ข้าวเหนียว ทาเนย

Biggles Bigband Thailand Tour 2019

53551198_2311686572490530_5663126035764346880_n

มีโอกาสได้มาเป็นแขกรับเชิญสถานทูตฮอลแลนด์ ในการต้อนรับวง Biggles Big Band วงดนตรีแจ๊ส ออร์เคสตร้า ขนาดวง 25 ชิ้น กับการแสดงดนตรี Thailand Tour Concert 2019

53525880_383496945536303_8904849758875549696_n

ซึ่งมาจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมทางดนตรีระหว่างชาวไทยกับชาวดัตซ์ และมีโปรแกรมจัดกิจกรรมกับเด็กๆ นักโรงเรียนศรีแสงธรรมในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562

เป็นการแสดงเพื่อให้เด็กๆ นักเรียนได้สนุกสนาน และเพื่อการกุศลหาทุนสนับสนุนสร้างห้องดนตรี จัดหาเครื่องดนตรี และจ้างตรูดนตรีมาสอนโรงเรียนศรีแสงธรรมเป็นเวลา 1 ปีในเบื้องต้น หากมีงบประมาณเพียงพอหรือปีต่อๆ ไป อาจจะได้มาสร้างห้องดนตรีหรือหางบประมาณมาจ้างครูดนตรีสอนต่อไปเรื่อยๆ

 

วง Biggles Bigband ได้จัดมินิคอนเสิร์ตที่โรงเรียนในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 ได้มีนักเรียนร่วมการแสดงเป็นที่สนุกสนานชื่นชอบของนักเรียนเป็นอย่างมาก มีผู้ปกครอง และชุมชนเข้ามาร่วมฟังเพลงแจ๊ส เพราะว่าเป็นโอกาสอันดีที่วงแจ๊สระดับโลกจะมาแสดงให้ชมถึงที่

 

ปกติวง Biggles จะเดินสายไปทั่วโลก และจะเล่นประจำอยู่ที่กรุงอัสสเตอร์ดัม ประเทศเนเธแลนด์ ทุกคืนวันจันทร์ที่ร้าน Cafe Casablanca และเดินทางมาแสดงที่ประเทศไทยแล้ว 6-7 ปี ซึ่งทางหัวหน้าวง Mr.Adrie Braat ผู้กำกับวงได้หลงเสน่ห์เมืองไทย โดยเฉพาะพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 ถึงกับเรียนภาษาไทย เพื่อจะได้ไปมาเมืองไทยได้สะดวก

 

มีความสุขกับการเล่นดนตรีและอยากเผยแพร่ให้กับเด็กๆ เยาวชนไทย โดยเฉพาะที่โรงเรียนศรีแสงธรรมนี้ ได้บริจาคเงินจำนวน 180,000 บาทให้กับโรงเรียนเพื่อเป็นทุนในการจัดหาครูดนตรีมาสอนที่โรงเรียนด้วย

 

นับเป็นน้ำใจจากเหล่านักดนตรีจิตอาสาทีมาแสดงด้วยหัวใจโดยไม่มีค่าตัวแต่อย่างใด ทั้งนี้ยังให้โอกาสนักเรียนโรงเรียนศรีแสงธรรมได้ร่วมสนุกได้จนลืมทานข้าวเที่ยงไปเลย

ต้องขอขอบคุณทางวง Biggles Bigband ที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนเล็กในป่าใหญ่อย่างเราได้สัมผัสดนตรีอันยิ่งใหญ่ของโลกนับเป็นประสบการณ์อันมีค่าสำหรับนักเรียนที่นี่อีกครั้งหนึ่ง

 

ขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีทุกท่านสำหรับอาหารโรงทานต่างๆ ทั้งส้มตำ ข้าวเหนียวย่าง ขนมจีน อย่างอร่อย สำหรับชาวต่างชาติ ที่บอกว่า #ข้าวเหนียวทาเนย คือการผสมผสานวัฒนธรรมของไทยและฮอลแลนด์อย่างลงตัว

ติดตามผลงานที่นี่ Biggles Bigband

Green Energy School

IMG_2621

Green Energy School

โรงเรียนศรีแสงธรรม ได้มีแนวคิดในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโรงเรียน 100% บนแนวคิดใช้เท่าไหร่ผลิตเท่านั้น หรือที่เรียกว่า Consumption = Generation หรือจะบอกว่าเป็น Net Zero ก็ว่าได้

32584767_1761415223975201_740888047607873536_n

ซุ้มประตูโซล่าร์เซลล์

ฐานการเรียนรู้ต่างๆ ด้านพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าร์เซลล์ เพื่อรองรับการศึกษาดูงานของผู้ที่สนใจ และรายการทีวีต่างๆ ที่เข้ามาทั้งในและต่างประเทศ จึงจัดเป็นจุดการเรียนรู้แต่ละจุดเพื่อสะดวกต่อการเยี่ยมชม และบางครั้งเจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้องมีธุระก็สามารถรับฟังการอธิบายจากครูหรือนักเรียนได้

อาคารอำนวยการ 

ได้รวมระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีในโลกขณะนี้ ไว้ในที่เดียวกัน 4 แบบคือ ระบบออนกริด ระบบสมาร์ทไฮบริด ระบบไฮบริด และระบบอ๊อฟกริด ขนาดกำลังผลิต 16 KWh. เพื่อจ่ายไฟไปยังจุดต่างๆ ผ่านตู้เมนการจ่ายไฟของโรงเรียนคือ ตู้ MDB

MDB จุดควบคุมไฟฟ้าของโรงเรียนซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อไฟจากการไฟฟ้าเข้ามายังโรงเรียน และเป็นจุดกระจายไฟฟ้าจากระบบผลิตต่างๆภายในโรงเรียนไปยังอาคารแต่ละอาคาร ซึ่งสามารถดูพลังงานที่ผลิตได้และดูการใช้พลังงานของแต่ละจุดภายในโรงเรียนผ่านวัตต์มิเตอร์ที่แสดงผลอยู่บนหน้าจอ

32384069_1761426693974054_7293102614638493696_o.jpg

อาคารรวมระบบผลิตไฟฟ้าที่มีในโลกไว้ที่นี่

อาคารเรียน 4 ชั้น

ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 100% มี Smart Hybrid Inverter 2 ชุด ขนาด 5 KWh.สำหรับผลิตไฟฟ้าให้กับชั้น 1 กับ ชั้น 2 และขนาด 3.6 KWh. สำหรับผลิตไฟฟ้าไห้กับชั้น 3 ชั้น 4 ใช้พื้นที่ติดตั้งประมาณ 60 ตารางเมตร

 

32681738_1762089383907785_6493473725252370432_o.jpg

การเชื่อมต่อสายไฟภายในโรงเรียนจะเป็นแบบร้อยท่อลอดใต้ดิน ไม่มีเสาไฟระโยงระยายภายในโรงเรียน

IMG_4156

นอกจากนั้นโรงอาหาร และบ้านพักครูก็จะมีระบบโซล่าร์เซลล์แยกออกต่างหากไม่รวมด้วยกัน และป้องกันไฟฟ้าดับ ไฟไม่พอแต่ละจุดสามารถย้ายไฟข้ามตึกไปใช้ด้วยกัน เป็นการจำลองระบบซื้อขายไฟฟ้าบ้านต่อบ้าน เมื่อเราไม่ใช้ไฟก็ขายให้ข้างบ้านที่ใช้ไฟฟ้าได้

IMG_7841

ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ได้นำระบบการจัดการพลังงานเข้ามามีบทบาทในการใช้พลังงานให้คุ้มค่าภายในโรงเรียน ซึ่งระบบต่างๆ และวิธีการจัดการจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป  หรือท่านติดตามในสื่อรายการทีวีต่างๆ ที่นำไปเผยแพร่เรื่องราวของโรงเรียนศรีแสงธรรม เช่น

ท่านนายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างการพึ่งพาตนเองของโรงเรียนทางรายการคืนความสุขถึง 2 ครั้ง 2 ครา

IMG_1815

IMG_1810

หรือสำนักข่าวต่างๆประเทศก็มี นำไปเสนอเป็นภาษาต่างประเทศก็ติมตามกันได้

เสียดายแดด

ตัวอย่างบางตอนในเวทีเสียดายแดด

เสียดายแดด2 ตอนนที่ 1

กิจกรรมสร้างเสริมความรู้สู่ชุมชน ด้านพลังงานแสงอาทิตย์ ในหัวข้อ เสียดายแดด #2 | การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงแดดเพื่อใช้เอง โดยพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดศรีแสงธรรม จังหวัดอุบลราชธานี และ ผศ. ประสาท มีแต้ม นักวิชาการด้านพลังงาน ดำเนินกิจกรรมโดย อิฐบูรณ์ อันวงษา ณ อิมแพค เมืองทองธานี ในงานมหกรรมอาหาร และสุขภาพวิถีไท ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๘ ๑๖.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.

เสียดายแดด2 ตอนที่ 2

ขอบคุณ  บุญเลิศ .เจริญกิจศิริวงศ์  Moral Medias สื่ออิสระ สร้างสรรค์ ถ่ายทำ และตัดต่อทั้งหมด

เพื่อนกันวันละเข่ง

“เพื่อนกันวันละเข่ง” เป็นกิจกรรมรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนด้วยการเก็บกวาดใบไม้ในแต่ละวันแล้วนำมากองรวมกันไว้ พอได้จำนวนพอจะทำปุ๋ยหมักก็จะเริ่มทำเป็นกองๆไปตามแนวต้นไม้ที่ปลูกใหม่ เวลารดน้ำกองปุ๋ยหมัก ดินบริเวณต้นไม้ก็จะชุ่มไปด้วย

เพื่อนกันวันละเข่ง

ขั้นตอนการทำปุ่ยหมักแบบไม่กลับกองอย่างง่ายมีดังนี้ คือ
๑.นำใบไม้มากองในพื้นที่ด้านกว้างประมาณ 2.5 เมตร ด้านยาวไม่จำกัด
๒. วางใบไม้หนาประมาณ ๑๐ ซม.แล้วโรยทับด้วยมูลสัตว์ประมาณ ๑ ต่อ ๓ เช่นใบไม้ ๙ เข่งก็จะใช้ปุ๋ยคอก ๓ เข่งปูทับ

ปุ๋ยหมักไม่พลิกกองกลับ
๓. รดน้ำให้ชุ่ม
๔.ทำเป็นชั้นๆไปเรื่อยๆจนครบ ๑๐ ชั้น

ปุ๋ยหมักไม่พลิกกองชั้นสูง
๕.รดน้ำทุกวัน และทุก๑๐วันเจาะกองปุ๋ยลงไปแล้วรดน้ำให้ถึงพื้น ไปทั่วกองปุ๋ย
๖.ประมาณ ๒ เดือนก็จะได้ปุ๋ยหมัก ตากให้แห้งแล้วนำไปใช้ได้ตามต้องการ

โรงเรียนพลังงานสร้างชาติ

ตึกวิทย์ Hybrid Energy

Hybrid Energy

มนุษย์มีมากขึ้นความต้องการในการใช้พลังงานก็มีมากขึ้น พลังงานที่มีอยู่ไม่เพียงพอและแนวโน้มว่าจะลดลง อีกทั้งมีราคาเพิ่มสูงขึ้น การใช้พลังงานจึงต้องรู้จักการใช้อย่างประหยัดและอนุรักษ์พลังงานที่มีอยู่ไม่ให้หมดไป รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมหรือการแสวงแหล่งพลังงานใหม่มาชดเชยพลังงานสิ้นเปลืองประเภทใช้แล้วหมดไป ซึ่งพลังงานหมุนเวียนประเภทหนึ่งคือการนำแสงอาทิตย์มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับบริบทของตนเองโรงเรียนได้มีแนวคิดทีจะสร้างอาคารเรียนที่เน้นการใช้พลังงานหมุนเวียนโดยติดตั้งแผ่นโซล่าเซลล์ขนาด 10 กิโลวัตต์ และ กังหันลมปั่นไฟขนาดเล็กจำนวน 40 ตัวให้ชาร์จประจุไฟฟ้าลงแบตเตอรี่ แล้วนำมาแปลงเป็นกระแสไฟฟ้าสลับให้ใช้ภายในตึกทั้งหมด อันจะเป็นการลดการใช้พลังงานที่ผลิตจากฟอสซิลหรือถ่านหิน ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดสภาวะโลกร้อน

1w

ตึกวิทย์ไฮบริด

จากภาวะเศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนแปลงและผันผวนตลอดเวลาการสร้างภูมิคุ้มกันในโรงเรียนเอกชนขนาดเล็กเป็นสิ่งจำเป็นเพราะรายได้ส่วนใหญ่เป็นเงินอุดหนุนรายหัวจากรัฐยังต้องเพิ่มในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองเป็นการลดรายจ่ายซึ่งก็คือรายได้นำไปใช้ในการพัฒนาด้านอื่น เช่นโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา 3,752 แห่งสามารถผลิตไฟฟ้าในโรงเรียนรวมกันเป็นมูลค่าถึง 77.8 ล้านดอลล่าร์ หรือประมาณ 2,500 บาทต่อปี

10384938_719395701510497_2574985169830727269_n

โรงเรียนโซล่าเซลล์

หากโรงเรียนที่มีค่าไฟประมาณเดือนละแสนบาทหันมาผลิตไฟฟ้าขนาด 166 KW.ในโรงเรียนโดยใช้พื้นที่บนดาดฟ้า บนหลังคาอาคาร หรือพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์โดย 1 KW.ใช้พื้นที่ประมาณ 8 ตร.ม.หาก 166 KW. จะใช้พื้นที่ประมาณ 1,300 ตารางเมตรหรือใช้พื้นที่ไม่ถึงครื่งของสนามฟุตบอล ก็จะประหยัดงบประมาณได้ปีละ 1,200,000 บาท ตามภาพของ ผศ.ย์ประสาท มีแต้ม

คำนวณไฟฟ้าเบื้องต้นจากอุบลราชธานี

เปรียบเทียบประมาณการติดตั้งโซล่าเซลล์

จากสามหมื่นกว่าโรงเรียนทั่วประเทศทดลองนำร่อง 1,000 โรงเรียน ก็จะประหยัดได้ปีละ หนึ่งพันสองร้อยล้านบาทหรือนำมาพัฒนาการเรียนการสอนของครู นักเรียน หรือจ้างครูเงินเดือน 15,000 บาทก็จะได้ครูประมาณ 6,666 คนเข้ามาในระบบการศึกษา และจะได้ไฟฟ้ามากกว่า 160 เมกะวัตต์เข้ามาในระบบอันเป็นการช่วยลดการผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าชหรือถ่านหินในเวลากลางวันเพราะโรงเรียนใช้ไฟส่วนมากจากกลางวัน และปริมาณคาร์บอนที่จะขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศถึงกิโลวัตต์ละ 564 กรัมนับเป็นพลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกทาง

ยกตัวอย่างโรงเรียนขนาดเล็กที่ใช้ไฟ1,000 หน่วยต่อเดือน สามารถลงทุนติดตั้งแผ่นโซล่าเซลล์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 6 กิโลวัตต์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าเช่นโรงเรียนศรีแสงธรรมได้ใช้งบประมาณ 180,000 บาทจะลดค่าไฟฟ้าได้เดือนละประมาณ 4,000 บาท สามารถคืนทุนได้ภายใน 4 ปี จากนั้นแผ่นโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานถึง 25 ปี หากคิดค่าไฟปีละ 48,000 บาทไปอีก 21 ปี จะลดค่าใช้จ่ายได้นับล้านบาท แต่การเพิ่มขึ้นของค่าไฟมีขึ้นเรื่อยๆดังภาพ

10575310_666815760101825_8501015922694129623_o

หากค่าไฟอีก 25 ปีข้างหน้าหน่วยละ 17 บาท

หรือสถาบันการศึกษาต่างๆที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 1 เมกะวัตต์ทดลองผลิตใช้เองก็จะประหยัดค่าไฟได้ประมาณเดือนละ หกแสนบาท หรือปีละ 7.2 ล้านบาท ทั้งนี้มหาวิทยาลัย วิทยาลัย ที่มีความพร้อมต่างๆมากมายหากได้รับการสนับสนุน 1,000 มหาวิทยาลัย หรือวิทยาลัย ผลิตไฟฟ้าระดับ 1 เมกะวัตต์แต่ละปีจะมีงบประมาณประมาณกว่า 7,000 ล้านบาท

โรงเรียนศรีแสงธรรม

โรงเรียนพลังงานสร้างชาติ

แนวทางการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานโรงเรียนศรีแสงธรรมได้ทดลองผลิตไฟฟ้าขนาด 6 KW.บนชั้นดาดฟ้าของอาคารเรียนเพื่อศึกษาทดลอง และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนรวมทั้งโรงเรียน ชุมชนต่างๆได้ให้ความสนใจเข้ามาศึกษาดูงานเพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ในรูปแบบต่างๆที่ทางโรงเรียนได้ทำเป็นแหล่งเรียนรู้อย่างหลากหลาย และเผยแพร่ไปทางยูทูป หรือสื่อออนไลน์ต่างๆ เพื่อผู้ที่สนใจอยู่ทางไกลได้นำไปประยุกต์ใช้ได้ตามการใช้งานของตน

1003388_632243950225673_9107359888256477991_n

พลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 6 กิโลวัตต์

ทั้งนี้ยังจัดเข้าในกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนรู้จักการเก็บข้อมูลในวิชาคณิตศาสตร์ หรือนำมาเป็นวิชาเพิ่มเติมในสาระวิทยาศาสตร์คือวิชาพลังงานทดแทน และมีกิจกรรมชมรมพลังงานทดแทน ซึ่งสามารถประดิษฐ์ผลงานเข้าแข่งขันในจนได้รางวัลทั้งระดับภูมิภาคและระดับประเทศจนมีผู้มาศึกษาดูงานเป็นจำนวนมากทั้งจากต่างประเทศ และโรงเรียนในประเทศ

10154952_589035627879839_1939316335077764979_n

แหล่งเรียนรู้ไฟกระแสตรง จากโซล่าเซลล์ 1 แ่ผ่น แบต 1 ลูก

ด้วยความขาดแคลนอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์ทางโรงเรียนจึงจัดพลังงานให้เป็นสื่อการสอนให้กับนักเรียนเน้นการนำไปใช้จริงควบคู่ไปกับหลักวิชาการให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจนเกิดความชำนาญ มีนวัตกรรมใหม่ๆอยู่เสมอให้นักเรียนได้ต่อยอดทางความคิดในการพัฒนาด้านพลังงานตามเทคโนโลยีที่เหมาะสม

1467268_488500557933347_747697687_n

รถพลังงานแสงอาทิตย์โรงเรียนศรีแสงธรรมกับรางวัลชนะเลิศเหรียญทองอันดับหนึ่ง

การจัดการเรียนการสอนยังได้ขยายไปสู่ชุมชนทั้งใกล้และไกล โดยมีการจัดอบรมด้านพลังงานทดแทน ด้านทักษะอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทุกเดือนเพื่อให้นักเรียน ชุมชนได้ร่วมเรียนรู้นำไปสู่การปฏิบัติในการประกอบอาชีพได้

10532541_664875076962560_955178486801867173_n

กังหันลมปั่นไฟขนาดเล็ก 2 A/H ด้วยความเร็วลม 1 เมตร/วินาที

10659392_682774291839305_4129663284185080119_n

ชนะเลิศเหรียญทองอันดับหนึ่ง

10505325_677705469012854_4628153889390894184_n

ผู้บริหารจากม.อุบล

10176017_594940130622722_8872926813860447334_n

วิศวกรชาวเยอรมันมาดูการประยุกต์ใช้อย่างง่ายในโรงเรียน

10387105_648052765311458_8692174033726063415_o

ปริมาณการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของโรงเรียน

จากการดำเนินกิจกรรมต่างๆของโรงเรียนจนสามารถควบคุมปริมาณการใช้ไฟฟ้าได้ตามความเหมาะสมของตนเองซึ่งโรงเรียนต่างๆอาจรวมถึงหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนนำไประยุกต์ใช้ ทำให้ประหยัดงบประมาณของชาติหรือมีงบประมาณไปใช้อย่างอื่นที่จำเป็น และมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอ ตามแนวคิด Renewable energy school ของโรงเรียนศรีแสงธรรมซึ่งได้ทดลองผลิตไฟฟ้าใช้เองภายในโรงเรียนที่แสนจะง่ายและราคาถูกแต่คุ้มค่า จากแสงอาทิตย์ที่มีมากพอหากโรงเรียนใช้กันทั่วประเทศตามปริมาณการใช้ของตนเอง ก็จะเป็นการปลูกฝังค่านิยมการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน การสร้างทักษะอาชีพเมื่อนักเรียนสำเร็จการศึกษาสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ หรือศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นต่อยอดการพัฒนานวัตกรรม องค์ความรู้ทางด้านพลังงานสู่การสร้างชาติ

10352597_626540904129311_5068630066591948747_n

โรงเรียนพลังงานสร้างชาติ

แนะนำโครงการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานของโรงเรียน

ข้อมูลเพิ่มโรงเรียน

https://www.facebook.com/sisaengtham.ac.th

บ้านดินครูอาสา

บ้านดิน

บ้านพักครูอาสาสมัครหรือวิทยากรที่มาอบรม รวมทั้งแขกที่มาเยี่ยมโรงเรียนศรีแสงธรรมที่มาพักยังไม่สะดวกจึงได้พานักเรียนปั้นก้อนอิฐดินเพื่อนำมาสร้างบ้านดิน การสร้างบ้านดินก็ได้นำเสนอไปแล้วสองหลังคือ หลังแรกเป็นดินทั้งหลัง หลังที่สองเป็นห้องเรียนบ้านดินของโรงเรียน หลังนี้เป็นห้องพักสำหรับครูขนาด 52 ตารางเมตร  2 ห้องนอน 1 ห้องน้ำ งบประมาณก่อสร้าง 140,000 บาท โดยได้รับความเอื้อเฟื้อออกแบบโดย ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

536969_326773717439366_1234404789_n

การก่อสร้างก็เช่นเดียวกับการก่อสร้างบ้านทั่วไปเพียงแต่ใช้ดินเป็นผนังซึ่งมีความหนาถึง 20 ซม.จึงทำให้ความร้อนผ่านเข้ามาไม่ได้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมบ้านดินเย็น เริ่มต้นด้วยการหาแหล่งดินมาย่ำคือไม่เป็นดินเหนียวเกินไปเพราะจะทำให้ก้อนอิฐดินเปราะ ไม่เป็นทรายเพราะจะปั้นก้อนดินไม่ได้ ดังนันจึงสรุปได้ว่าเอาดินที่ไหนก็ได้ที่ใกล้กับบริเวณที่จะสร้างเพราะไม่ต้องขนย้ายไกล

30371_306223389494399_751048713_n

ดินหน้าอาคารก็เหมาะหลายอย่าง

29550_304505186332886_1883290581_n

หนูน้อยนักย่ำดิน

การทำก้อนอิฐดินคือใช้แกลบผสมกับดิน และน้ำ นวดให้เข้ากันหากนวดไม่เข้ากันแล้วก้อนอิฐจะเปราะหักง่ายแรกๆอาจจะนวดดินให้เข้ากันยากเพราะดินยังใหม่ แต่หากนวดครั้งต่อไปจะง่ายขึ้นเพราะน้ำได้หมักดินไปด้วย หากจะนวดต่อในวันถัดไปแนะนำให้ปล่อยน้ำเข้าในบ่อดินเป็นการหมักดินไว้

61369_304505219666216_1995088767_n

สนุกกันเต็มที่

เมื่อนวดดินได้ที่แล้วก็เอามาใส่ในบล็อกไม้ขนาด 40 X 20 X 10 ซม.ในนี้กล่องหนึ่งจะทำได้ห้าก้อนพร้อมกันซึงจะทำให้ก้อนดินครบตามจำนวนได้เร็ว

77031_304329596350445_1506192284_n

ก้อนดินต้องตากให้แห้งไม่น้อยกว่า 14 วัน โดยวางราบก่อนหนึ่งสัปดาห์ และพลิกตั้งไว้อีกหนึ่งสัปดาห์เพื่อให้ก้อนอิฐดินแห้งสนิท หากอยากทดลองความแข็งของก้อนดินก็ยกขึ้นแล้วปล่อยมือหากไม่หักกลาง หรือบิ่นขอบก็ใช้ได้

154403_306223272827744_1299665035_n

อิฐดิน

380116_308382085945196_1480420768_n

เมื่อครบจำนวนแล้วก็จะนำมาก่อตามแบบอาคารที่วางไว้ซึ่งมีการทำโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กเหมือนการก่อสร้างบ้านทั่วๆไป หรือบางแห่งจะไม่ใช้โครงสร้างคือเอาผนังเป็นตัวรับน้ำหนักซึ่งเป็นการยากในการสร้างในที่อาคารสาธารณะเพราะการรับรองของวิศวะกรจะทำได้ยาก เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากจึงได้ทำโครงสร้างไว้เลย

75283_300680466715358_100575408_n

แบบอาคารห้องพักบ้านดิน

การก่อผนังก็ทำเหมือนก่ออิฐบล็อกเพียงแต่ใช้โคลนมาเป็นตัวเชื่อมก้อนอิฐดินเข้ากัน หากมีฝีมือทางช่างบ้างก็จะก่อนได้สวยเรียบเพราะจะทำให้ฉาบง่าย หรือตกแต่งได้ตามใจชอบ

67897_310357962414275_61094484_n

การก่ออิฐและตกแต่งช่องลมภายในห้อง

12041_309519825831422_2114137898_n

การก่อผนังจนถึงระดับวงกบหน้าต่างก็ติดตั้งประตูหน้าต่างไปเลย

การฉาบ

481476_310832655700139_847206457_n

ขอเป็นนายแบบฉาบดิน

68649_311190032331068_1481827711_n

การฉาบ

เมื่อก่ออิฐจนได้ระดับตามความต้องการแล้วก็ฉาบ ก็ใช้โคลนมาฉาบเช่นเดิม

24451_320292888087449_654473160_n

การนำไม้ไผ่มาประยุกต์เข้าด้วยกัน

75378_317320968384641_1361519978_n

เมื่อฉาบเสร็จแล้วก็เป็นการตกแต่งตามชอบใจ

317961_321233301326741_1787103604_n

เพดานไม้ไผสาน

หลังจากนั้นก็คือการทำห้องน้ำซึ่งต้องระวังความชี้นในผนังดินโดยการปูกระเบื้องผนังให้เรียบร้อยเพราะถ้าโดนน้ำดินจะร่วงลงมา ถ้าติดกระเบื้องเข้าไปก็จะกันน้ำ และสวยงาม

406126_319834774799927_703288275_n

ผนังห้องน้ำด้วยกระเบื้อง

394922_325598547556883_1996742959_n

ปูกระเบื้องพื้นห้องน้ำ

14890_323596911090380_1831532793_n

ได้บ่อเลี้ยงปลาหน้าบ้านพอดีจากหลุมดิน

เพียงเท่านี้ก็ได้บ้านพักครูอย่างดี ส่วนมากอาสาสมัครชาวต่างชาติมักจะขอพักที่นี่ ลองๆเอาไปทำดูง่ายๆสไตล์ศรีแสงธรรม

536969_326773717439366_1234404789_n 479761_306292019487536_944854122_n

556778_304506002999471_1743694736_n

เครื่องหมายรับประกันคุณภาพประจำงาน

หรือหากสนใจมาเรียนรู้ ศึกษาดูงานได้ที่โรงเรียนศรีแสงธรรม บ.ดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี และรูปภาพเพิ่มเติมได้ที่

https://www.facebook.com/sisaengtham.ac.th/media_set?set=a.719911644792236.100003202213034&type=3

ห้องเรียนบ้านดิน

ห้องเรียนบ้านดินศรีแสงธรรม

47053_362157667234304_1203603932_n

600463_337145633068841_187373435_n

ทวารบาลด้านซ้าย

379356_337145666402171_9944530_n

ทวาลบาลด้านขวา

427298_337145626402175_843819067_n

ภาพวาดอัปสราบนผนัง

526587_337145639735507_333585711_n

984203_390168771099860_984512239_n

ห้องเรียนบ้านดิน

ห้องเรียนดิน

บ้านดิน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่วัดป่าศรีแสงธรรมได้ทดลองสร้างเป็นบ้าน จึงได้นำเทคนิคความรู้มาใช้แก้ปัญหาการขาดแคลนห้องเรียนของโรงเรียนศรีแสงธรรมซึ่งขาดแคลนห้องเรียน เป็นการพึ่งพาตนเองด้านความที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัจจัยหลักพื้นฐาน และการสร้างบ้านดินนั้นยัง

10154952_589035627879839_1939316335077764979_n

ตอนเย็นเปิดไฟจากโซล่าเซลล์ทั้งหลังสว่างทั้งคืน 23 ดวง

10372574_637488573034544_5947520222345632512_n

ห้องเรียนบ้านดิน คู่กับ อาคารพยาบาลสีเขียว

1959638_553712401412162_596325085_n

วิวด้านบนของอาคารเรียนบ้านดิน

ป็นการลดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ผนังที่ทำด้วยดินมีความหนาถึง 20 เซนติเมตร ทำให้ความร้อนผ่านเข้ามาภายในห้องต้องใช้เวลาถึง 8 ชั่วโมง ในหน้าหนาวจะเห็นได้ชัดตอนเย็นจะอุ่นพอดี ซึ่งขั้นตอนวิธีทำก็ไม่ต่างจากหลังแรกเท่าใด แต่ห้องเรียนเป็นอาคารสาธารณะจำเป็นต้องเสริมคอนกรีต และเหล็กขึ้นมาเพื่อความแข็งแรง บนพื้นที่ 112 ตารางเมตร ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 140,000 บาท

10382169_725558760894191_6656288685605133795_n

แบบบ้านดิน

10624870_725558927560841_6251534501482400954_n

แบบอาคารบ้านดิน

10628385_725558930894174_611447936524858816_n

แบบห้องเรียนบ้านดิน

แบบห้องเรียนบ้านดิน 112 ตารางเมตร เป็นรูปแปดเหลี่ยม

ขั้นตอนการทำหลังนี้คือ

1.โครงสร้างก่อนคือตั้งเสา และมุงหลังคา

528583_362113427238728_1501626230_n

โครงสร้างหลังคา

2. เตรียมดินมาปั้นก้อนอิฐดินขนาด 20x40x10 ซม.รอไว้ระหว่างที่ทำโครงสร้างหลังคาก็จะตากก้อนดินให้แห้งประมาณ 7 วันแล้วพลิกดินขึ้นตั้งไว้ให้อีกด้านหนึ่งแห้ง

17765_362113587238712_1045687387_n

ปั้นดิน

539129_362135193903218_661025808_n

เพื่อห้องเรียนของเรา

529095_362135150569889_569459058_n

ความหวังของนักเรียนจะได้มีห้องเรียนบ้านดิน

563763_362135220569882_354497408_n

ห้องเรียนเราต้องช่วยกัน

3.เมื่อก้อนอิฐดินแห้งก็นำมาก่อผนังไปตามแบบที่ออกไว้ โดยใช้ดินเหนี่ยวที่ยำมาเป็นไส้ในการเชื่อมก้อนดินให้ติดกันเหมือนผสมปูนก่ออิฐบล็อกทั่วไป การก่อก็วางทับกันขึ้นไปเป็นชั้นจนถึงระดับความสูงที่ต้องการ

555468_362113463905391_988052326_n

เจ้าหน้าที่ตรวจความเย็นของห้อง

65360_362113460572058_550141756_n

การก่ออิฐดิน

57983_362113430572061_791335843_n

ถ้าก้อนอิฐเรียบก็จะก่อง่าย

553707_362113477238723_1079895239_n

โคลนใช้ก่ออิฐดิน

4.เมื่อก่อผนังเสร็จติดตั้งวงกบประตู หน้าต่างตามระดับที่เขียนไว้ในแบบ ข้อควรระวังคือวงกบหน้าต่าง หรือประตูต้องแข็งแรงโดยการทำสลักยื่นเข้าไปในผนังแล้วก่ออิฐดินทับไว้ จะได้ช่วยยึดให้แข็งแรง หากเทคอนกรีตทับด้านบนของวงกบหน้าต่างและวงกบประตูจะแข็งแรงยิ่งขึ้น

537020_362113490572055_716122179_n

วางวงกบหน้าต่างตามปกติ

5.เมื่อเสร็จแล้วก็เตรียมฉาบผนังด้วยดินโคลนที่เรานำมาปันก้อนอิฐ ขอแนะนำว่าอย่าให้ผนังแห้งเกินไปเพราะเวลาฉาบการแห้งของดินฉาบจะแห้งเร็วกวาจะเป็นรอยแตกลายงา แต่ไม่ได้อันตรายเป็นแค่ผิวดินบางๆที่ฉาบเท่านั้น

58065_362113493905388_531745096_n

การฉาบก็ใช้โคลนที่ก่ออิฐมาฉาบ

6.เมื่อฉาบเสร็จก็เทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กแล้วปูกระเบื้องให้สวยงาม

149460_362113523905385_447892822_n

เสร็จแล้วปูกระเบื้องพื้นให้สวยงาม

7.ก็จะได้ห้องเรียนบ้านดินเย็นสบาย ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ลดการใช้แอร์ ใช้ไฟฟ้า ช่วยลดภาวะโลกร้อนของเราได้

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เฟซบุ๊ค โรงเรียนศรีแสงธรรม

https://www.facebook.com/sisaengtham.ac.th

เกี่ยวข้าว57

กิจกรรมการเกี่ยวข้าวในแปลงนากล้าต้นเดียวประจำปี 57 ของโรงเรียนศรีแสงธรรม หลังจากปักดำด้วยกล้าต้นเดียวเป็นเวลา 124 วัน ข้าวออกรวงและแก่เต็มที่ ซึ่งแต่ละต้นแตกกอออก 8-9 ต้น ซึ่งนักเรียนทุกคนได้ช่วยกันปักดำ เกี่ยวข้าวร่วมกัน หลังจากได้ข้าวเปลือกแล้วก็จะเหลือฟางทางโรงเรียนได้นำไปทำเห็ดในถุงแบบแขวน เมื่อเห็ดไม่ให้ดอกก็จะนำมาทำปุ๋ยเป็นการใช้ประโยชน์ของฟางมากที่สุด เมื่อถึงฤดูทำนาก็จะนำฟางและใบไม้มาใส่นาข้าวหมุนเวียนกันไปเพื่อลดการเผาฟางในนาข้าว ช่วยลดสภาวะโลกร้อนด้วย

10689583_724204041029663_6810865826680193714_n 10653520_724205257696208_5476557519636494787_n 10406989_724205214362879_528597121542003201_n 1441402_724205234362877_7666486148484746818_n

นักเรียนทั้งหมดช่วยกันเกี่ยวข้าวในแปลงนาของโรงเรียน

10410848_724205814362819_8548129253964512046_n 10388630_724205847696149_5866739109653176269_n 7614_724205864362814_7755468781105303575_n 1486619_724205777696156_6488751209383654151_n

ครูต่างชาติก็ไม่กลัวแดด บอกว่าสนุกมาก

1779814_724205064362894_3057112585301692807_n

การเพาะเห็ดถุงแบบแขวน

การเพาะเห็ดถุงแบบแขวน

10624590_713980432052024_3578587045319961899_n

1514596_733180030132064_821077076767912154_nการนำฟางข้าวมาเพาะเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม ต่างๆในถุงพลาสติกแขวน เป็นการช่วยลดการเผาฟางในนาข้าวของเกษตรกรในบางพื้นที่มักจะเผาฟางก่อนไถนาช่วงก่อนฤดูทำนา ด้วยทำให้ง่ายต่อการไถดะ ปัจจุบันมีการนำฟางมาใช้ประโยชน์หลายอย่างเช่นให้สัตว์เลี้ยงกิน หรือนำมาคลุมดินในแปลงพืชผักซึ่งฟางมีโปรตีนมาก
10711063_713980475385353_4286165319328116103_n
โรงเรียนศรีแสงธรรมมีแนวคิดในการช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซค์ในชั้นบรรยาศซึ่งเป็นสาเหตุในการเกิดสภาวะโลกร้อนโดยการนำฟางมาทำเห็ดในถุงแบบแขวนไว้ซึ่งข้อดีของเห็ดถุงแบบแขวนนี้ง่ายต่อการเพาะเห็ดเพราะไม่ต้องทำโรงเรือนแขวนไว้ทีไหนก็ได้ การใช้ฟางแทนขี้เลื่อยยางพาราซึ่งหายากและมีราคาแพงเพราะไกลจากโรงเลื่อยต้นยางพารา

และข้อดีอีกอย่างคือการเพาะเห็ดจากฟางข้าวไม่ต้องนึ่งฆ่าเชื่อ เพียงแค่ต้มน้ำให้เดือด แล้วเอาฟางจุ่มลงก็เป็นการฆ่าเชื้อแบบพาสเจอร์ไรท์แล้ว รวมทั้งให้ดอกง่ายคือหลังจากบรรจุถุงแล้วประมาณ 3 สัปดาห์ก็ให้ดอกแล้ว จึงเป็นการง่ายในการเพาะเห็ด ส่วนฟางที่เหลือจากการเก็บเห็ดแล้ว ยังสามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อเตรียมใส่คืนในนาข้าวของโรงเรียนอีกด้วย

วัสดุอุปกรณ์
1. ฟางแห้ง หรือ หญ้าแฝก หรือผักตบชวาก็ได้
2. ถุงพลาสติกเจาะกันร้อน
3. หม้อต้มน้ำร้อนหรือถัง 200 ลิตรไว้ลวกฟาง
4. เชือกฟางไว้มัดปากถุงยึดกับที่แขวน
5. เชื้อเห็ด

ขั้นตอนและวิธีการ

10347548_713980732051994_7643746426944568059_n

1.นำฟางแห้งมามัดเพื่อเตรียมต้มเป็นมัดๆ ละครึ่งกิโลกรัมหรือ หนึ่งกิโลกรัมก็ได้

  1. นำมัดฟางไปต้มในน้ำเดือดเป็นเวลาเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมงเพื่อฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 60-80 องศา แต่ไม่เกิน 80 องศา10361518_722235167893217_2833235018155246281_n
  2. นำมาแขวนผึ่งไว้ประมาณ 15-20 นาทีไม่ให้แห้งเกินไปต้องให้วัสดุเพาะมีความชื้นประมาณ 60%10351091_722235291226538_5182260558477221554_n
  3. เชื้อเห็ดที่นำมาคลุกในกะละมังอัตราส่วน 50 กรัมต่อฟาง 500 กรัม

5.คลุกให้เข้าแล้วเอาบรรจุใส่ถุงแล้วเจาะรูไว้และมัดปากถุงเพื่อนำไปแขวน1503907_722235281226539_2921856979345987308_n

  1. การเจาะรูต้องเจาะ 3 แถวๆละ 4 รู และต้องเจาะก้นถุงเพื่อให้น้ำไหลออกได้
  2. 7. นำเห็ดไปแขวนในที่ๆเตรียมไว้อย่าพึ่งรดน้ำจนกว่าเชื้อเห็ดจะเดินไปทั่วประมาณ 2 สัปดาห์ก็จะเห็นดอกจึงค่อยรดน้ำหรือย้ายไปเข้าห้องที่มีความชื้น โดยรดประมาณ 4-7 วันก็จะได้ดอกเห็ดออกมา13262_722235464559854_6912811976296828795_n 1908004_722333544550046_5668987222452026495_n

8 .การรดน้ำอย่าฉีดใส่ถุงโดยตรง ให้รดข้างบนของถุงให้เป็นละอองลงมาเพื่อให้มีความชื้น

  1. เมื่อเก็บเห็ดจนไม่ให้ดอกแล้วก้อนฟางจะอ่อนลง เราก็นำฟางมาทำปุ๋ยหมักได้1508633_722333554550045_7707764724709632231_n
  2. 10624893_733217650128302_1310560567769141196_n

การสร้างบ้านดิน

Mud house บ้านดินต้นแบบของโรงเรียนศรีแสงธรรม

มีผู้ให้ความสนใจการสร้างบ้านดิน และมีการแชร์ต่อๆกันไปในโลกอินเทอเน็ทเกี่ยวกับบ้านดินโรงเรียนศรีแสงธรรมซึ่งมีอยู่จำนวน 4 หลังด้วยกันหลังที่ 1 นี้ถูกสร้างจากจากแนวคิดการพึ่งพาตนเอง เพื่อศึกษาทดลองสร้างขึ้นบนพื้นอาคารเก่าที่รื้อออกไปแล้วเหลือแต่พื้นคอนกรึตที่เทไว้ขอบอาคารเดิม การออกแบบจึ่งเป็นการปรับให้เป็นไปตามพื้นที่เดิมที่มีอยู่ งบประมาณที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นค่าไม้โครงหลังคา และห้องน้ำภายในบ้านดิน ใช้งบทั้งสิ้น 46,000 บ.

Screen-Shot-2557-11-05-at-10.36.30-AM

ลักษณะบ้านเป็นบ้านหลังเล็กๆ ทรงกระท่อม แต่มีจุดเด่นด้วยการเป็น บ้านดิน ที่สร้างจากดินจริงๆ จึงทำให้เย็นสบายตลอดทั้งวัน อีกทั้งยังประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างได้มาก

Screen-Shot-2557-11-05-at-10.38.27-AM Screen-Shot-2557-11-05-at-10.39.06-AM

ลักษณะการทำไม้แบบเพื่อเป็นบล็อกก้อนอิฐดินในการนำมาก่อ

Screen-Shot-2557-11-05-at-10.37.12-AM

เมื่ออัดก้อนอิฐเสร็จแล้วตากไว้ประมาณ 15 วัน เพื่อให้ก้อนดินแห้งสนิท

Screen-Shot-2557-11-05-at-10.38.56-AM

การก่ออิฐ ก็วางซ้อนกันธรรมดา ใช้โคลนที่ปั้นก้อนอิฐเป็นตัวเชื่อมประสาน

Screen-Shot-2557-11-05-at-10.36.52-AM

เมื่อก่ออิฐได้ระดับแล้วก็วางโครงหลังคา ซึ่งหลังนี้ไม่มีเสา ก็วางโครงหลังคาบนผนังเลย

Screen-Shot-2557-11-05-at-10.37.00-AM

การมุงหลังคา ก็ผสมดินที่ปั้นก้อนอิฐดินมาป้ายทาบนวัสดุรอง ซึ่งได้ตัดไม้มารองแล้วฉาบทาด้วยซีเมนต์ ถึงตอนนี้ขอแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจจะทำว่าไม่ควรทำหลังคาดินลักษณะนี้เพราะปลวกชอบเจาะไม้ หากระวังรักษาไม่ดีปลวกจะกินหมด ควรใช้วัสดุมุงทั่วไปจะดีกว่าไม่เสียเวลาเปลี่ยนหลังคาอีก

1503301_506601912789878_1632248872_n 1512497_506601846123218_1992689609_n

การฉาบ

เมื่อก่ออิฐได้ตามต้องการแล้วก็ผสมดินเหนียวแล้วเอามาฉาบทาผนังไว้ให้เรียบ

Screen-Shot-2557-11-05-at-10.37.39-AM

ฉาบแต่งให้เรียบร้อย สวยงามตามใจชอบ

Screen-Shot-2557-11-05-at-10.37.48-AM

การเจาะรูเพื่อระบายอากาศ ระบายความร้อน

1496708_506601936123209_344452339_n1526162_506601972789872_624717540_n

ประตูภายในห้องนอนก็สามารถตกแต่งได้

Screen-Shot-2557-11-05-at-10.38.36-AM

การทำห้องน้ำ

ต้องกันความชี้นให้ดีโดยการติดกระเบื้องผนัง เพื่อกันการเซาะกร่อนของดินเวลาโดนน้ำ

Screen-Shot-2557-11-05-at-10.37.58-AM Screen-Shot-2557-11-05-at-10.37.23-AM

ด้านนอกที่เตรียมฉาบให้ผิวเรียบ

1526444_506597352790334_1136508329_n

Screen-Shot-2557-11-05-at-10.37.31-AM Screen-Shot-2557-11-05-at-10.36.30-AM