พระบรมธาตุวชิรธรรมโมลี

พระบรมธาตุวชิรธรรมโมลี

พระบรมธาตุวชิรธรรมโมลี


พุทธสถานในแปลงพุทธอารยเกษตร กำลังออกแบบโดยกรมโยธาธิการ และผังเมือง ที่จะผสมผสานศิลปะทางอิสานกับพระพุทธศาสนา และพลังงาน กับการเกษตร เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาชุมชนแบบองค์รวมโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในทุกระดับ และทุกมิติ

พุทธสถานก็เป็นการออกแบบเพื่อหาจุดเชื่อมโยง 3 สถาบันหลักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีพุทธสถานอารยเกษตรคอยขับเคลื่อนความเจริญบนพื้นฐานของปรัชญาพอเพียง มีความรู้คู่คุณธรรม จึงเอาศาสนสถานที่สำคัญ คือพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้าให้ประชาชนได้สักการะบูชา ระลึกนึกถึงพระปัญาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ พระกรุณาธิคุณ ที่มีต่อหมู่สัตว์โลกทั้งหลายที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ

พระพุทธวชิรโมลี (พระพุทธโพชฌงค์) พระประธานหน้าตักขนาด 30 นิ้ว แกะจากหินสะเก็ดดาว ปางนาคปรก 7 เศียร เป็นสื่อไปถึง โพชฌงค์ 7 ประการ ที่นิยมสวดให้คนเจ็บไข้ได้ป่วย คนไม่สบายก็หายได้เหมือนเมื่อครั้งพุทธกาลที่พระอรหันต์สาวกท่านอาพาธพระบรมศาสดาให้สวดบทนี้อาการอาพาธท่านก็หายจากการพิจารณาธรรมอันแยบคาย คนไทยจึงนิยมสวดต่อชะตาอายุให้กับผู้ป่วย และอีกอันคือสัปปุริสธรรม 7 คือธรรมเพื่อการพัฒนาไปสู่อารยะ

บูรพาจารย์พระอริยสงฆ์ยุคกึ่งพุทธกาล มีหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นบูรพาจารย์แห่งเมืองอุบล หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่ศรี มหาวีโร ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ และครูบาอาจารย์ รวม 8 องค์อยู่รายรอบเจดีย์

พุทธประวัติที่สำคัญ ๆ หรือพระอัครสาวกอื่น ๆ ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ศึกษาเป็นเครื่องเตือนสติในการประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อยกระดับจิตใจของคนให้ห่างไกลจากกิเลสน้อยใหญ่ด้วยธรรมะภาคปฏิบัติคือทำมากกว่าพูดจึงเป็นธรรมะ แต่ที่พูดมากกว่าธรรมหลวงปู่แหวนว่าธรรมเมา

การออกแบบก็จะมีคอนเซ็ปท์ให้สอดรับกับแปลงโคก หนอง นา อารยเกษตร เพราะเป็นพื้นที่ให้ปัญญา ให้ความรู้คุณธรรม เป็นแนวทางแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีปัจจัยพื้นฐานหลักคือปัจจัย 4 หรือยุคนี้จะรวมมาเป็นความมั่นคงของโคกคือ น้ำ พลังงาน อาหาร ซึ่งจะรวมไว้ที่นี่

ท่านสามารร่วมทำบุญบริจาคได้ที่

“วัดป่าศรีแสงธรรม” ธ.กรุงไทย สาขาโขงเจียม 338 041 8374

Agriculturalization

Agriculturalization
The area roughly about 34 rais (13.4 acres) in Wat pasisaengtham is continuously to develop according to the project called land development follows the principle of new agriculture theory: Khok Nong Na Model. The idea is to transform the empty unuse land to create a model of lifelong learning center regarding agriculture under the purpose of life and community development. Hence, the idea also applies the principle of religion as well as the concept of Bio Circular Green economy policy (government’s latest economy policy) in order to uplift the grassroot economic which altogether its aim to derive the sustainability. Today, the daily food resources that is serving 200+ students together with teachers in Wat pasisaengtham school come from the project. The surplus products also give out to temple nearby and people in need.

In the future, this 34 rais of land will include the “Dharma Garden”, which set up to be a meditation place for people who visit, and for monk, this garden is a proper place for practice.
“Property only with us until the last breath, however, the development in property especially in the religion property, will lives forever and will distribute for others”. This devoted will count as a meritorious deed that will support others, community, religion and country and it will be witnesses generation through generation.

Today, this project of agriculturalization will once again, boosted its progress right after the end of Buddhist Lent period. There will be experts such as Associate Professor Worrawan Rojjanapaiboon, Professor assistant Phichet Sowitthayakul altogether with the team from King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang and the team of engineers from Khon Kaen University, that will join hands together to design and develop the area for better use. Moreover, there will be a kick off of a newly project called “Smart Intensive Farming” as well.
Thank you
Phra Panyawachiramoli Susen, Wat pasisaengtham

อารยเกษตร
โครงการพัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ : โคก หนอง นา วัดป่าศรีแสงธรรม บนเนื้อที่ 34 ไร่ เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยวัดป่าศรีแสงธรรมได้ดำเนินการพัฒนาวัด พัฒนาคน พัฒนาชุมชน ตามหลัก “บวร” คือบ้าน วัด โรงเรียนและราชการ เป็นแนวทางการพัฒนาคนในทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ให้ความรู้คู่คุณธรรมกับนักเรียน ให้ความรู้คู่คุณธรรมนำสู่สัมมาชีพให้กับคนในชุมชน และเป็นโมเดลต้นแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สอดรับกับนโยบาย BCG Economy เป็นเกษตรอินทรีย์วิถีธรรม ในแปลงพระราชทานโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง (วัดป่าศรีแสงธรรม) 20 ไร่ และ 15 ไร่ รวมเป็น 35 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน เป็นแหล่งอาหารให้กับครูและนักเรียน 200 กว่าคนในแต่ละวันในโรงเรียนศรีแสงธรรม และเผื่อแผ่ไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ เพื่อให้ความอนุเคราะห์เกื้อกูลญาติโยมที่มาสัมผัสสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน หรือกลุ่มผู้ยากไร้ ผู้ประสบภัยต่าง ๆ

พื้นที่ 34 ไร่จะทำเป็นอุทยานธรรมะ เชิงเกษตรพอเพียง ปลูกป่าปลูกผักระยะเริ่มต้น ควบคู่กับสถานปฏิบัติธรรมที่สงบสงัดวิเวก เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม
การแสวงหาทรัพย์สมบัติมากมายแค่ไหนก็อยู่กับเราได้แค่วันตาย ไม่รู้จะเปลี่ยนไปหาใครบ้าง แต่การพัฒนาที่ดิน และซื้อถวายวัดเป็นสมบัติติดตัวเราไปทุกภพทุกชาติ ไม่ได้เปลี่ยนมือไปไหน ยังอยู่คู่กับพระศาสนา และอยู่คู่ประเทศไทยสืบต่อไป เมื่อเราให้ทั้งคุณธรรมทั่งความรู้ย่อมเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ในการสร้างอุทยานธรรมะ เพราะผู้มีปัญญา ย่อมหาทรัพย์ได้ การให้ธรรมะ(วิชา) ชนะการให้ทั่งปวง

โครงการพัฒนาที่ดินแปลงวัดป่าศรีแสงธรรม 34 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมโคก หนอง นา อารยเกษตร วัดป่าศรีแสงธรรม บ.ดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี จะดำเนินการขุดในช่วงออกพรรษา หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล และทีมงานจาก สจล. และวิศวกรจิตอาสา มข. ช่วยออกแบบพื้นที่ ให้โคกอีโด่ยวัลเล่ย์ เป็น Smart Intensive farming
ขออนุโมทนาขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

Smart Intensive Farming Sisaengtham

ห้องติวเตอร์ออนไลน์

 

ติวเตอร์ออนไลน์

128682

โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียนในปีุการศึกษา2561 อีกโครงการคือ ห้องเรียนติวเตอร์ออนไลน์ วัตถุประสงค์เพื่อจะให้นักเรียนได้มีแหล่งศึกษาความรู้เพิ่มเติมนอกเวลาเรียนได้รับการออกอาคารติวเตอร์ออนไลน์โดย ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

34700783_1786415838141806_8275601320178614272_o

งบประมาณโครงการ 830,000 บาท ทางโรงเรียนได้เบิดรับบริจาคเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธา มีความประสงค์จะสนับสนุนการศึกษาได้มีส่วนร่วม ทั้งนี้บริษัทซีพีแอนด์เคจำกัด ได้บริจาคให้ 830,000 บาท จึงขออนุโมทนาขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

34266655_1781346085315448_938487080441348096_o

ทางโรงเรียนเปิดให้บริการทุกวันไม่เว้นแม้ช่วงปิดเทอม เพื่อให้นักเรียนได้ยกระดับการศึกษาหรื่อเพิ่มพูนทักษะความรู้ทางวิชาการที่ยากขึ้นกว่าการเรียนการสอนในห้องเรียน ฝึกทำโจทย์ ทำข้อสอบสำหรับนักเรียนที่จะเตรียมตัวไปสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย และเสริมการเรียนการสอนที่ครูสอนรวม แต่ถ้าแยกย่อยออกมาก็ให้มาเรียนได้ตามใจชอบ

42721213_1959641767485878_6343115737787269120_n

นอกจากจะเป็นห้องติวเตอร์แล้ว วันศุกร์ หรือทำงานปกติก็จะเปิดเป็นห้องรับแขก ห้องแสดงผลงาน ห้องศึกษาดูงาน รวมไปถึงห้องอบรมการสร้างหุ่นยนต์ของนักเรียนที่ต้องการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ แต่ละสัปดาห์จะมีแขกมาเยี่ยมเยือนอยู่เป็นประจำมิได้ขาด

 

หรือบางวิชาครูก็มักจะพานักเรียนมาทำกิจกรรมที่อาคารนี้ เพราะโล่ง โปร่งสบายดี เหมาะกับการทำกิจกรรมหรือทำงานกลุ่ม

44416519_1989062401210481_3348392835089956864_n

 

37050821_1842412142542175_6413065718358605824_o

โครงการก็คือจัดหาสื่อติวเตอร์ออนไลน์ที่เป็นเนื้อหาบทเรียน และตัวอย่างข้อสอบต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้ทดสอบ ฝึกทำ เมื่อมีปัญหาก็มีครูแต่ละวิชาเป็นพี่เลี้ยง อาคารได้สร้างเสร็จเรียบร้อย ยังขาดคอมพิวเตอร์ที่เป็นอุปกรณ์หลักในเรียนเรียนการสอน 9 ชุดๆ ละ 21,000 บาท หากท่านใดทีความประสงค์จะร่วมบริจาคเพื่อปัจจุบันนี้(1ก.พ.62) มีผู้บริจาคแล้ว 4 เครื่อง หากท่านใดต้องการสนับสนุนการศึกษาของโรงเรียนขอเชิญร่วมบริจาคได้ที่
บัญชี “โรงเรียนศรีแสงธรรม” ธ.กรุงไทย สาขา เทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร เลขที่บัญชี 862-0-064355 หรือ
บัญชี “กองทุนการศึกษาวัดป่าศรีแสงธรรม” ธ.กรุงเทพ สาขาย่อยเทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร เลขที่ 786 006 3333 

ทั้งนี้ท่านยังสามารถนำใบเสร็จรับเงินไปลดหย่อนภาษีที่กรมสรรพากร ได้ 2 เท่าของเงินบริจาค (http://www.rd.go.th/publish/28653.0.html)
หากท่านบริจาคแล้วสามารถส่งหลักฐานการโอนได้ที่ sisaengtham@hotmail.com
หรือติดต่อ พระครูวิมลปัญญาคุณ 08 6233 1345
7 มิถุนายน 2561

โซล่าร์เซลล์ 1

IMG_9874

โซล่าร์เซลล์

Solar cell
เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) เป็นสิ่งประดิษฐ์กรรมทางอิเลคทรอนิกส์ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นอุปกรณ์สำหรับเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยการนำสารกึ่งตัวนำ เช่น ซิลิกอน ซึ่งมีราคาถูกที่สุดและมีมากที่สุดบนพื้นโลกมาผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อผลิตให้เป็นแผ่นบางบริสุทธิ์ และทันทีที่แสงตกกระทบบนแผ่นเซลล์ รังสีของแสงที่มีอนุภาคของพลังงานประกอบที่เรียกว่า โฟตอน (Proton) จะถ่ายเทพลังงานให้กับอิเล็กตรอน (Electron) ในสารกึ่งตัวนำจนมีพลังงานมากพอที่จะกระโดดออกมาจากแรงดึงดูดของอะตอม (atom) และเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ ดังนั้นเมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ครบวงจรจะทำให้เกิดไฟฟ้ากระแสตรงขึ้น เมื่อพิจารณาลักษณะการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์พบว่า เซลล์แสงอาทิตย์จะมีประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งสอดคล้องและเหมาะสมในการนำเซลล์แสงอาทิตย์มาใช้ผลิตไฟฟ้า เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน

14976923_1164275340355862_158532119702799187_o

โรงเรียนโซล่าร์เซลล์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

การผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์มีจุดเด่นที่สำคัญ แตกต่างจากวิธีอื่นหลายประการ ดังต่อไปนี้

    1. ไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวในขณะใช้งาน จึงทำให้ไม่มีมลภาวะทางเสียง
    2. ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเป็นพิษจากขบวนการผลิตไฟฟ้า
    3. มีการบำรุงรักษาน้อยมากและใช้งานแบบอัตโนมัติได้ง่าย
    4. ประสิทธิภาพคงที่ไม่ขึ้นกับขนาด
    5. สามารถผลิตเป็นแผงขนาดต่างๆ ได้ง่าย ทำให้สามารถผลิตได้ปริมาณมาก
    6. ผลิตไฟฟ้าได้แม้มีแสงแดดอ่อนหรือมีเมฆ
    7. เป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ได้มาฟรีและมีไม่สิ้นสุด
    8. ผลิตไฟฟ้าได้ทุกมุมโลกแม้บนเกาะเล็กๆ กลางทะเล บนยอดเขาสูง และในอวกาศ
    9. ได้พลังงานไฟฟ้าโดยตรงซึ่งเป็นพลังงานที่นำมาใช้ได้สะดวกที่สุด

      ดังนั้น ไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์จึงเป็นความหวังของคนทั่วโลก ในศตวรรษที่ 21

อบรมโซล่าร์เซลล์รุ่น 7

14883661_1155249827925080_7353904278266984254_o

ระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ไฮบริด 5 kw

ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการประยุกต์ใช้โซล่าร์เซลล์เบื้องต้น รุ่น 7

วันที่ 3-4 ธันวาคม 2559

กำหนดการดังนี้

วันที่  3 ธันวาคม เวลา 09.00 -17.00 น.

วันที่ 4 ธันวาคม เวลา 09.00-12.00 น.
ณ โรงเรียนศรีแสงธรรม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี รับจำนวน 30 คน  ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท/คน

13880133_1080505018732895_2439168283394574798_n

อบรมโซล่าร์เซลล์รุ่น 7

หลักสูตรการอบรม

1.ระบบอ๊อฟกริด หรือ stand alone

โดยมีรถเข็นไฟฟ้าชุดนอนนา ที่พัฒนาต่อมาเรื่อย ๆ จนถึงรุ่นปัจจุบันที่มีความสามารถสูบน้ำ ขนาด 1.5 hp ได้ สบาย เปิดทีวี พัดลม โน๊ตบุ๊ค แสงสว่าง ในที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าใช้ได้ สอนประกอบ ซ่อมเองได้ หรือจะให้ทางทีมงานช่างขอข้าวเตรียมชุดประกอบไว้ หรือแยกชิ้นไม่เอารถเข็นก็ได้ โดยใช้แผ่น 300 W. เกรดเอรับประกัน 25 ปี อินเวอร์เตอร์เพียวซายน์ 2,000 w แบตเตอรีเจล 100 A/H

11540847_853946684722064_4578178525989900234_n

รถเข็นไฟฟ้าชุดนอนนา

2. การติดตั้งระบบไฮบริด เทคโนโลยีก้าวข้ามระเบียบรัฐ

แนวทางการพึ่งพาตนเอง รักษาสิ่งแวดล้อม ไม่ต้องรอการสนับสนุน ไม่ต้องรอขอแก้กฏ ระเบียบ ติดตั้งใช้ได้เลย เหมาะสำหรับสถานที่ ๆ ต้องรักษาไม่ให้ไฟดับ ประปาหมู่บ้าน หรือบ้านพักอาศัยที่ชาร์จไฟในตอนกลางวันและกลับมาใช้ตอนเย็นเพื่อประหยัดค่าไฟ เป็นการใช้ร่วมกันกับไฟบ้าน เมื่อพลังงานแสงอาทิตย์หมดอินเวอร์เตอร์ไฮบริดจะอ่านไฟจากแบตมาใช้จนกว่าจะหมดก่อนแล้วตัดไปใช้ไฟการไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ หรือรอแบตเตอรี่สำรองไฟเพียงพอก็จะใช้ไฟจากแผ่นและแบตเท่านั้นโดยมีไฟจากการไฟฟ้าเป็นไฟสำรอง

14712547_1146543618795701_720831873757968022_o

เทคโนโลยีก้าวข้ามระเบียบรัฐ

3. ระบบออนกริด

เรียนรู้การติดตั้งระบบออนกริดเพื่อขายไฟให้การไฟฟ้า หรือ ติดตั้งเพื่อประหยัดเพื่อใช้เองเพื่อลดค่าไฟฟ้าเหมาะสำหรับใช้ตอนกลางวันของ หน่วยงาน/สำนักงาน  บ้านพักอาศัย ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟในเวลากลางวันเป็นหลักสามารถประหยัดค่าไฟได้ถึง 70 % หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับการใช้ไฟในช่วงเวลาใด หากไม่มีแสงแดด หรือกำลังผลิตไม่พอก็จะดึงไฟจากการไฟฟ้ามาใช้ร่วมโดยไม่สะดุด เป็นเทคโนโลยีเดียวกับโซล่ารูฟท็อปที่รัฐประกาศรับซื้อ แต่เปิดเป็นขยัก ๆ ไป ถ้าจะให้ดีทำใช้ตอนกลางวันขอขนานให้ถูกระเบียบเช่นห้างสรรพสินค้าบางแห่งติดตั้งไปจำนวนมาก (หรือบางที่ไม่ได้ทำเรื่องขอขนานไฟฟ้าที่เรียกว่าโซล่าร์กองโจรก็มี)

14715024_1146498658800197_2722898616087642458_o

โรงเรียนศรีแสงธรรม โรงเรียนแห่งโซล่าร์เซลล์

4. การแปลง UPS เก่าจากคอมพิวเตอร์มาเป็นอินเวอร์เตอร์แบบประหยัด สามารถใช้กับแผ่นหลายขนาด แล้วแต่จะเลือกใช้ รวมทั้งแบตเตอรี ขึ้นอยู่กับงบประมาณที่มี สามารถนำไปใช้กับครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงเช่นเดียวกับรถเข็นไฟฟ้าชุดนอนนาแต่อินเวอร์เตอร์เล็กกว่าเท่านั้น

IMG_6707

อินเวอร์เตอร์จาก UPS

เรียนรู้ตัวอย่างสถานที่จริง มีที่พัก อาหาร หรือต้องการไปท่องเที่ยวในอำเภอโขงเจียมที่มีน้ำตก ภูเขา ผาแต้ม แม่น้ำสองสี สถานที่สำคัญครูบาอาจารย์

*****หากมีอุปกรณ์สามารถนำมาจากบ้านก็ได้ถ้าสเปคใกล้เคียงกัน********

นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงชุดนอนนา

 

“”””””””””””””””””””เรียนรู้ง่าย ทำได้ ใช้เป็น”””””””””””””
ผู้สนใจสมัครเข้าฝึกอบรม ต้องจ่ายค่าสมัคร และค่าอุปกรณ์ที่สั่งจอง ก่อนเข้าอบรมก่อน วันที่ 25 พ.ย.59 เพื่อทางโรงเรียนจะสั่งอุปกรณ์ได้ทันทั้งนี้ทางโรงเรียนไ้ด้จัดหาแผ่นโซล่าร์เซลล์เกรดเอระดับโลกไว้สำหรับผู้เข้าอบรมได้ใช้ของดีราคาถูก ปกติแล้วราคา 8,350 – 9,000 บาท แต่ทางโรงเรียนจัดหามาไว้ให้สั่งจองกันราคาเพียง 7,000 บาทเท่านั้น เพื่อการขยายไปในชุมชนให้มากที่สุด

IMG_9874

แผ่น Suntech 300 w เกรด A ระดับโลกรับประกัน 25 ปี

ตัวอย่างการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานทดแทนของโรงเรียนศรีแสงธรรม

 

รายการคนค้นคน

แนะนำโรงเรียนคร่าว ๆ มี 4 ตอน สามารถรับชมได้

สนใจเข้าร่วมอบรม
Fb: โรงเรียน ศรีแสงธรรม
โทร 086 233 1345, 0804895970
โอนเงินค่าลงทะเบียนและค่าอุปกรณ์ ที่บัญชี
“น.ส.ณัฐวดี เฉลิมศรี 786-0-15332-4 ธ.กรุงเทพ สาขาเทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร

หากโอนเสร็จกรุณาส่งหลักฐานการโอนเงิน ที่ sisaengtham@hotmail.com เพื่อยืนยันการลงทะเบียน และสั่งอุปกรณ์ หรือแจ้งทาง https://www.facebook.com/sisaengtham.ac.th

ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว https://www.facebook.com/events/1788419191400358/

 

 

 

 

 

 

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับโรงเรียนศรีแสงธรรม

คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อธิบการบดีม.อุบลและคณะ

โครงการความร่วมมือพัฒนาวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับโรงเรียนศรีแสงธรรม โดยรศ.ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข อธิการบดี และคณบดี ตัวแทนคณะต่างๆ มาร่วมบันทักข้อตกลงความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพวิชาการ ซึ่งเป็นโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัยโดยมีโรงเรียนศรีแสงธรรมนำร่อง

อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อธิการบดี และ รองอธิการบดี ม.อุบล

และจะขยายออกไปอีกสองโรงเรียนในปีถัดไปซึ่งนักเรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อรองรับการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา พร้อมทั้งมีโควต้า ทุน สนับสนุนนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้มีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น

คณะวิทยาศาสตร์

ตัวแทนคณบดีของแต่ละคณะมาร่วมกำหนดแนวทาง

 

สู้ภัยแล้ง ลดโลกร้อน

ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์“กริดกู สู้ภัยแล้ง ลดโลกร้อน”

“กริดกู สู้ภัยแล้ง ลดโลกร้อน”
ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ชุดทดลองใช้ซัฟเมิส ขนาด 1.5 แรง ที่มีอัตราการไหลของน้ำ 70 ลิตร/นาที ที่ระดับความสูง 60 เมตร หรือสามารถสูบน้ำได้ 21,000 ลิตร/วัน

12313800_926562080793857_7486666032275278621_n

ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ สูบน้ำลึก 40 เมตร

เหมาะสำหรับเกษตรกรที่อยู่ห่างไกลไฟฟ้าเข้าไม่ถึงเพราะการลงทุนขยายสายไฟฟ้าเข้าไปในพื้นที่อาจจะใช้ทุนสูงและต้องเสียค่าไฟฟ้าต่อไป หรือมีบางที่มีเครื่องที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมาขับเครื่องสูบน้ำมีค่าใช้จ่ายถึงวันละ 200 บาท/วัน ตลอด7เดือนนอกฤดูฝน
และระบบประปาหมู่บ้านที่สูบน้ำในเวลากลางวันเก็บไว้บนถังแล้วนำมาจ่ายให้กับชาวบ้านซึ่งมีค่าบริการหน่วยละห้าบาท จากการสอบถามพบว่าบางหมู่บ้านใช้ค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำขึ้นถังเดืนละ 5,000 บาท เก็บเงินค่าบริการได้เดือนละ 8,000 บาท ยังมีเหลือเก็บไว้เป็นค่าบริหารจัดการในชุมชนของตนเอง

ทดสอบซัพเมิส

โรงเรียนศรีแสงธรรมทดสอบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

จากค่าใช้จ่ายเบื้องต้นหากลดค่าไฟฟ้าลงในภาคเกษตรก็จะทำให้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น หรือในประปาหมู่บ้านที่มีค่าบริการน้ำด้วยทำให้ระยะเวลาคุ้มทุนได้เร็วขึ้น การลงทุนระบบสูบน้ำนี้ตามที่ได้สอบถามช่างที่รับเหมาติดตั้งพบว่ามีราคาตั้งแต่ 130,000 – 170,000 บาท หากรับงานราชการหรือบริษัทรับตั้งแต่ราคา 190,000 – 250,000 บาท

12313951_926562104127188_5105236114220788610_n

ช่างขอข้าวจาก โรงเรียนศรีแสงธรรม กำลังติดตั้งถวายวัด

นอกจากนี้ยังมีเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ที่ช่างนำมาติดตั้งได้คุณภาพ หรือประสิทธิภาพอย่างไร รวมถึงบริการหลังการติดตั้งเป็นปัจจัยที่ผู้ติดตั้งต้องพิจารณาให้รอบคอบเพราะสื่อโฆษณาต่างๆมักจะบอกข้อดีที่สุดส่วนข้อด้อยเราต้องหาเอง การแสวงหาความรู้ หาข้อมูลเบื้องต้นก่อนจะทำให้ได้ของดีและคุ้มค่า

 

ไฟฉายขอข้าวเพื่อโครงการอาหารกลางวัน

ไฟฉายขอข้าว เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน

ไฟฉายขอข้าว เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน

การประยุกต์ใช้โซล่าร์เซลล์ในรูปแบบต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อการสอน และนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนเพื่อโครงการอาหารกลางวันจนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

ไฟฉายขอข้าว

ไฟฉายขอข้าว

ไฟฉายขอข้าว

เป็นโครงการผลิตไฟฉายโซล่าเซลล์จำหน่ายเพื่อจัดหารายได้โครงการอาหารกลางวันที่โรงเรียนได้เลี้ยงอาหารกลางวันฟรีสำหรับนักเรียนโดยมี่รายได้ของโครงการจากการประหยัดไฟฟ้าของโรงเรียนที่ใช้โซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าใช้ แต่ปัจจุบันทางการไฟฟ้าให้ปลดโซล่าเซลล์ออกเพราะผิดระเบียบการไฟฟ้า เดิมค่าไฟเดือนละ 40 บาท จนถึ่ง สองร้อยกว่าบาท ตอนนี้ต้องมาจ่ายเดือนละ หกพันกว่าบาททำให้เงินค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนที่เคยมีต้องหายไป

นักเรียนช่วยกันทำไฟฉายเพื่อเป็นค่าอาหารกลางวัน

นักเรียนช่วยกันทำไฟฉายเพื่อเป็นค่าอาหารกลางวัน

รายได้โครงอาหารกลางวัน อีกส่วนได้จากการบริจาคข้าวเปลือกขอผู้ปกครองนักเรียนนำมาให้โรงเรียนไปขายเพื่อซื้อกับข้าวมาทำให้นักเรียน และเงินบริจาคบางส่วนจากเงินนิยภัตของพระครูวิมลปัญญาคุณที่ได้รับเดือนละ 2,300 บาท

ช่วยกันแยกอุปกรณ์ไฟฉายขอข้าว

ช่วยกันแยกอุปกรณ์ไฟฉายขอข้าว

รวมทั้งรายได้จากการขายข้าวเปลือกที่ผู้ปกครองบริจาคมาได้ปีละประมาณ สี่หมื่นบาทแต่ค่าอาหารกลางวันจะตกปีละแสนบาท ทำให้ต้องหารายได้มาเข้าโครงการด้วยการจัดทำไฟฉายที่มีต้นทุนชุดละ 700 บาท มาให้นักเรียนและครูช่วยกันประกอบในช่วงวันหยุด และจัดส่งในราคา 1,000 บาท เพื่อจะนำรายได้ทั้งหมดเข้าโครงการอาหารกลางวันจึงเป็นชื่อว่า ไฟฉายขอข้าว

ถวายไฟฉายขอข้าวพระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา

ถวายไฟฉายขอข้าวพระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา

ทั้งนี้ยังเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักพึ่งพาตนเองไม่หวังพึ่งคนอื่นด้วยการขออยู่ร่ำไป แต่ให้รู้จักนำความสามารถมาแลกเอา รู้จักประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมอยู่เสมอ เป็นการประยุกต์หลักการพึ่งพาตนเองให้เข้ากับบริบทของตนเองที่สามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต

ไฟฉายขอข้าว เป็นชุดคิทสำหรับสอนนักเรียนและผู้เข้าอบรมรถเข็นนอนนารุ่น 3 แต่สั่งมาห้าสิบชุดเกรงว่าจะเหลือจึงนำมาโพสต์แต่ได้รับความสนใจสั่งจองเป็นจำนวนมากจากคิดว่าจะจำหน่ายได้ประมาณ 50 ชุด แต่มียอดสั่งเข้ามาเพิ่มทางโรงเรียนจึงได้จัดหามาเพิ่มอีก 100 และ 50 ชุุด ในครั้งที่ 2 ก็ยังไม่พอกับผู้มีจิตศรัทธาและผู้ประสงค์จะใช้พลังงานแสงอาทิตย์
ทางโรงเรียนจึงได้สั่งมาเพิ่มเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการอีก 100 ชุด รวมเป็น 300 ชุด

11010588_851042191679180_7075524157939823789_n

คุณรสนา โตสิตระกูล ช่วยแนะนำไฟฉายขอข้าว

ด้วยเป็นชุดคิดแม้จะเปิดไฟฉายที่ทดลองเปิดจากห้าทุ่มจนสว่างก็ยังติดอยู่แต่ไฟจะหรีลง หรือการชาร์จมือถือได้ ปัญหาด้านคุณภาพแบตเตอรี่รถบังคับวิทยุอาจจะมีอายุประมาณ 1 ปี(ยังไม่แน่ใจ) หากใช้ไปนานเข้าแบตเตอรี่จะเสื่อมการศึกษาวงจรเพื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่เองก็ควรศึกษาเพื่อใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพของแผ่นที่มีอายุประมาณ 10 ปี

ดร.โอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ช่วยสนับสนุน

ดร.โอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ช่วยสนับสนุน

ยุคนี้หลักพอเพียงดีที่สุด การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานก็ไม่ชัดกับหลักพอเพียง การพอประมาณ การประหยัดและอนุรักษ์พลังงานควรเป็นค่านิยมที่จำเป็นสำหรับเราทุกคน

นายนิกร สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

นายนิกร สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

ท่านที่ประสงค์จะร่วมสนุนโครงการ ชุดละ 1,000 บาท ค่าส่งชุดล 82 บาท
สามารถสั่งจองได้ที่หน้าเฟสบุ๊ค “โรงเรียนศรีแสงธรรม”https://www.facebook.com/sisaengtham.ac.th และชำระเงินได้ที่บัญชีของครูชมรมพลังงานทดแทน บัญญชี
“น.ส.ณัฐวดี เฉลิมศรี 786-0-15332-4 ธ.กรุงเทพ สาขาเทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร

หากโอนเสร็จกรุณาส่งหลักฐานการโอนเงิน ชื่อที่อยู่เพื่อจัดส่งทาง Inbox หรือที่ sisaengtham@hotmail.com

ความรู้สู้ภัยแล้ง

โรงเรียนศรีแสงธรรมทดสอบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

โรงเรียนศรีแสงธรรมทดสอบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

รัฐบาลมีนโยบายให้กระทรวงพลังงานกับธ.ก.ส.ให้กู้ติดโซล่าเซลล์สู้ภัยแล้ง แต่ศรีแสงธรรมให้ความรู้สู้ภัยแล้ง แม้จะคนละแนวทางแต่เป้าหมายเดียวกันคือลดปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร

การเก็บกักน้ำบนผิวดินมีข้อเสียตรงที่น้ำระเหยเร็วหากเราไม่มีที่มุงบังให้ แต่ข้อดีคือมีแหล่งน้ำอยุ่แล้ว หากจะขุดสระเพื่อทำเกษตรใหม่อาจจะทำให้เสียพื้นที่ไปเยอะหากเรามีพื้นที่น้อยการหาแหล่งน้ำด้วยการเจาะบาดาลขึ้นมาใช้อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ อีกทั้งการเก็บน้ำใต้ผิวดินจะข่วยเรื่องการระเหยของน้ำได้ดีกว่า

แผ่นโซล่าร์

โซล่าเซลล์กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย การให้ความรู้เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้หรือผลิตเองเป็นสิ่งจำเป็นหากไม่มีความรู้เวลาต้องบำรุงรักษาอาจจะเป็นเรื่องยากในการหาคนมาซ่อมแซม การมีความรู้บ้างจึงเป็นเรื่องจำเป็นในระบบโซล่าเซลล์

ศูนย์เรียนรู้

ซับเมิส 3 แรง คือ เครื่องสูบน้ำลึกที่ระดับ 80 เมตร โดยใช้แผ่นโซล่าเซลล์มือสอง Suntech 280 w. จำนวน 9 แผ่น โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ สูบน้ำ 8,000-10,000 ลิตรต่อชั่วโมง หากคำนวนปริมาณดีๆ สามารถทำถึงไว้บนดินแล้วส่งเขาไปในพื้นที่เกษตรได้ตลอดทั้งปี แล้วอย่างนี้จะมีหรือภัยแล้ง

ซัพเมิสกับโมดูล
นี่ล่ะผู้เฒ่าโบราณเพิ่นว่า
“ไผว่าอิสานแล้งสิ่จูงแขนมันไปเบิ่ง น้ำบาดาลไหลโจ้นๆมันสิ่แห้งบ่อนจั่งได๋”

ชุดควบคุม