Voluntarily Donation

Solar Hospital Project for 77 Hospitals in 77 Provinces

The installment cost about 3.3 – 3.5 million. A hospital can produce about 112 Kw per installment which can save about 806,000 baht per year and about 24 million throughout 30 years of lifelong usage. of lifelong usage. So far, Wat Pasisaengtham Temple has helped install solar cells system in 9 hospitals including;

Solar Hodpital

1. Bantak Hospital, Tak Province : 137 kw, 3.4 million invested donated by hospital and clergy

2. Tawat Buri Hospital, Roiet Province: 134 kw, 3.9 million invested, donated by hospital director and locals

3. Ban Preaw Hospital Samut Sakhon Province: 110.88 kw, 3.3 million invested, donated by entrepreneur

4. Sang Khom Hospital, Nongkhai Province: 110.88 ka 3.3 million

5. Khon Jeam Hospital: 110.88 kw, 3.3 million invested, donated by Wat Pasisaengtham Temple

6. Gu Gaew Hospital, Udonthani Province: 108.12 kw, 3.2 million invested, donated by the Venerable Ajarn Chaiya Aphichayo Watpa Bankor and Wat Pasisaengtham Temple

7. Jang Han Hospital Roiet Province: 13.38 kw, 500,000 baht invested, donated by Venerable Grandfather Thongin Katapanyo

8. Salebhumi Hopital, Roiet Province: 350 kw, 10.5 million, donated by entrepreneur

9. Nan Hospital, Nan Province: 112.33 kw, 3.4 million invested, donated by entrepreneur

The voluntarily donated money was made by many different donors including the locals, local firms, local entrepreneurs, Wat Pasisaengtham Temple, hospitals, and local clergy. The d’onation is on voluntary basis where Wat Pasisaengtham Temple establishes “Chang Kor Khaw” monitoring team to oversee the donation.

For a hospital that is interested in this project; although some of the funds are from donation, additional investment fund from the hospital is also required. All the funds and donations are to be oversee by “Chang Kor Khaw” monitoring team and will be allocated to each hospital accordingly.

This project is an example of how monks and clergy can contribute to helping the public on health related issues that has become a turmoil in our society. Once a hospital can reduce some of its electricity expense, a hospital can use the additional money to provide better medical service to the people such as acquiring medical equipment or hiring more staffs.

If you would like to support us on Solar Hospital Project, you can make a donation to

“Wat Pasisaengtham Temple (Solar Hospital Project)”

KTB Bank Khongjeam Branch

Account # 338-042-5834

We will use the donated money to install solar cell in Solar Hospital Project for 77 hospitals in 77 provinces.

Should you have further question, please contact us at

Line : sisaengtham

Facebook : พระปัญญาวชิรโมลี

Phone: 0862331345

Voluntarily Donation

โครงการโซลาร์เซลล์ 77 จังหวัด 77 โรงพยาบาล กำลังผลิต 112 Kw. ประมาณโรงพยาบาลละ 3.3- 3.5 ล้าน  โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าประมาณ 806,000 บาทต่อปี หรือประมาณ 24 ล้านบาทตลอดอายุการใช้งาน 30 ปี 

วัดป่าศรีแสงธรรมได้ดำเนินโครงการการเสร็จแล้วมีดังนี้

 1) รพ.บ้านตาก จ. ตาก ติดตั้ง 137 kw งบประมาณ 3.4 ล้านบาท โดยโรงพยาบาล และคณะสงฆ์ร่วมกันบริจาค

2) รพ.ธวัธบุรี จ.ร้อยเอ็ด ติดตั้ง 134 kw งบประมาณ 3.9 ล้านบาท โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล และะพี่น้องประชาชนในพื้นที่ร่วมกันบริจาค

3) รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ติดตั้ง 110.88  kw. งบประมาณ 3.3 ล้านบาท โดยผู้ใหญ่ใจบุญบริจาค

 4) รพ.สังคม จ.หนองคาย ติดตั้ง 110.88 งบประมาณ 3.3 ล้านบาท 

5) รพ.โขงเจียม ติดตั้ง 110.88 kw. งบประมาณ 3.3 ล้านบาท โดยวัดป่าศรีแสงธรรมบริจาค

 6) รพ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี ติดตั้ง 108.12 kw. งบประมาณ 3.2 ล้านบาท โดยพระอาจารย์ไชยา อภิชโย วัดป่าบ้านค้อ และวัดป่าศรีแสงธรรมร่วมบริจาค

 7) โรงพยาบาลจังหาร จ.ร้อยเอ็ด ติดตั้ง 13.38 kw. งบประมาณ 5 แสนบาทโดยหลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ บริจาค

 8 ) รพ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ติดตั้ง 350 kw. งบประมาณ 10.5 ล้าน โดยผู้ใหญ่ใจบุญ

9 ) รพ. น่าน จ. น่าน ติดตั้ง 112.33 kw. งบประมาณ 3.4 ล้าน โดยผู้ใหญ่ใจดีเป็นเจ้าภาพบริจาค

งบประมาณที่ได้มาจาก

  • ผู้ใหญ่ใจบุญมีความประสงค์จะช่วยโรงพยาบาลนั้น ๆ เป็นการเฉพาะได้เป็นเจ้าภาพบริจาคเองทั้งหมดให้ทีมงาน “ช่างขอข้าว” โรงเรียนศรีแสงธรรมดูแลระบบทั้งหมด
  • ญาติธรรมที่มีความประสงค์จะสร้างบุญกุศล เสียสละบริจาคทรัพย์ส่วนตนเพื่อเพื่อนมนุษย์ที่เกิดร่วมกันมาในโลกนี้ด้วยกันโดยมีวัดป่าศรีแสงธรรมเป็นศูนย์กลาง
  • โรงพยาบาลได้ร่วมกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และพระสงฆ์ในพื้นที่ระดมทุนกันเบื้องต้น ร่วมกับวัดป่าศรีแสงธรรมช่วยระดมทุนบริจาค

ยังมีโรงพยาบาลอื่น ๆ กำลังเตรียมความพร้อมของตัวโรงพยาบาล เบื้องต้นต้องแจ้งให้โรงพยาบาลทราบว่าโครงการนี้มีงบประมาณจากการบริจาคของพี่น้องประชาชน ไม่ได้ให้ฟรีต้องมีงบประมาณมาช่วยสมทบเข้ากองกลางเพื่อส่งต่อให้โรงพยาบาลอื่นต่อไป

นี่เป็นบทบาทพระสงฆ์ที่เกี่ยวกับสาธารณสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการ เสริมสร้างสิ่งจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพ ที่เป็นอีกหนึ่งปัญหาความยากจนด้านสุขภาพของคน เมื่อโรงพยาบาลลดค่าใช้จ่ายลงก็มีงบประมาณไปจัดหาเครื่องมือแพทย์ และบริการอย่างอื่นทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งรวมใจพี่น้องชาวไทย แบ่งปันให้คนเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นการต่อลมหายใจให้ใคร ๆ อีกหลายคน

ท่านสามารถร่วมบริจาคได้ที่บัญชี “วัดป่าศรีแสงธรรม (โครงการโรงพยาบาล Solar Cell) ธนาคารกรุงไทย สาขา โขงเจียม หมายเลขบัญชี 338-042-5834” เพื่อนำเงินไปติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ 77 จังหวัด 77 โรงพยาบาล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ID Line :  sisaengtham หรือที่เฟส บุ๊ค พระปัญญาวชิรโมลี นพพร    โทร 0862331345 

#ไฟฟรีจากฟ้า

ข้าวเหนียว ทาเนย

Biggles Bigband Thailand Tour 2019

53551198_2311686572490530_5663126035764346880_n

มีโอกาสได้มาเป็นแขกรับเชิญสถานทูตฮอลแลนด์ ในการต้อนรับวง Biggles Big Band วงดนตรีแจ๊ส ออร์เคสตร้า ขนาดวง 25 ชิ้น กับการแสดงดนตรี Thailand Tour Concert 2019

53525880_383496945536303_8904849758875549696_n

ซึ่งมาจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางดนตรีระหว่างชาวไทยกับชาวดัตซ์ และมีโปรแกรมจัดกิจกรรมกับเด็กๆ นักโรงเรียนศรีแสงธรรมในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562

เป็นการแสดงเพื่อให้เด็กๆ นักเรียนได้สนุกสนาน และเพื่อการกุศลหาทุนสนับสนุนสร้างห้องดนตรี จัดหาเครื่องดนตรี และจ้างตรูดนตรีมาสอนโรงเรียนศรีแสงธรรมเป็นเวลา 1 ปีในเบื้องต้น หากมีงบประมาณเพียงพอหรือปีต่อๆ ไป อาจจะได้มาสร้างห้องดนตรีหรือหางบประมาณมาจ้างครูดนตรีสอนต่อไปเรื่อยๆ

 

วง Biggles Bigband ได้จัดมินิคอนเสิร์ตที่โรงเรียนในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีนักเรียนร่วมการแสดงเป็นที่สนุกสนานชื่นชอบของนักเรียนเป็นอย่างมาก มีผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามาร่วมฟังเพลงแจ๊ส เพราะว่าเป็นโอกาสอันดีที่วงแจ๊สระดับโลกจะมาแสดงให้ชมถึงที่

 

ปกติวง Biggles จะเดินสายไปทั่วโลก และจะเล่นประจำอยู่ที่กรุงอัสสเตอร์ดัม ประเทศเนเธแลนด์ ทุกคืนวันจันทร์ที่ร้าน Cafe Casablanca และเดินทางมาแสดงที่ประเทศไทยแล้ว 6-7 ปี ซึ่งทางหัวหน้าวง Mr.Adrie Braat ผู้กำกับวงได้หลงเสน่ห์เมืองไทย โดยเฉพาะพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ถึงกับเรียนภาษาไทย เพื่อจะได้ไปมาเมืองไทยได้สะดวก

 

มีความสุขกับการเล่นดนตรีและอยากเผยแพร่ให้กับเด็กๆ เยาวชนไทย โดยเฉพาะที่โรงเรียนศรีแสงธรรมนี้ ได้บริจาคเงินจำนวน 180,000 บาทให้กับโรงเรียนเพื่อเป็นทุนในการจัดหาครูดนตรีมาสอนที่โรงเรียนด้วย

 

นับเป็นน้ำใจจากเหล่านักดนตรีจิตอาสาทีมาแสดงด้วยหัวใจโดยไม่มีค่าตัวแต่อย่างใด ทั้งนี้ยังให้โอกาสนักเรียนโรงเรียนศรีแสงธรรมได้ร่วมสนุกได้จนลืมทานข้าวเที่ยงไปเลย

ต้องขอขอบคุณทางวง Biggles Bigband ที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนเล็กในป่าใหญ่อย่างเราได้สัมผัสดนตรีอันยิ่งใหญ่ของโลกนับเป็นประสบการณ์อันมีค่าสำหรับนักเรียนที่นี่อีกครั้งหนึ่ง

 

ขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านสำหรับอาหารโรงทานต่างๆ ทั้งส้มตำ ข้าวเหนียวย่าง ขนมจีน อย่างอร่อย สำหรับชาวต่างชาติ ที่บอกว่า #ข้าวเหนียวทาเนย คือการผสมผสานวัฒนธรรมของไทยและฮอลแลนด์อย่างลงตัว

ติดตามผลงานที่นี่ Biggles Bigband

โรงไฟฟ้าลำตะคอง

เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา

52602614_2178399128943473_773924721300340736_n

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยท่านผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้นำคณะศึกษาดูงานจากโรงเรียนศรีแสงธรรมไปเยี่ยมชมระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ ในโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา

 

โดยวันแรกมาเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าสูบบกลับเขื่อนลำตะคอง แนวคิดการรองรับอนาคตการเสรีโซล่าร์เซลล์สำหรับประชาชนทั่วไปติดตั้งบนหลังคาบ้านเพื่อส่งไฟเข้าระบบจำหน่ายได้ตอนกลางวันที่บางคนไม่มีการใช้งานก็สามารถผลิตเพื่อจำหน่ายโดยมาคิดเงินกันสิ้นเดือนถ้าใช้ไฟจากสายส่งมากกว่าที่ผลิตได้ก็ให้จ่ายค่าไฟ แต่ถ้าผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ได้มากกว่าการใช้งานในเดือนนั้นก็ได้รับเงินจากรัฐ ทุกหกเดือนจะมาคิดบัญชีกัน หรือสิ้นปีค่อยมาหักลบกลบหนี้กัน

 

 

ระบบนี้หากมีเรื่องของการกักเก็บพลังงานเข้ามาแล้วอาจจะเพิ่มราคาการช่วยจ่ายในเวลาพีค หรือเวลาที่ต้องการไฟสูงสุดเช่นตอนบ่ายสองโมงในวันทำงานปกติ และตอนหัวค่ำ เหมือนภารกิจของโรงไฟฟ้าสูบกลับเขื่อนลำตะคอง ที่มีการนำไฟฟ้าในช่วงที่ไม่ได้ใช้มาสูบน้ำขึ้นบนหลังเขา แล้วปล่อยน้ำลงมาปั่นไฟในตอนที่ต้องการใช้งานอย่างรีบด่วน เพื่อช่วยเสริมระบบการผลิตหลักอย่างเช่นปัจจุบัน และยังช่วยเรื่องการกู้ระบบอย่างเช่นโรงไฟฟ้าหลักมีปัญหาดับกระทันหัน ต้องหาระบบไฟสำรอง ต้องใช้เขื่อนลำตะคองช่วยพยุงระบบไว้หลายชั่วโมงเพื่อมีเวลาเพียงพอให้เจ้าหน้าที่กู้ระบบต่างๆได้ ช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและอื่นๆ อืกมากมาย

53071321_2178406585609394_3729798987675336704_o

นอกจากนี้ยังมีกังหันลมปั่นไฟอีก 12 ต้นขนาด 24 เมกกะวัตต์ พร้อมทั้งมีศูนย์การเรียนรู้เรื่องการผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจน และกำลังเตรียมเปิดศูนย์เรียนรู้ที่ทันสมัยที่สุดในภาคอิสาน ด้วยหุ่นยนต์ HBOT อนาคตอันใกล้นี้หามีงบประมาณ หรือมีผู้สนับสนุนอาจจะเห็นศูนย์เรียนรู้ที่ทันสมัยในโรงเรียนศรีแสงธรรมก็เป็นได้ ตอนนี้ก็เป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ ไปก่อน ไม่มีอะไรที่เราจะทำไม่ได้ถ้าตั้งใจจริง

 

 

กฟผ.ศึกษาดูงานโรงเรียนศรีแสงธรรม

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

41220

กฟผ.ดูงานโรงเรียนศรีแสงธรรม

รองผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำคณะผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ศึกษาดูงานระบบพลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์โรงเรียนศรีแสงธรรม วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

41222

นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า (รวฟ.) พร้อมด้วยนายจรัญ คำเงิน (ชฟม.) , นายพิพัทต์ คงสินทวีสุข (อฟอ.) , ผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. และนายสนอง มะลัยขวัญ นายอำเภอสิรินธร

41226

ได้ศึกษาดูงานเรียนรู้การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์พลังงานทดแทนต้นแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ภายในโรงเรียนศรีแสงธรรม และวัดป่าศรีแสงธรรม ทั้งในระบบไฮบริด , ระบบออนกริตเพื่อประหยัดไฟฟ้า , ระบบสมาร์ทกริต , การผลิตรถพลังงานแสงอาทิตย์ , ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรกรรม ฯลฯ

41228

โดยมีท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศรีแสงธรรม เป็นวิทยากรบรรยายพร้อมนำคณะฯ ดูงานฯ

S__2867202

ซึ่งผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. รู้สึกศรัทธาชื่นชมความรู้ ความสามารถ และแนวคิดการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน ด้านการศึกษา การช่วยเหลือสนับสนุนหมู่บ้านชุมชนใกล้เคียงวัด/โรงเรียน โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ และสร้างคุณประโยชน์ให้ชุมชน สังคมอย่างยั่งยืน ณ ห้องปฏิบัติการพลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ โรงเรียนศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

S__2867203

 

โซล่าร์ลอยน้ำ

Smart Hybrid System

39521886_1908338899282832_4974143329353596928_o.jpg

โซล่าร์เซลล์ลอยน้ำ

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ บนทุ่นลอยน้ำภายในวัดป่าศรีแสงธรรม เพื่อจ่ายไฟฟ้าใหักับสถานีวิทยุเสียงธรรมที่เปิดตลอด 24 ชม. เนื่องจากพื้นที่ว่างมีการเพาะปลูกป่าเต็มไปหมด เหลือเพียงในสระน้ำที่ขุดเก็บกักน้ำไว้ใช้จึงต้องทำทุ่นลอยน้ำในการติดตั้งแผ่นโซล่าร์เซลล์ขนาด 320 วัตต์จำนวน 16 แผ่น สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่งมายังอินเวอร์เตอร์แบบไฮบริด

 

39454360_1906078359508886_6539573284277583872_o

ผังภาพวงจร

ระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ด้วยอินเวอร์เตอร์แบบ สมาร์ทไฮบริด เป็นเทคโนโลยีใหม่ทำงานคล้ายกับอุปกรณ์สำรองไฟฟ้าในคอมพิวเตอร์หรือ UPS ระบบจะเลือกรับไฟฟ้ากระแสตรงจากแผ่นโซล่าร์เซลล์เข้ามาแปลงเป็นกระแสสลับ 220 โวลท์ ก่อนในตอนกลางวันที่มีแสงแดดแล้วผลิตไปจ่ายไฟเข้าสถานี

40093115_1918388784944510_9075737178914422784_o

หลุยส์ เฮสดาร์ซัน

ในกรณีนี้มีการใช้พลังงานเพียง 3,000 วัตต์ชั่วโมง จะมีพลังงานที่ไม่ได้ใช้เกินมาประมาณ 2,000 วัตต์ชั่วโมงระบบก็จะทำการชาร์จพลังงานเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และยังคงใช้ได้อยู่เหมือนเดิม เมื่อเแสงแดดหมดระบบก็จะดึงเอาพลังงานที่สะสมไว้จากแบตเตอรี่มาใช้ประมาณ 5 ชม. (ช่วงกลางคืน) พลังงานที่สะสมไว้ก็จะหมดจากแบตเตอรี่

IMG_1207

ที่ไม่ใช้แบตเตอรี่มากก็เพราะไม่ต้องการสำรองไว้มากจะเปลืองค่าแบตเตอรี่ หลังจากห้าทุ่มเป็นต้นไประบบสวิทช์อัตโนมัติก็จะตัดไปใช้ไฟจากสายส่ง ซึ่งไฟจากสายส่งนี้เราสามารถเลือกให้ชาร์จแบตช่วยแผ่นโซล่าร์เซลล์ได้ในกรณีที่พายุเข้าเป็นเดือนเหมือนเช่นทุกวันนี้ 

40067137_1918479361602119_8400086373113004032_o.jpg
ข้อดีของระบบนี้คือไฟจากสายส่งดับระบบก็ไม่ดับไปด้วยเพราะไม่ได้ซิงโคไนซ์กับไฟสายส่ง ขอให้มีแดดก็ยังใช้ได้ตลอด แม้แดดจะหมดไฟจากแบตก็ยังจ่ายต่อไปได้อีก 4-5 ชม.หากมีงบประมาณพอเอาให้จ่ายทั้งคืนรอจนแดดมาใหม่ก็ทำได้ จากภาพขั้นตอนการติดตั้งนี้จะเห็นได้ว่า ไฟจากสายส่งเป็นเพียงแค่ไฟสำรองระบบของเราเท่านั้น เป็นความมั่นคงด้านพลังงานของสถานีวิทยุเสียงธรรมที่เปิดต่อเนื่องส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาสนใจธรรมะภาคปฏิบัติกันมากขึ้นเพราะไม่ต้องลงทุนก็สร้างบุญสร้างกุศลให้ตนเองได้

การติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ลอยน้ำ

ตามหลักการของอาร์คีเมดีส : แรงลอยตัวของวัตถุ = น้ำหนักของของใหลที่ถูกแทนที่โดยวัตถุนั้น
ถ้าเราต้องการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ขนาด 5 Kw.นำหนักรวมประมาณ 1,200 กก.คือเราต้องการแรงลอยตัว 1200 กก ถ้าของใหลเป็นน้ำ สิ่งที่แทนที่คืออากาศ(โดยคิดคร่าวๆตัด นน.ของอากาศออกไป)ดังนั้น
น้ำ 1 ลิตร จะหนัก 1 กก. ถ้าต้องการแรงลอยตัว 1,200 กก.ก็จะต้องแทนที่น้ำ 1,200 ลิตร คิดเป็น ลบ.เมตร ได้ 1.2 ลบ.เมตร จากการไปดูโครงสร้างแล้วทำให้หวั่นใจว่าจะเป็นการลอยน้ำแบบไหน โดยสภาพการลอยตัว

39846693_1911769628939759_2614344754829197312_n

การลอยตัวมี 3 แบบคือ
-Positive Buoyancy การลอยตัวเป็นบวก วัตถุจะลอยน้ำ
-Neutral Buoyancy การลอยตัวเป็นกลาง วัตถุไม่ลอยไม่จม มีสภาพไร้น้ำหนัก
-Negative Bouyancy การลอยตัวเป็นลบ วัตถุจมน้ำ
ความสำคัญของการลอยตัว คือปริมาตร ไม่ใช่น้ำหนัก
มีสูตรแนะนำมากมายต้องลองทำดูว่าแบบไหนจะไม่เปลืองเกินไป เทคนิคในการหาปริมาตรของทุ่นเพื่่อรองรับแผงโซล่าเซลล์ลอยน้ำ ให้แยกออกเป็น 2 ส่วนคือ

1.น้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์และชุดโครงสร้าง 13kg/m2 และ
2.น้ำหนักของชุดโครงสร้างแพและจับยึดทุ่น ตัวเลข 40kg/m2-100kg/m2 หลังจากนั้นหาพื้นที่ที่ใช้งานทั้งหมด นำไปคูณน้ำหนักต่อตารางเมตรจะได้น้ำหนักของแพออกมา

การที่วัตถุสามารถลอยน้ำได้ จะต้องมีแรงปฏิกริยามากกว่าแรงโน้มถ่วง เพราะฉะนั้นวัตถุจะต้องมีค่าความหนาแน่นของวัตถุน้อยกว่าน้ำ ซึ่งความหนาแน่นของน้ำ D = 1/1000 kg/m3
จาก D = m/v จะได้ว่า มวล 1kg = ปริมาตร1 ลิตร (1 ลบ.ม =1000 ลิตร) สมมุติว่า ต้องการให้แพสามารถรองรับน้ำหนักได้ 1200 kg ก็ต้องใช้ทุ่นลอยน้ำที่มีปริมาตร 1200 ลิตร แต่ว่าควรเผื่่อค่าความปลอดภัยไว้ที่ 1.5 เนื่องจากมีน้ำหนักของทุ่น และอาจจะมีวัตถุอื่นๆบรรทุกในอนาคตร่วมได้ เพราะฉะนั้นจะได้ปริมาตรของทุ่นที่ปลอดภัยคือ 1200×1.5 = 1800 ลิตร หากใช้ถังเปล่าปริมาตร 200 ลิตร จะใช้ถังจำนวน 9 ถัง เป็นอย่างต่ำ โดยบางท่านอาจจะออกแบบทุ่นเองก็สามารถนำปริมาตรดังกล่าวไปคำนวณหาขนาดของทุ่นให้เหมาะสมก็ได้

40082639_1918492691600786_1724391010991079424_o

งานนี้ดาราพระเอกละครจากช่อง 7 สี หลุยส์ เฮสดาร์ซัน พระเอกลูกครึ่งฝรั่งเศส มาช่วยติดตั้้งโซล่าร์เซลล์ร่วมกับน้องๆ นักเรียนโรงเรียนศรีแสงธรรม จึงเป็นสีสันให้กับท้องถิ่นแห่งนี้อีกแบบหนึ่ง

และยังมีโซล่าร์ลอยน้ำจาก SCG มาติดตั้งระบบมาตรฐานให้อีก 5 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถมาชมได้ที่วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

40046251_1918492441600811_3282394615272964096_o

ต้านภัยแล้งด้วยแสงอาทิตย์

ระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์

20663951_1462693810514012_4462540447017574529_n

ถังเก็บน้ำขนาด 57,000 ลิตร

การกักเก็บพลังงานส่วนที่เกินคมาไว้ในรูปแบบของน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค เป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ และทางเลือกพลังงานที่ขาดแคลนหรือพื้นที่ห่างไกลไฟเข้าไม่ถึง

 

 

เกษตรไทยยุค 4.0 หรือ 5.0 ก็ตามส่วนมากการประกอบอาชีพจะลำบาก และมีความเป็นอยู่แบบยากจนปัญหาหลักคือน้ำทำการเกษตรอยู่ใต้ดิน หรือแม้แต่อยู่ผิวดินเมื่อนำมาใช้ในแปลงหรือในพื้นที่ต้องการก็ย่อมจะอาศัยเครื่อสูบน้ำ ถ้าไม่จากไฟฟ้าก็จากน้ำมัน ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย ต้นทุนการดึงไฟจากสายส่ง หรือค่าน้ำมันในแต่ละวัน

 

 

โซล่าร์ปั๊มจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการนำมาใช้ นับวันจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาและราคาถูกลงอย่างมากเมื่อก่อนมีการประมูลระดับสามแสนขึ้นไปซึ่งมีการกำหนดสเปคมาแล้ว การแข่งขันจึงน้อยมีปั๊มที่สามารถผูกขาดงานอยู่เจ้าเดียว แต่ปัจจุบันการแข่งขันสูงมีปั๊มออกมาแข่งขันกันมาก ราคาไม่ถึงแสน และยังมีชุดสำหรับชาวนาชาวสวนราคาประมาณสองหมื่นบาทออกมาจำหน่าย

 

 


ชุดใหญ่นี้สูบน้ำพลังแสงอาทิตย์สามารถสูบน้ำได้สูงถึง 20จ เมตร อัตราการไหลสูงสุด 8,000 ลิตร/ชม. ใช้โซล่าร์เซลล์ 330 วัตต์ 6 แผ่น เหมาะกับการใช้น้ำปริมาณมากๆ ต่อวันเพราะอัตราการไหลจะได้ถึงวันละ 40,000 ลิตร ดังนั้นจึงควรดูปริมาณความต้องการใช้น้ำของเราในแต่ละวัน 

25299607_1594692133980845_3606132680790812403_o

ชุด 400 วัตต์

สำหรับชาวสวนทั่วไปแนะนำชุดสูบน้ำขนาด 400 วัตต์ อัตราการไหลวันละ 10,000 ลิตร โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ มีแดดก็ได้น้ำทันที ถ้าหากว่ามีถังเก็บไว้จะดีที่สุด สร้างถังสูงสัก 6 เมตร ให้เก็บน้ำได้ 10,000 ลิตรขึ้นไป จากนั้นค่อยปล่อยน้ำจากถังไปใช้

17157640_1300612516722143_7532957481854694668_o

หากปล่อยน้ำไปจากบ่อบาดาลโดยตรงเวลาแดดน้อยเราก็ได้น้ำน้อย สู้แบบเก็บไว้ในถังไม่ได้ อยากใช้เมื่อไหร่ก็ได้ ปกติเรารดน้ำตอนเช้าแดดยังไม่จัด จะมีน้ำออกน้อย ถ้าปล่อยจากถังเลยก็ไม่ต้องห่วง ตอนสายๆ ค่อยสูบน้ำเก็บไว้ในถังไว้ใช้ต่อ

 

 

ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในป่าในเขา ในนาในไร่ขอให้มีแสงแดด และมีน้ำ ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยี และความขยันหมั่นเพียร รู้จักพึ่งพาตนเอง รู้จักคิดวิเคราะห์ ควรลงทุนไม่ลงทุน ลงทุนแล้วมีความเสียงอะไร ถ้าขาดเงินแล้วจะกู้มาลงทุนจะคุ้มค่าดอกเบี้ยไหม หรือไม่ทำจะดีกว่า อย่างนี้ให้รู้จักคิด

วิธีการต่อซับเมิร์สก็ดูเพิ่มเติมได้ พูดมากเจ็บคอ

 

Green Energy School

IMG_2621

Green Energy School

โรงเรียนศรีแสงธรรม ได้มีแนวคิดในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโรงเรียน 100% บนแนวคิดใช้เท่าไหร่ผลิตเท่านั้น หรือที่เรียกว่า Consumption = Generation หรือจะบอกว่าเป็น Net Zero ก็ว่าได้

32584767_1761415223975201_740888047607873536_n

ซุ้มประตูโซล่าร์เซลล์

ฐานการเรียนรู้ต่างๆ ด้านพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าร์เซลล์ เพื่อรองรับการศึกษาดูงานของผู้ที่สนใจ และรายการทีวีต่างๆ ที่เข้ามาทั้งในและต่างประเทศ จึงจัดเป็นจุดการเรียนรู้แต่ละจุดเพื่อสะดวกต่อการเยี่ยมชม และบางครั้งเจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้องมีธุระก็สามารถรับฟังการอธิบายจากครูหรือนักเรียนได้

อาคารอำนวยการ 

ได้รวมระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีในโลกขณะนี้ ไว้ในที่เดียวกัน 4 แบบคือ ระบบออนกริด ระบบสมาร์ทไฮบริด ระบบไฮบริด และระบบอ๊อฟกริด ขนาดกำลังผลิต 16 KWh. เพื่อจ่ายไฟไปยังจุดต่างๆ ผ่านตู้เมนการจ่ายไฟของโรงเรียนคือ ตู้ MDB

MDB จุดควบคุมไฟฟ้าของโรงเรียนซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อไฟจากการไฟฟ้าเข้ามายังโรงเรียน และเป็นจุดกระจายไฟฟ้าจากระบบผลิตต่างๆภายในโรงเรียนไปยังอาคารแต่ละอาคาร ซึ่งสามารถดูพลังงานที่ผลิตได้และดูการใช้พลังงานของแต่ละจุดภายในโรงเรียนผ่านวัตต์มิเตอร์ที่แสดงผลอยู่บนหน้าจอ

32384069_1761426693974054_7293102614638493696_o.jpg

อาคารรวมระบบผลิตไฟฟ้าที่มีในโลกไว้ที่นี่

อาคารเรียน 4 ชั้น

ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 100% มี Smart Hybrid Inverter 2 ชุด ขนาด 5 KWh.สำหรับผลิตไฟฟ้าให้กับชั้น 1 กับ ชั้น 2 และขนาด 3.6 KWh. สำหรับผลิตไฟฟ้าไห้กับชั้น 3 ชั้น 4 ใช้พื้นที่ติดตั้งประมาณ 60 ตารางเมตร

 

32681738_1762089383907785_6493473725252370432_o.jpg

การเชื่อมต่อสายไฟภายในโรงเรียนจะเป็นแบบร้อยท่อลอดใต้ดิน ไม่มีเสาไฟระโยงระยายภายในโรงเรียน

IMG_4156

นอกจากนั้นโรงอาหาร และบ้านพักครูก็จะมีระบบโซล่าร์เซลล์แยกออกต่างหากไม่รวมด้วยกัน และป้องกันไฟฟ้าดับ ไฟไม่พอแต่ละจุดสามารถย้ายไฟข้ามตึกไปใช้ด้วยกัน เป็นการจำลองระบบซื้อขายไฟฟ้าบ้านต่อบ้าน เมื่อเราไม่ใช้ไฟก็ขายให้ข้างบ้านที่ใช้ไฟฟ้าได้

IMG_7841

ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ได้นำระบบการจัดการพลังงานเข้ามามีบทบาทในการใช้พลังงานให้คุ้มค่าภายในโรงเรียน ซึ่งระบบต่างๆ และวิธีการจัดการจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป  หรือท่านติดตามในสื่อรายการทีวีต่างๆ ที่นำไปเผยแพร่เรื่องราวของโรงเรียนศรีแสงธรรม เช่น

ท่านนายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างการพึ่งพาตนเองของโรงเรียนทางรายการคืนความสุขถึง 2 ครั้ง 2 ครา

IMG_1815

IMG_1810

หรือสำนักข่าวต่างๆประเทศก็มี นำไปเสนอเป็นภาษาต่างประเทศก็ติมตามกันได้

ติดโซล่าร์เซลล์ 1 นาที

1 นาทีมีไฟฟ้าใช้
เป็นการแนะนำขั้นตอนวิธีการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ในเวลา 1 นาทีเพื่อใช้อย่างง่ายด้วยอุปกรณ์ดังนี้

IMG_2016

ทีมงานช่างขอข้าว (จารย์ตุ่น บล.)

แผ่น 150 วัตต์ประมาณ 4,000 บาท

อินเวอร์เตอร์ 300 วัตต์ ประมาณ 4,000 บาท

คอนโทรลชาร์จ 10 แอมป์ประมาณ 500 บาท

แบตเตอรี่ 100 แอมป์ ประมาณ 7,000 บาท

IMG_2363.JPG

แผ่นโซล่าร์เซลล์ 150 วัตต์ อายุการใช้งาน 25 ปี

โครงสร้าง ล้อเลื่อน สามารถใช้ได้กับ TV พัดลม แสงสว่าง ชาร์จมือถือ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่เกิน 300 วัตต์ตามกำลังผลิตของอินเวอร์เตอร์

 

IMG_2360.JPG

พื้นสำหรับวางของและเคลื่อนย้ายได้ง่าย

ขั้นตอนที่ 1 ต่อแบตเตอรี่เข้ากับคอนโทรลชาร์จขั้วบวกของแบตเตอรี่เข้ากับช่องที่เป็นรูปขั้วบวก และขั้วลบจากแบตเตอรี่เข้ากับช่องที่เป็นรูปขั้วลบในคอนโทรลชาร์จ

%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a5

ช่องต่อสายไฟบนคอนโทรลชาร์จ

2.ต่อแผ่นโซล่าร์เซลล์เข้ากับคอนโทรลชาร์จ ตรงคู่แรกทางซ้ายของคอนโทรลชาร์จ

off-grid

ไดอะแกรมระบบ

3.ต่อสายไฟจากแบตเตอรี่เข้ากับอินเวอร์เตอร์

inv300w

สีแดงเอาสายบวกต่อเข้า สีดำเอาสายลบต่อเข้า

วิดีโอจากยูทูป

โซล่าร์ประชาชน

โซล่าร์ประชาชนพึ่งพาตนเอง
สมาร์ทไฮบริด ต้นแบบเทคโนโลยีก้าวข้ามIMG_0351
แนวคิดการขยายโซล่าร์เซลล์เข้าสู่ชุมชนให้มากที่สุดด้วยการขยายแหล่งเรียนรู้โดยทีมงานช่างขอข้าวจากโรงเรียนศรีแสงธรรมและพี่ๆ จากคณะวิศวะม.อุบล ได้ไปติดตั้งโซล่าร์เซลล์ขนาด 10 กิโลวัตต์ 3 เฟส ด้วยระบบสมาร์ทไฮบริด ให้กับโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบนเนื้อที่ 200 ไร่ในอำเภอหัวหิน ที่กำลังเริ่มทำอาคารพลังงานต้นแบบ และจะทำระบบไฟโซล่าร์เซลล์แบบต่างๆ ให้ชุมชนที่สนใจ หรือจะให้จัดอบรมโซล่าร์เซลล์ที่นี่สำหรับท่านที่สนใจในอนาคตต่อไป 

IMG_0387

โซล่าร์ประชาชนพึ่งตนเอง


ทีมงานได้มีการติดตั้งแผ่นโซล่าร์เซลล์ขนาด 320 วัตต์ รุ่นใหม่ 4 บัสบาร์ เกรดเอระดับโลก อายุการใช้งาน 25 ปี ของเยอรมันมีมาตรฐานสูงได้รับการยอมรับทั่วโลกน้ำหนักเบา 1 แผ่นขนาด 1 x 2 เมตร 27 กิโลกรัม จึงติดตั้งได้กับโครงหลังคาทุกประเภท ยึดบนรางอลูมินั่มอย่างดีไม่เป็นสนิม

IMG_0385

ทีมงานช่างขอข้าวจากโรงเรียนศรีแสงธรรม

อุปกรณ์การแปลงไฟจากกระแสตรงมาเป็นกระแสสลับเพื่อใช้งานภายในบ้าน เป็นสมาร์ทไฮบริดอินเวอร์เตอร์ ของฝรั่งเศส 10 กิโลวัตต์ 3 เฟส รับประกัน 5 ปี ซึ่งต่างจากของจีนราคาถูกที่รับประกัน 1 ปี ที่มีฟังชั่นส์การใช้งานอย่างอัจฉริยะหลักการทำงานคือ แปลงไฟจากแผ่นโซล่าร์เซลล์มาใช้ภายในบ้าน หากมีพลังงานเหลือเฟือก็จะชาร์จเก็บลงในแบตเตอรี่ เมื่อตอนกลางคืนก็จะดึงไฟจากแบตเตอรีแบบเจล อายุการใช้งาน 6-8 ปี ขนาด 100 แอมป์ จำนวน 12 ลูกขึ้นมาใช้ไปจนถึงเช้าวันใหม่ ตัวระบบก็จะเริ่มแปลงไฟจากแผ่นแทนแบตเตอรี่วนไปเรื่อยๆ หากมีการใช้งานมากในตอนกลางคืนทำให้แบตเตอรี่หมดหรือตัดในระบบที่เราต้องการให้ตัด ไฮบริดอินเวอร์เตอร์ก็จะมีระบบตัดการทำงานไปให้ไฟจากการไฟฟ้าจ่ายเข้าระบบภายในบ้านเาแทนโดยอัตโนมัติ สามารถควบคุมสั่งการผ่านทางแอ๊พบนมือถือของเรา มีการแสดงแผลการผลิตรายชั่วโมงแบบเรียลไทม์ 

IMG_0487

สมาร์ทไฮบริดอินเวอร์เตอร์ 10 kwh

ระบบนี้จึงไม่มีปัญหากับการไฟฟ้าเหมือนข่าววิศวกรต่อไฟ on grid ดังเป็นข่าวอยู่ตอนนี้ด้วยเทคโนโลยีก้าวข้ามระเบียบรัฐดังกล่าวไฟจากการไฟฟ้าเอาไว้เป็นเพียงแค่ไฟสำรองระบบของบ้านเราเท่านั้น จึงไม่มีการขนานไฟกับสายส่งจึงไม่มีไฟจ่ายออกหรือย้อนเข้าระบบของการไฟฟ้า ตัดปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับการขออนุญาตที่ต้องใช้วิศวะไฟฟ้าเซ็นรับรองแบบ และวิศวะโยธาเซ็นรับรองแบบอาคารอีก ถึงแม้ว่าจะเป็นความปลอดภัยในเชิ่งระบบใหญ่ แต่หลายคนก็ไม่ได้ไปขออนุญาตคิดว่าทำไม่มากจึงติดตั้งไปแบบไม่แจ้งการไฟฟ้า ดังที่เคยเรียกว่า “โซล่าร์กองโจร” แต่ตอนนี้มีคนเสนอชื่อว่า “โซล่าร์ประชาชน” และที่สำคัญการทำงานเป็นระบบอ๊อฟกริด ปัญหาไฟตกไฟดับจะหมดไปเรียกได้ว่าชาตินี้ไม่มีวันไฟดับ และเพื่อป้องกันปัญหาระบบไฟเข้าบ้านเราเวลาไฟไม่พอ หรือต้องซ่อมแซมบำรุงรักษาอินเวอร์เตอร์ทางทีมงานช่างขอข้าวยังมี automatic transfer switch เผื่อไว้ในการสลับไฟแบบอัตโนมัติไว้ด้วยIMG_0484

งบประมาณหกแสนกว่าบาท สามารถผลิตไฟฟ้าประมาณ 50 หน่วยต่อวัน โดยมีจุดประสงค์หลักคือใช้แอร์สำหรับบ้าน 4 ตัว ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ปั๋มน้ำ พัดลมแสงสว่าง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงาน คาดว่าจะประหยัดค่าไฟประมาณเดือนละ 6,500 บาท ลดภาวะโลกร้อนได้ประมาณ 257,000 กิโลคาร์บอน ตลอดอายุการใช้งาน หากคิดราคาค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายเดือนละ 6,500 บาทตลอด 25 ปี (แต่ความจริงค่าไฟฟ้ามีการปรับขึ้น) ระบบยังผลิตไฟได้เท่าเดิมคิดเป็นเงินที่ไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าประมาณ 2 ล้านบาท ค่าติดตั้งค่าบำรุงรักษาตลอดโครงการประมาณ 1.2 ล้านบาท เมื่อถึงระยะเวลาคืนทุนแล้วยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปถึง 8 แสนบาท

หัวหิน

เทคโนโลยีก้าวข้ามระเบียบรัฐ


การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งประสิทธิภาพการผลิตไฟของแผ่นโซล่าร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ หรือแม้แต่ Energy storage ที่พัฒนาอยู่ตลอด หากเราตามไม่ทันหรือยังงมอยู่กับความเห็นแบบเดิมๆ ที่ยังมีปัญหาเราก็ยังจะไม่สามารถแก้ปัญหาหรือเข้าถึงนวัตกรรมเหล่านี้ได้ เทคโนโลยีไฮบริดวันนี้อาจจะล้ำหน้า แต่วันถัดไปอาจจะมีอะไรใหม่ๆ มาแซงก็ไม่แน่แต่วันนี้ไฮบริดดีกว่า

8 พฤษภาคม 60

ลดค่าไฟฟ้าเดือนละ 1 ล้าน

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93

พระครูวิมลปัญญาคุณ กับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าแบบก้าวข้าว

เจ้าของโรงงานน้ำแข็งจากร้อยเอ็ดได้ดูรายการคนค้นคนตอน พระพลังแดด แล้วจดชื่อไว้วันนี้ได้พาลูกหลานที่เรียนวิศวะม.อุบลมาเยี่ยมชมโรงเรียนพลังงานต้นแบบ เพื่อนำไปใช้ลดค่าไฟฟ้าปกติเดือนละ 1 ล้านบาท ตามแนวทางพึ่งพาตนเองของโรงงานเป็นอีกหนึ่งระดับและหนึ่งมิติของภาคส่วนในสังคมที่ต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่ได้ในภาวะผันผวนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์

%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99

ลดค่าไฟเดือนละล้าน

เป็นทางก้าวหน้าของภาคประชาชนไปอีกขั้นของการพึ่งพาตนเองบนพื้นฐานของการดิ้นรนแสวงหาทางออกแม้ยังไม่มีการสนับสนุนเต็มที่แต่ถ้าเรามีทางเลือกก็ต้องเลือกทางรอด ซึ่งมีข้อมูลวิธีการสามารถนำไปประยุกต์ใช้เทียบเคียงให้เหมาะกับบริบท หรือสภาพของตนเองอย่างเหมาะสมบนความพร้อมอย่างสมดุล

 

14715024_1146498658800197_2722898616087642458_o

พื้นที่ดาดฟ้า พื้นที่หลังคาก็นับรวมกันเป็นพื้นที่ติดตั้งได้

ค่าไฟฟ้ากี่ล้านหรือกี่พันกี่บาทก็สามารถลดลงได้
การติดตั้งโซล่าร์เซลล์แม้จะมีความสนใจ บางคนอาจคิดว่าทำไม่ได้เพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน หรือคนที่ติดตามการใช้โซล่าร์เซลล์ก็อาจจะคิดว่าทำใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในบ้านหรือตามท้องไร่ท้องนา แต่พอโพสต์ในเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/sisaengtham.ac.th ว่าได้แนะนำแนวทาง วิธีการให้โรงงานน้ำแข็งลดค่าไฟเดือนละล้านจึงมีคนแปลกใจทั้งที่ความจริงแล้วถ้ามีความพร้อมอาคาร สถานที่ งบประมาณ เอาเดือนละ 10 – 20 ล้านต่อเดือนก็ลดได้ และยังมีสถาบันการเงินให้กู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือมีบางที่ผลิตไฟให้จ่ายค่าไฟตามปกติแต่ถูกกว่าราคาของการไฟฟ้า 20 % เมื่อผ่านไฟ 15 ปียกโครงการทั้งหมดให้ก็มี ถ้าอยากทำเองเพื่อลดค่าไฟเดือนละ 1 ล้านบาท

%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99

โซล่าร์เซลล์โรงเรียนศรีแสงธรรม มุงทางเดิน

ยกตัวอย่างค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ย 4.50 บาท ต้องติดตั้งโซล่าร์เซลล์ 1.7 เมกกะวัตต์ ใช้พื้นที่ประมาณ 18 – 20 ไร่ หากมีพื้นที่หลังคาโรงงาน ลานจอดรถ หรือพื้นที่ว่างก็เอามาคิดรวมเพื่อติดตั้งได้ ถ้าจ้างบริษัทติดตั้งขนาดนี้ราคากิโลวัตต์ประมาณ 40,000 บาท หรือ เม็กกะวัตต์ละ 40 ล้าน ซึ่งมีข่าวโครงการใหญ่ ๆ ติดตั้งกิโลวัตต์ละ 50 ล้านซึ่งแพงและจุดคุ้มทุนนาน ดังนั้น 1.7 เมกกะวัตต์ก็ลงทุนประมาณ 68 ล้านบาทสำหรับการติดตั้ง เมื่อประหยัดค่าไฟลงเดือนละ 1 ล้านบาทก็ใช้เวลา 68 เดือนหรือเท่ากับ 5 ปีกับอีก 7 เดือนก็ถึงจุดคุ้มทุน

14976803_1165652860218110_2544100659610419139_o

ซุ้มประตูทางเข้ายังเป็นโซล่าร์เซลล์

อายุการใช้งานของอุปกรณ์
แต่โซล่าร์เซลล์มีอายุการใช้งาน 25 ปีหรือ 300 เดือน หากไม่คิดค่าสูญเสียลงปีละ 0.2 % ของการผลิตก็จะประหยัดค่าไฟตลอดโครงการ 300 ล้านบาท จะมีค่าบำรุงรักษาคือเมื่อครบ 12 ปีต้องเปลี่ยนอินเวอร์เตอร์คิดเป็น 10 % หรือน้อยกว่านั้นของค่าติดตั้งที่ต้องจ่ายประมาณ 6.8 ล้าน แต่เมื่อรวมกับการติดตั้งครั้งแรก 68 ล้านและอีก 12 ปีต่อมาเปลี่ยนอุปกรณ์อีก 6.8 ล้านก็จะเท่ากับ 74.8 ล้านบาท เมื่อหักรายได้รวม 300 – 74.8 = 225.2 ล้าน
อันนี้เป็นการคิดอย่างหยาบในทางปฏิบัติอาจจะต้องมีค่านั่น ค่านี่ตามกลไกของการตลาดหรือรายจ่ายซ๋อนเร้นอย่างอื่น จะเห็นได้ว่าแม้ไม่ต้องขายมีค่าแอดเดอร์แค่ใช้ไฟไม่ต้องจ่ายก็มีรายได้เพิ่มขึ้นยิ่งทางธุรกิจที่มีการแข่งขันเมื่อต้นทุนด้านพลังงานลดลงย่อมได้เปรียบคู่แข่ง

sola-edge

sola edge


เทคโนโลยีการผลิตไฟอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างเช่น sola edge เป็นอินเวอร์เตอร์ที่สามารถเพิ่มการผลิตมากกว่าปกติถึง 25 % หากมีการใช้โซล่าร์เซลล์อย่างแพร่หลายการจ้างงาน การค้าขายวัสดุอุปกรณ์ติดตั้งเหล็ก หิน ปูน ทรายก็จะขายได้ หรือภาคการศึกษาก็จะมีเรื่องวิจัยและพัฒนาแผ่นโซล่าร์ของเราเอง วิจัยระบบการจัดเก็บพลังงาน การบริหารพลังงานที่มีอยู่เฉพาะกลางวันแล้วมาใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์เพราะจะมีคำถามให้ตอบอยู่เรื่องว่ากลางคืนใช้ยังไง คงไม่มีใครไปบังคับให้ดวงอาทิตย์ส่องแสงมาได้ ณ ตอนนี้ก็ต้องหาวิธีบริหารจัดการเหมือนเราได้ปลามาตัวหนึ่งคนฉลาดย่อมเลือกกินเนื้อก่อนจะกินกระดูกให้มันติดคอตัวเอง นอกจากนี้ยังคาดหวังว่าจะเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจรากหญ้าเพราะช่างส่วนใหญ่ที่ติดตั้งคงจะเอาตังค์ไปซื้อปลาทูให้ลูกกินไปโรงเรียนมากกว่าายทุนโซล่าร์ฟาร์มที่เอาเงินไปเก็บในธนาคาร บางทีโซล่าร์เซลล์อาจจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมที่สลบนิ่งให้มีชีวิตชีวาก็ว่าได้

ปล.นำเสนอแนวคิดอย่างหยาบ ๆ หากจะลงมือจริงต้องเก็บรายละเอียดข้อมูลการใช้ สถานที่ ความเข้มของแสง และอีกหลายอย่าง แต่เป็นไปในแนวทางนี้

คนค้นคน : https://www.youtube.com/watch?v=RBpOfQpygJs&t=127s

รายการทีวี อดีตรองประธานาธิบดี อัลกอร์ของ อเมริกา : https://youtu.be/DsHhec4Nnso