป หรือมีบางที่มีเครื่องที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมาขับเครื่องสูบน้ำมีค่าใช้จ่ายถึงวันละ 200 บาท/วัน ตลอด7เดือนนอกฤดูฝน
และระบบประปาหมู่บ้านที่สูบน้ำในเวลากลางวันเก็บไว้บนถังแล้วนำมาจ่ายให้กับชาวบ้านซึ่งมีค่าบริการหน่วยละห้าบาท จากการสอบถามพบว่าบางหมู่บ้านใช้ค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำขึ้นถังเดืนละ 5,000 บาท เก็บเงินค่าบริการได้เดือนละ 8,000 บาท ยังมีเหลือเก็บไว้เป็นค่าบริหารจัดการในชุมชนของตนเอง

ทดสอบซัพเมิส

โรงเรียนศรีแสงธรรมทดสอบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

จากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหากลดค่าไฟฟ้าลงในภาคเกษตรก็จะทำให้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น หรือในประปาหมู่บ้านที่มีค่าบริการน้ำด้วยทำให้ระยะเวลาคุ้มทุนได้เร็วขึ้น การลงทุนระบบสูบน้ำนี้ตามที่ได้สอบถามช่างที่รับเหมาติดตั้งพบว่ามีราคาตั้งแต่ 130,000 – 170,000 บาท หากรับงานราชการหรือบริษัทรับตั้งแต่ราคา 190,000 – 250,000 บาท

12313951_926562104127188_5105236114220788610_n

ช่างขอข้าวจาก โรงเรียนศรีแสงธรรม กำลังติดตั้งถวายวัด

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ที่ช่างนำมาติดตั้งได้คุณภาพ หรือประสิทธิภาพอย่างไร รวมถึงบริการหลังการติดตั้งเป็นปัจจัยที่ผู้ติดตั้งต้องพิจารณาให้รอบคอบเพราะสื่อโฆษณาต่างๆมักจะบอกข้อดีที่สุดส่วนข้อด้อยเราต้องหาเอง การแสวงหาความรู้ หาข้อมูลเบื้องต้นก่อนจะทำให้ได้ของดีและคุ้มค่า