ข้าวเหนียว ทาเนย

Biggles Bigband Thailand Tour 2019

53551198_2311686572490530_5663126035764346880_n

มีโอกาสได้มาเป็นแขกรับเชิญสถานทูตฮอลแลนด์ ในการต้อนรับวง Biggles Big Band วงดนตรีแจ๊ส ออร์เคสตร้า ขนาดวง 25 ชิ้น กับการแสดงดนตรี Thailand Tour Concert 2019

53525880_383496945536303_8904849758875549696_n

ซึ่งมาจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางดนตรีระหว่างชาวไทยกับชาวดัตซ์ และมีโปรแกรมจัดกิจกรรมกับเด็กๆ นักโรงเรียนศรีแสงธรรมในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562

เป็นการแสดงเพื่อให้เด็กๆ นักเรียนได้สนุกสนาน และเพื่อการกุศลหาทุนสนับสนุนสร้างห้องดนตรี จัดหาเครื่องดนตรี และจ้างตรูดนตรีมาสอนโรงเรียนศรีแสงธรรมเป็นเวลา 1 ปีในเบื้องต้น หากมีงบประมาณเพียงพอหรือปีต่อๆ ไป อาจจะได้มาสร้างห้องดนตรีหรือหางบประมาณมาจ้างครูดนตรีสอนต่อไปเรื่อยๆ

 

วง Biggles Bigband ได้จัดมินิคอนเสิร์ตที่โรงเรียนในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีนักเรียนร่วมการแสดงเป็นที่สนุกสนานชื่นชอบของนักเรียนเป็นอย่างมาก มีผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามาร่วมฟังเพลงแจ๊ส เพราะว่าเป็นโอกาสอันดีที่วงแจ๊สระดับโลกจะมาแสดงให้ชมถึงที่

 

ปกติวง Biggles จะเดินสายไปทั่วโลก และจะเล่นประจำอยู่ที่กรุงอัสสเตอร์ดัม ประเทศเนเธแลนด์ ทุกคืนวันจันทร์ที่ร้าน Cafe Casablanca และเดินทางมาแสดงที่ประเทศไทยแล้ว 6-7 ปี ซึ่งทางหัวหน้าวง Mr.Adrie Braat ผู้กำกับวงได้หลงเสน่ห์เมืองไทย โดยเฉพาะพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ถึงกับเรียนภาษาไทย เพื่อจะได้ไปมาเมืองไทยได้สะดวก

 

มีความสุขกับการเล่นดนตรีและอยากเผยแพร่ให้กับเด็กๆ เยาวชนไทย โดยเฉพาะที่โรงเรียนศรีแสงธรรมนี้ ได้บริจาคเงินจำนวน 180,000 บาทให้กับโรงเรียนเพื่อเป็นทุนในการจัดหาครูดนตรีมาสอนที่โรงเรียนด้วย

 

นับเป็นน้ำใจจากเหล่านักดนตรีจิตอาสาทีมาแสดงด้วยหัวใจโดยไม่มีค่าตัวแต่อย่างใด ทั้งนี้ยังให้โอกาสนักเรียนโรงเรียนศรีแสงธรรมได้ร่วมสนุกได้จนลืมทานข้าวเที่ยงไปเลย

ต้องขอขอบคุณทางวง Biggles Bigband ที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนเล็กในป่าใหญ่อย่างเราได้สัมผัสดนตรีอันยิ่งใหญ่ของโลกนับเป็นประสบการณ์อันมีค่าสำหรับนักเรียนที่นี่อีกครั้งหนึ่ง

 

ขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านสำหรับอาหารโรงทานต่างๆ ทั้งส้มตำ ข้าวเหนียวย่าง ขนมจีน อย่างอร่อย สำหรับชาวต่างชาติ ที่บอกว่า #ข้าวเหนียวทาเนย คือการผสมผสานวัฒนธรรมของไทยและฮอลแลนด์อย่างลงตัว

ติดตามผลงานที่นี่ Biggles Bigband

โรงไฟฟ้าลำตะคอง

เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา

52602614_2178399128943473_773924721300340736_n

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยท่านผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้นำคณะศึกษาดูงานจากโรงเรียนศรีแสงธรรมไปเยี่ยมชมระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ ในโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา

 

โดยวันแรกมาเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าสูบบกลับเขื่อนลำตะคอง แนวคิดการรองรับอนาคตการเสรีโซล่าร์เซลล์สำหรับประชาชนทั่วไปติดตั้งบนหลังคาบ้านเพื่อส่งไฟเข้าระบบจำหน่ายได้ตอนกลางวันที่บางคนไม่มีการใช้งานก็สามารถผลิตเพื่อจำหน่ายโดยมาคิดเงินกันสิ้นเดือนถ้าใช้ไฟจากสายส่งมากกว่าที่ผลิตได้ก็ให้จ่ายค่าไฟ แต่ถ้าผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ได้มากกว่าการใช้งานในเดือนนั้นก็ได้รับเงินจากรัฐ ทุกหกเดือนจะมาคิดบัญชีกัน หรือสิ้นปีค่อยมาหักลบกลบหนี้กัน

 

 

ระบบนี้หากมีเรื่องของการกักเก็บพลังงานเข้ามาแล้วอาจจะเพิ่มราคาการช่วยจ่ายในเวลาพีค หรือเวลาที่ต้องการไฟสูงสุดเช่นตอนบ่ายสองโมงในวันทำงานปกติ และตอนหัวค่ำ เหมือนภารกิจของโรงไฟฟ้าสูบกลับเขื่อนลำตะคอง ที่มีการนำไฟฟ้าในช่วงที่ไม่ได้ใช้มาสูบน้ำขึ้นบนหลังเขา แล้วปล่อยน้ำลงมาปั่นไฟในตอนที่ต้องการใช้งานอย่างรีบด่วน เพื่อช่วยเสริมระบบการผลิตหลักอย่างเช่นปัจจุบัน และยังช่วยเรื่องการกู้ระบบอย่างเช่นโรงไฟฟ้าหลักมีปัญหาดับกระทันหัน ต้องหาระบบไฟสำรอง ต้องใช้เขื่อนลำตะคองช่วยพยุงระบบไว้หลายชั่วโมงเพื่อมีเวลาเพียงพอให้เจ้าหน้าที่กู้ระบบต่างๆได้ ช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและอื่นๆ อืกมากมาย

53071321_2178406585609394_3729798987675336704_o

นอกจากนี้ยังมีกังหันลมปั่นไฟอีก 12 ต้นขนาด 24 เมกกะวัตต์ พร้อมทั้งมีศูนย์การเรียนรู้เรื่องการผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจน และกำลังเตรียมเปิดศูนย์เรียนรู้ที่ทันสมัยที่สุดในภาคอิสาน ด้วยหุ่นยนต์ HBOT อนาคตอันใกล้นี้หามีงบประมาณ หรือมีผู้สนับสนุนอาจจะเห็นศูนย์เรียนรู้ที่ทันสมัยในโรงเรียนศรีแสงธรรมก็เป็นได้ ตอนนี้ก็เป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ ไปก่อน ไม่มีอะไรที่เราจะทำไม่ได้ถ้าตั้งใจจริง

 

 

กฟผ.ศึกษาดูงานโรงเรียนศรีแสงธรรม

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

41220

กฟผ.ดูงานโรงเรียนศรีแสงธรรม

รองผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำคณะผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ศึกษาดูงานระบบพลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์โรงเรียนศรีแสงธรรม วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

41222

นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า (รวฟ.) พร้อมด้วยนายจรัญ คำเงิน (ชฟม.) , นายพิพัทต์ คงสินทวีสุข (อฟอ.) , ผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. และนายสนอง มะลัยขวัญ นายอำเภอสิรินธร

41226

ได้ศึกษาดูงานเรียนรู้การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์พลังงานทดแทนต้นแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ภายในโรงเรียนศรีแสงธรรม และวัดป่าศรีแสงธรรม ทั้งในระบบไฮบริด , ระบบออนกริตเพื่อประหยัดไฟฟ้า , ระบบสมาร์ทกริต , การผลิตรถพลังงานแสงอาทิตย์ , ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรกรรม ฯลฯ

41228

โดยมีท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศรีแสงธรรม เป็นวิทยากรบรรยายพร้อมนำคณะฯ ดูงานฯ

S__2867202

ซึ่งผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. รู้สึกศรัทธาชื่นชมความรู้ ความสามารถ และแนวคิดการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน ด้านการศึกษา การช่วยเหลือสนับสนุนหมู่บ้านชุมชนใกล้เคียงวัด/โรงเรียน โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ และสร้างคุณประโยชน์ให้ชุมชน สังคมอย่างยั่งยืน ณ ห้องปฏิบัติการพลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ โรงเรียนศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

S__2867203

 

โซล่าร์ลอยน้ำ

Smart Hybrid System

39521886_1908338899282832_4974143329353596928_o.jpg

โซล่าร์เซลล์ลอยน้ำ

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ บนทุ่นลอยน้ำภายในวัดป่าศรีแสงธรรม เพื่อจ่ายไฟฟ้าใหักับสถานีวิทยุเสียงธรรมที่เปิดตลอด 24 ชม. เนื่องจากพื้นที่ว่างมีการเพาะปลูกป่าเต็มไปหมด เหลือเพียงในสระน้ำที่ขุดเก็บกักน้ำไว้ใช้จึงต้องทำทุ่นลอยน้ำในการติดตั้งแผ่นโซล่าร์เซลล์ขนาด 320 วัตต์จำนวน 16 แผ่น สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่งมายังอินเวอร์เตอร์แบบไฮบริด

 

39454360_1906078359508886_6539573284277583872_o

ผังภาพวงจร

ระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ด้วยอินเวอร์เตอร์แบบ สมาร์ทไฮบริด เป็นเทคโนโลยีใหม่ทำงานคล้ายกับอุปกรณ์สำรองไฟฟ้าในคอมพิวเตอร์หรือ UPS ระบบจะเลือกรับไฟฟ้ากระแสตรงจากแผ่นโซล่าร์เซลล์เข้ามาแปลงเป็นกระแสสลับ 220 โวลท์ ก่อนในตอนกลางวันที่มีแสงแดดแล้วผลิตไปจ่ายไฟเข้าสถานี

40093115_1918388784944510_9075737178914422784_o

หลุยส์ เฮสดาร์ซัน

ในกรณีนี้มีการใช้พลังงานเพียง 3,000 วัตต์ชั่วโมง จะมีพลังงานที่ไม่ได้ใช้เกินมาประมาณ 2,000 วัตต์ชั่วโมงระบบก็จะทำการชาร์จพลังงานเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และยังคงใช้ได้อยู่เหมือนเดิม เมื่อเแสงแดดหมดระบบก็จะดึงเอาพลังงานที่สะสมไว้จากแบตเตอรี่มาใช้ประมาณ 5 ชม. (ช่วงกลางคืน) พลังงานที่สะสมไว้ก็จะหมดจากแบตเตอรี่

IMG_1207

ที่ไม่ใช้แบตเตอรี่มากก็เพราะไม่ต้องการสำรองไว้มากจะเปลืองค่าแบตเตอรี่ หลังจากห้าทุ่มเป็นต้นไประบบสวิทช์อัตโนมัติก็จะตัดไปใช้ไฟจากสายส่ง ซึ่งไฟจากสายส่งนี้เราสามารถเลือกให้ชาร์จแบตช่วยแผ่นโซล่าร์เซลล์ได้ในกรณีที่พายุเข้าเป็นเดือนเหมือนเช่นทุกวันนี้ 

40067137_1918479361602119_8400086373113004032_o.jpg
ข้อดีของระบบนี้คือไฟจากสายส่งดับระบบก็ไม่ดับไปด้วยเพราะไม่ได้ซิงโคไนซ์กับไฟสายส่ง ขอให้มีแดดก็ยังใช้ได้ตลอด แม้แดดจะหมดไฟจากแบตก็ยังจ่ายต่อไปได้อีก 4-5 ชม.หากมีงบประมาณพอเอาให้จ่ายทั้งคืนรอจนแดดมาใหม่ก็ทำได้ จากภาพขั้นตอนการติดตั้งนี้จะเห็นได้ว่า ไฟจากสายส่งเป็นเพียงแค่ไฟสำรองระบบของเราเท่านั้น เป็นความมั่นคงด้านพลังงานของสถานีวิทยุเสียงธรรมที่เปิดต่อเนื่องส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาสนใจธรรมะภาคปฏิบัติกันมากขึ้นเพราะไม่ต้องลงทุนก็สร้างบุญสร้างกุศลให้ตนเองได้

การติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ลอยน้ำ

ตามหลักการของอาร์คีเมดีส : แรงลอยตัวของวัตถุ = น้ำหนักของของใหลที่ถูกแทนที่โดยวัตถุนั้น
ถ้าเราต้องการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ขนาด 5 Kw.นำหนักรวมประมาณ 1,200 กก.คือเราต้องการแรงลอยตัว 1200 กก ถ้าของใหลเป็นน้ำ สิ่งที่แทนที่คืออากาศ(โดยคิดคร่าวๆตัด นน.ของอากาศออกไป)ดังนั้น
น้ำ 1 ลิตร จะหนัก 1 กก. ถ้าต้องการแรงลอยตัว 1,200 กก.ก็จะต้องแทนที่น้ำ 1,200 ลิตร คิดเป็น ลบ.เมตร ได้ 1.2 ลบ.เมตร จากการไปดูโครงสร้างแล้วทำให้หวั่นใจว่าจะเป็นการลอยน้ำแบบไหน โดยสภาพการลอยตัว

39846693_1911769628939759_2614344754829197312_n

การลอยตัวมี 3 แบบคือ
-Positive Buoyancy การลอยตัวเป็นบวก วัตถุจะลอยน้ำ
-Neutral Buoyancy การลอยตัวเป็นกลาง วัตถุไม่ลอยไม่จม มีสภาพไร้น้ำหนัก
-Negative Bouyancy การลอยตัวเป็นลบ วัตถุจมน้ำ
ความสำคัญของการลอยตัว คือปริมาตร ไม่ใช่น้ำหนัก
มีสูตรแนะนำมากมายต้องลองทำดูว่าแบบไหนจะไม่เปลืองเกินไป เทคนิคในการหาปริมาตรของทุ่นเพื่่อรองรับแผงโซล่าเซลล์ลอยน้ำ ให้แยกออกเป็น 2 ส่วนคือ

1.น้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์และชุดโครงสร้าง 13kg/m2 และ
2.น้ำหนักของชุดโครงสร้างแพและจับยึดทุ่น ตัวเลข 40kg/m2-100kg/m2 หลังจากนั้นหาพื้นที่ที่ใช้งานทั้งหมด นำไปคูณน้ำหนักต่อตารางเมตรจะได้น้ำหนักของแพออกมา

การที่วัตถุสามารถลอยน้ำได้ จะต้องมีแรงปฏิกริยามากกว่าแรงโน้มถ่วง เพราะฉะนั้นวัตถุจะต้องมีค่าความหนาแน่นของวัตถุน้อยกว่าน้ำ ซึ่งความหนาแน่นของน้ำ D = 1/1000 kg/m3
จาก D = m/v จะได้ว่า มวล 1kg = ปริมาตร1 ลิตร (1 ลบ.ม =1000 ลิตร) สมมุติว่า ต้องการให้แพสามารถรองรับน้ำหนักได้ 1200 kg ก็ต้องใช้ทุ่นลอยน้ำที่มีปริมาตร 1200 ลิตร แต่ว่าควรเผื่่อค่าความปลอดภัยไว้ที่ 1.5 เนื่องจากมีน้ำหนักของทุ่น และอาจจะมีวัตถุอื่นๆบรรทุกในอนาคตร่วมได้ เพราะฉะนั้นจะได้ปริมาตรของทุ่นที่ปลอดภัยคือ 1200×1.5 = 1800 ลิตร หากใช้ถังเปล่าปริมาตร 200 ลิตร จะใช้ถังจำนวน 9 ถัง เป็นอย่างต่ำ โดยบางท่านอาจจะออกแบบทุ่นเองก็สามารถนำปริมาตรดังกล่าวไปคำนวณหาขนาดของทุ่นให้เหมาะสมก็ได้

40082639_1918492691600786_1724391010991079424_o

งานนี้ดาราพระเอกละครจากช่อง 7 สี หลุยส์ เฮสดาร์ซัน พระเอกลูกครึ่งฝรั่งเศส มาช่วยติดตั้้งโซล่าร์เซลล์ร่วมกับน้องๆ นักเรียนโรงเรียนศรีแสงธรรม จึงเป็นสีสันให้กับท้องถิ่นแห่งนี้อีกแบบหนึ่ง

และยังมีโซล่าร์ลอยน้ำจาก SCG มาติดตั้งระบบมาตรฐานให้อีก 5 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถมาชมได้ที่วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

40046251_1918492441600811_3282394615272964096_o

ต้านภัยแล้งด้วยแสงอาทิตย์

ระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์

20663951_1462693810514012_4462540447017574529_n

ถังเก็บน้ำขนาด 57,000 ลิตร

การกักเก็บพลังงานส่วนที่เกินคมาไว้ในรูปแบบของน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค เป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ และทางเลือกพลังงานที่ขาดแคลนหรือพื้นที่ห่างไกลไฟเข้าไม่ถึง

 

 

เกษตรไทยยุค 4.0 หรือ 5.0 ก็ตามส่วนมากการประกอบอาชีพจะลำบาก และมีความเป็นอยู่แบบยากจนปัญหาหลักคือน้ำทำการเกษตรอยู่ใต้ดิน หรือแม้แต่อยู่ผิวดินเมื่อนำมาใช้ในแปลงหรือในพื้นที่ต้องการก็ย่อมจะอาศัยเครื่อสูบน้ำ ถ้าไม่จากไฟฟ้าก็จากน้ำมัน ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย ต้นทุนการดึงไฟจากสายส่ง หรือค่าน้ำมันในแต่ละวัน

 

 

โซล่าร์ปั๊มจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการนำมาใช้ นับวันจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาและราคาถูกลงอย่างมากเมื่อก่อนมีการประมูลระดับสามแสนขึ้นไปซึ่งมีการกำหนดสเปคมาแล้ว การแข่งขันจึงน้อยมีปั๊มที่สามารถผูกขาดงานอยู่เจ้าเดียว แต่ปัจจุบันการแข่งขันสูงมีปั๊มออกมาแข่งขันกันมาก ราคาไม่ถึงแสน และยังมีชุดสำหรับชาวนาชาวสวนราคาประมาณสองหมื่นบาทออกมาจำหน่าย

 

 


ชุดใหญ่นี้สูบน้ำพลังแสงอาทิตย์สามารถสูบน้ำได้สูงถึง 20จ เมตร อัตราการไหลสูงสุด 8,000 ลิตร/ชม. ใช้โซล่าร์เซลล์ 330 วัตต์ 6 แผ่น เหมาะกับการใช้น้ำปริมาณมากๆ ต่อวันเพราะอัตราการไหลจะได้ถึงวันละ 40,000 ลิตร ดังนั้นจึงควรดูปริมาณความต้องการใช้น้ำของเราในแต่ละวัน 

25299607_1594692133980845_3606132680790812403_o

ชุด 400 วัตต์

สำหรับชาวสวนทั่วไปแนะนำชุดสูบน้ำขนาด 400 วัตต์ อัตราการไหลวันละ 10,000 ลิตร โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ มีแดดก็ได้น้ำทันที ถ้าหากว่ามีถังเก็บไว้จะดีที่สุด สร้างถังสูงสัก 6 เมตร ให้เก็บน้ำได้ 10,000 ลิตรขึ้นไป จากนั้นค่อยปล่อยน้ำจากถังไปใช้

17157640_1300612516722143_7532957481854694668_o

หากปล่อยน้ำไปจากบ่อบาดาลโดยตรงเวลาแดดน้อยเราก็ได้น้ำน้อย สู้แบบเก็บไว้ในถังไม่ได้ อยากใช้เมื่อไหร่ก็ได้ ปกติเรารดน้ำตอนเช้าแดดยังไม่จัด จะมีน้ำออกน้อย ถ้าปล่อยจากถังเลยก็ไม่ต้องห่วง ตอนสายๆ ค่อยสูบน้ำเก็บไว้ในถังไว้ใช้ต่อ

 

 

ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในป่าในเขา ในนาในไร่ขอให้มีแสงแดด และมีน้ำ ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยี และความขยันหมั่นเพียร รู้จักพึ่งพาตนเอง รู้จักคิดวิเคราะห์ ควรลงทุนไม่ลงทุน ลงทุนแล้วมีความเสียงอะไร ถ้าขาดเงินแล้วจะกู้มาลงทุนจะคุ้มค่าดอกเบี้ยไหม หรือไม่ทำจะดีกว่า อย่างนี้ให้รู้จักคิด

วิธีการต่อซับเมิร์สก็ดูเพิ่มเติมได้ พูดมากเจ็บคอ

 

Green Energy School

IMG_2621

Green Energy School

โรงเรียนศรีแสงธรรม ได้มีแนวคิดในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโรงเรียน 100% บนแนวคิดใช้เท่าไหร่ผลิตเท่านั้น หรือที่เรียกว่า Consumption = Generation หรือจะบอกว่าเป็น Net Zero ก็ว่าได้

32584767_1761415223975201_740888047607873536_n

ซุ้มประตูโซล่าร์เซลล์

ฐานการเรียนรู้ต่างๆ ด้านพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าร์เซลล์ เพื่อรองรับการศึกษาดูงานของผู้ที่สนใจ และรายการทีวีต่างๆ ที่เข้ามาทั้งในและต่างประเทศ จึงจัดเป็นจุดการเรียนรู้แต่ละจุดเพื่อสะดวกต่อการเยี่ยมชม และบางครั้งเจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้องมีธุระก็สามารถรับฟังการอธิบายจากครูหรือนักเรียนได้

อาคารอำนวยการ 

ได้รวมระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีในโลกขณะนี้ ไว้ในที่เดียวกัน 4 แบบคือ ระบบออนกริด ระบบสมาร์ทไฮบริด ระบบไฮบริด และระบบอ๊อฟกริด ขนาดกำลังผลิต 16 KWh. เพื่อจ่ายไฟไปยังจุดต่างๆ ผ่านตู้เมนการจ่ายไฟของโรงเรียนคือ ตู้ MDB

MDB จุดควบคุมไฟฟ้าของโรงเรียนซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อไฟจากการไฟฟ้าเข้ามายังโรงเรียน และเป็นจุดกระจายไฟฟ้าจากระบบผลิตต่างๆภายในโรงเรียนไปยังอาคารแต่ละอาคาร ซึ่งสามารถดูพลังงานที่ผลิตได้และดูการใช้พลังงานของแต่ละจุดภายในโรงเรียนผ่านวัตต์มิเตอร์ที่แสดงผลอยู่บนหน้าจอ

32384069_1761426693974054_7293102614638493696_o.jpg

อาคารรวมระบบผลิตไฟฟ้าที่มีในโลกไว้ที่นี่

อาคารเรียน 4 ชั้น

ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 100% มี Smart Hybrid Inverter 2 ชุด ขนาด 5 KWh.สำหรับผลิตไฟฟ้าให้กับชั้น 1 กับ ชั้น 2 และขนาด 3.6 KWh. สำหรับผลิตไฟฟ้าไห้กับชั้น 3 ชั้น 4 ใช้พื้นที่ติดตั้งประมาณ 60 ตารางเมตร

 

32681738_1762089383907785_6493473725252370432_o.jpg

การเชื่อมต่อสายไฟภายในโรงเรียนจะเป็นแบบร้อยท่อลอดใต้ดิน ไม่มีเสาไฟระโยงระยายภายในโรงเรียน

IMG_4156

นอกจากนั้นโรงอาหาร และบ้านพักครูก็จะมีระบบโซล่าร์เซลล์แยกออกต่างหากไม่รวมด้วยกัน และป้องกันไฟฟ้าดับ ไฟไม่พอแต่ละจุดสามารถย้ายไฟข้ามตึกไปใช้ด้วยกัน เป็นการจำลองระบบซื้อขายไฟฟ้าบ้านต่อบ้าน เมื่อเราไม่ใช้ไฟก็ขายให้ข้างบ้านที่ใช้ไฟฟ้าได้

IMG_7841

ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ได้นำระบบการจัดการพลังงานเข้ามามีบทบาทในการใช้พลังงานให้คุ้มค่าภายในโรงเรียน ซึ่งระบบต่างๆ และวิธีการจัดการจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป  หรือท่านติดตามในสื่อรายการทีวีต่างๆ ที่นำไปเผยแพร่เรื่องราวของโรงเรียนศรีแสงธรรม เช่น

ท่านนายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างการพึ่งพาตนเองของโรงเรียนทางรายการคืนความสุขถึง 2 ครั้ง 2 ครา

IMG_1815

IMG_1810

หรือสำนักข่าวต่างๆประเทศก็มี นำไปเสนอเป็นภาษาต่างประเทศก็ติมตามกันได้

U-School Mentoring

โครงการยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยง

IMG_6836

บันทึกความร่วมมือยกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนศรีแสงธรรมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

โรงเรียนศรีแสงธรรมได้รับเกียรติจากมหาลัยอุบลราชธานี “ภูมิปัญญาแห่งภูมิภาคลุ่มน้ำโขง” ให้ไปจัดนิทรรศการเกี่ยวกับโรงเรียนเนื่องในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีจะมาประชุมครม.สัญจรที่จังหวัดอุบลราชธาน

 

 

ในฐานะที่โรงเรียนได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยมีมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงตามโครงการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ซึ่งได้คัดเลือกให้เป็นโรงเรียนแกนนำเครือข่ายเข้มแข็ง

37629134_1859645817485474_1212756072691924992_o.jpg

ทางโรงเรียนได้จัดนิทรรศการนำเสนอ แนวทางการจัดการศึกษาศตวรรษที่ 21 การศึกษาแบบมีอาชีพ ที่นำเรื่องพลังงานและการเกษตรมาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนเป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งในและต่างประเทศ

 

 

นักเรียนโรงเรียนศรีแสงธรรม สามารถสอบเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย 100% และมีผลการเรียนที่ดีขึ้น จากการทดสอบคะแนน O-NET พบว่าคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนขยับเข้าใกล้คะแนนเฉลียระดับประเทศมากขึ้น 

3609A5FD89134C30889AEFF923B80445

ทั้งนี้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก็ได้มีการทำ MOU. ร่วมมือยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนด้วย จึงนับว่าเป็นการพัฒนาท้องถิ่น โดยเฉพาะชนบทห่างไกลตามแนวชายแดนได้มีโอกาสทางการศึกษาเปิดกว้างมากขึ้น และทางโรงเรียนได้มอบทุนการศึกษาเพื่อเป็นกำลังใจให้กับนักเรียนที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ 17218549_1305430046240390_1405815224930271307_o

บ้านกินแดด

บ้านกินแดด

37085223_1841084039341652_2682955650496987136_n

บ้านดิน และบ้านกินแดด

บ้านกินแดดศรีแสงธรรม ตัวอย่างการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างในบ้านพักอาศัยสำหรับชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลจากสายส่งหรือไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ให้คนมีทางเลือกในการใช้พลังงานมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากสายส่งแค่ไหน หรือไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงเลย ถ้าอยากมีไฟฟ้าใช้ไม่ต้องไปออกข่าวอ้อนวอนนายกให้ยาก หรือไปทำเป็นบนบานศาลกล่าวกับเสาไฟฟ้า เอาสูตรนี้ไปลองทำดู 

โดยมีอุปกรณ์สำหรับชุดเล็กๆ สำหรับที่ต้องการใช้งานน้อย จึงแนะนำขนาด 300 วัตต์เป็นพื้นฐานสำหรับที่เหมาะกับงบประมาณ หากต้องการใช้งานมากขึ้น นานขึ้น หรือมีคนจำนวนมากก็ต้องใช้ขนาด 1,500 วัตต์ที่ติดตั้งไปกับรถนอนนา “ชุดนอนนา” โมเดล 1,500 วัตต์

 

แต่ถ้ามีงบประมาณน้อย หรือไม่ต้องการใช้มากบ้านกินแดดชุดนี้ก็สามารถใช้งานได้ดีเช่นกันโดยมีอุปกรณ์ดังนี้

37338451_1849289231854466_7465846551470931968_o

แผ่น 150  วัตต์ 2 แผ่น

  1. แผ่นโซล่าร์เซลล์ขนาด 150 วัตต์ 1แผ่นราคาประมาณ 3,000 บาท

2. คอนโทรลชาร์จ 10 แอมป์ราคาประมาณ 300 – 600 บาทแล้วแต่คุณภาพของแต่ละยี่ห้อ

3. แบตเตอรี่ 100 แอมป์ถ้าเป็นแบตรถยนต์ก็ไม่เกิน 3,000 บาท ส่วนที่นี่จะไม่แนะนำแบตเตอรี่รถยนต์ควรเป็นแบตเตอรี่แห้งราคาประมาณ 7,000 บาท

4. หากมีงบประมาณเพิ่มเติมอาจจะใช้อินเวอร์เตอร์เป็นตัวแปลงไฟกระแสตรงเป็นกระแสสลับ 220 โวลท์ขนาด 300 วัตต์ หรือไม่ต้องใช้ก็ได้ถ้าไม่มีความจำเป็น

50527314_2181838852130117_2638779210323197952_n

คอนโทรลชาร์จ 10 แอมป์

 

นอกนั้นก็เป็นอุปกรณ์การต่อ และสายไฟ ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นประเภทกระแสตรงหรือเรียกว่า DC 12 V. ทั้งหลอดไฟ หม้อหุงข้าว เตารีด พัดลม ทีวี เครื่องสูบน้ำ (ยังไม่มีเครื่องซักผ้า) เครื่องใช้เหล่านี้มีขายหมด

37173086_1847638142019575_2710415034277691392_o เพียงเท่านี้ก็เป็นบ้านกินแดดได้ทันทีด้วยอุปกรณ์ 3-4 ชิ้นเท่านั้น จะหุงข้าวสูบน้ำ รีดผ้า ชาร์จมือถือ ก็นับว่าเป็นตัวอย่างการประยุกต์โซล่าร์เซลล์เพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน จากโรงเรียนศรีแสงธรรม ซิลิคอน วัลเลย์ อุบลราชธานี

IMG_2360

ชุดเล็ก 300  วัตต์แบบเคลื่อนย้าย

แต่เวลาใช้งานจริง ถ้าใช้พร้อมกันทั้งหมดที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้นี้แผ่น 150 วัตต์แผ่นเดียวคงไม่ได้ไฟไม่เพียงพอในแต่ละวันอาจจะต้องเพิ่มจำนวนแผ่น หรือเพิ่มขนาดจาก 150 วัตต์ เป็น 330 วัตต์ 24 โวลท์พร้อมอินเวอร์เตอร์ เหมือนเช่นชุดนอนนา แต่รับรองว่าไม่ต้องใช้ไฟจากสายส่งเลยก็ว่าได้ ตัวอย่างชุดนอนนาขนาด 2,000 วัตต์ 


และแนะนำเรื่องการสูบน้ำไม่ควรใช้จากแผ่นเตอรี่เพราะแบตเตอรี่คือสิ่งที่แพงพอสมควรจึงต้องถนอมการใช้งาน แยกระบบออกมาต่างหากจะได้ช่วยยืดระยะการใช้งานของแบตเตอรีมากขึ้น

นี่ก็เป็นแนวทางการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานที่ทุกคนสามารถทำได้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะอยู่ไกลจากเมืองหลวงหรือศูนย์กลางความเจริญแค่ไหนแต่เราอยู่ใกล้พระอาทิตย์เท่ากัน ดังนั้นหากที่ไหนไม่มีไฟฟ้าใช้ให้ติดต่อมาที่นี่ ศรีแสงธรรมการไฟฟ้า

ห้องติวเตอร์ออนไลน์

 

ติวเตอร์ออนไลน์

128682

โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนในปีุการศึกษา2561 อีกโครงการคือ ห้องเรียนติวเตอร์ออนไลน์ วัตถุประสงค์เพื่อจะให้นักเรียนได้มีแหล่งศึกษาความรู้เพิ่มเติมนอกเวลาเรียนได้รับการออกอาคารติวเตอร์ออนไลน์โดย ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

34700783_1786415838141806_8275601320178614272_o

งบประมาณโครงการ 830,000 บาท ทางโรงเรียนได้เบิดรับบริจาคเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธา มีความประสงค์จะสนับสนุนการศึกษาได้มีส่วนร่วม ทั้งนี้บริษัทซีพีแอนด์เคจำกัด ได้บริจาคให้ 830,000 บาท จึงขออนุโมทนาขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

34266655_1781346085315448_938487080441348096_o

ทางโรงเรียนเปิดให้บริการทุกวันไม่เว้นแม้ช่วงปิดเทอม เพื่อให้นักเรียนได้ยกระดับการศึกษาหรื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ทางวิชาการที่ยากขึ้นกว่าการเรียนการสอนในห้องเรียน ฝึกทำโจทย์ ทำข้อสอบสำหรับนักเรียนที่จะเตรียมตัวไปสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย และเสริมการเรียนการสอนที่ครูสอนรวม แต่ถ้าแยกย่อยออกมาก็ให้มาเรียนได้ตามใจชอบ

42721213_1959641767485878_6343115737787269120_n

นอกจากจะเป็นห้องติวเตอร์แล้ว วันศุกร์ หรือทำงานปกติก็จะเปิดเป็นห้องรับแขก ห้องแสดงผลงาน ห้องศึกษาดูงาน รวมไปถึงห้องอบรมการสร้างหุ่นยนต์ของนักเรียนที่ต้องการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แต่ละสัปดาห์จะมีแขกมาเยี่ยมเยือนอยู่เป็นประจำมิได้ขาด

 

หรือบางวิชาครูก็มักจะพานักเรียนมาทำกิจกรรมที่อาคารนี้ เพราะโล่ง โปร่งสบายดี เหมาะกับการทำกิจกรรมหรือทำงานกลุ่ม

44416519_1989062401210481_3348392835089956864_n

 

37050821_1842412142542175_6413065718358605824_o

โครงการก็คือจัดหาสื่อติวเตอร์ออนไลน์ที่เป็นเนื้อหาบทเรียน และตัวอย่างข้อสอบต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้ทดสอบ ฝึกทำ เมื่อมีปัญหาก็มีครูแต่ละวิชาเป็นพี่เลี้ยง อาคารได้สร้างเสร็จเรียบร้อย ยังขาดคอมพิวเตอร์ที่เป็นอุปกรณ์หลักในเรียนเรียนการสอน 9 ชุดๆ ละ 21,000 บาท หากท่านใดทีความประสงค์จะร่วมบริจาคเพื่อปัจจุบันนี้(1ก.พ.62) มีผู้บริจาคแล้ว 4 เครื่อง หากท่านใดต้องการสนับสนุนการศึกษาของโรงเรียนขอเชิญร่วมบริจาคได้ที่
บัญชี “โรงเรียนศรีแสงธรรม” ธ.กรุงไทย สาขา เทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร เลขที่บัญชี 862-0-064355 หรือ
บัญชี “กองทุนการศึกษาวัดป่าศรีแสงธรรม” ธ.กรุงเทพ สาขาย่อยเทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร เลขที่ 786 006 3333 

ทั้งนี้ท่านยังสามารถนำใบเสร็จรับเงินไปลดหย่อนภาษีที่กรมสรรพากร ได้ 2 เท่าของเงินบริจาค (http://www.rd.go.th/publish/28653.0.html)
หากท่านบริจาคแล้วสามารถส่งหลักฐานการโอนได้ที่ sisaengtham@hotmail.com
หรือติดต่อ พระครูวิมลปัญญาคุณ 08 6233 1345
7 มิถุนายน 2561