มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับโรงเรียนศรีแสงธรรม

คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อธิบการบดีม.อุบลและคณะ

โครงการความร่วมมือพัฒนาวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับโรงเรียนศรีแสงธรรม โดยรศ.ดร.นงนิตย์ ธีระวัฒนสุข อธิการบดี และคณบดี ตัวแทนคณะต่างๆ มาร่วมบันทักข้อตกลงความเข้าใจในการพัฒนาคุณภาพวิชาการ ซึ่งเป็นโครงการพิเศษของมหาวิทยาลัยโดยมีโรงเรียนศรีแสงธรรมนำร่อง

อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

อธิการบดี และ รองอธิการบดี ม.อุบล

และจะขยายออกไปอีกสองโรงเรียนในปีถัดไปซึ่งนักเรียนจะได้รับการพัฒนาทักษะต่างๆ เพื่อรองรับการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา พร้อมทั้งมีโควต้า ทุน สนับสนุนนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี นับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้มีโอกาสทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้น

คณะวิทยาศาสตร์

ตัวแทนคณบดีของแต่ละคณะมาร่วมกำหนดแนวทาง

 

พลังงานแสงอาทิตย์กับประปาหมู่บ้าน

พระครูวิมลปัญญาคุณ

พระครูวิมลปัญญาคุณ กับผู้บัญชาการมลฑลทหารบก 22 มอบโครงการประปาหมู่บ้าน

ระบบประปาหมู่บ้าน ทหาร วัด โรงเรียน
โดยทีมงานช่างขอโรงเรียนศรีแสงธรรมได้รับการติดต่อจากทางมลฑลทหารบกที่ 22 ให้ติดตั้งระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ให้กับชุมชนโดยโครงการแรกมี 2 หมู่บ้าน นักเรียนชมรมพลังงานทดแทนและศิษย์เก่าที่กำลังจะเป็นเทอมได้พากันไปติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์หมู่บ้านแรกคือบ้านโคกสะอาด อ.สว่างวีรวงศ์ เป็นระบบ stand alone หรือระบบอ๊อฟกริด โดยมีแผ่นโซล่าเซลล์แปลงไฟแล้วจ่ายเข้าเครื่องสูบน้ำทันทีไม่ต้องใช้แบตเตอรี โดยใช้แผ่นโซล่าเซลล์ Suntech 300 w. 8 แผ่น หรือ 6 แผ่น ก็สามารถใช้กับซับเมิส 1.5 แรงม้า ระดับน้ำลึกได้ถึง 200  เมตร ระบบนี้ยังสามารถรองรับไฟจากการไฟฟ้า หรือพลังงานเครื่องปั่นไฟ กังหันลมได้อีก

ประปาหมูู่บ้านพลังงานแสงอาทิตย์

ระบบประปาหมู่บ้านพลังงานแสงอาทิตย์ โดยทีมงานช่างขอข้าว

ส่วนอีกโครงการหนึ่งเป็นการทดลองใช้ระบบ Ongrid เพื่อผลิตไฟขนานเข้ากับการไฟฟ้าเพื่อใช้ในระบบประปาหมู่บ้านทั้งหมด โดยมีตู้กริดคอยควบคุมระบบผลิตและจ่ายไฟแบบอัจฉริยะ เมื่อไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ผลิตได้น้อยลงเช่นฟ้ามืด ฝนตก ระบบกริดก็จะดึงไฟจากการไฟฟ้าเข้ามาชดเชยให้เพียงพอต่อการใช้งาน หากไฟฟ้าดับตัวกริดก็จะมีระบบความปลอดภัยต่อเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานด้วยการปิดตัวเองทันทีในเวลา 0.01 วินาที

ประปาหมูู่บ้านแบบออนกริด

ระบบออนกริด กับประปาหมู่บ้าน

ซึ่งมักจะมีผู้ที่มีความรู้บ้างมาบอกว่าระบบจะจ่ายไฟไปทำอันตรายต่อเจ้าหน้าที่ซึ่งอันนี้อุปกรณ์ที่มาตรฐานแล้วจะไม่เป็นอย่างที่หลายคนพูดถึงกันอาจเป็นเพราะเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ระบบการแปลงไฟแบบซายน์เวฟทั่วไปที่ไฟดับแล้วยังผลิตไฟได้ ซึ่งเหมาะเป็นอย่างมากสำหรับหน่วยงานที่ใช้ไฟฟ้าในเวลากลางวันจำนวนมาก และต้องการประหยัดค่าไฟฟ้า

ทีมงานช่างขอข้าว

ทีมงานช่างขอข้าว

โครงการนี้เป็นตัวอย่างให้กับประชาชนที่สนใจการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในระบบประปาหมู่บ้าน หากมีการสนับสนุนการใช้พลังแสงอาทิตย์กับประปา75,000 หมู่บ้านทั่วประเทศ ขนาด 3 กิโลวัตต์ก็จะได้ไฟฟ้าเท่ากับโรงไฟฟ้าถ่านหิน 1 โรง สามารถลดการใช้ไฟฟ้าจากฟอสซิลต่างๆได้ถึงวันละ 800,000 หน่วยไฟฟ้า ช่วยลดปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซค์ได้ประมาณ 450,000 กิโลคาร์บอนต่อวัน
สู้ภัยแล้งลดโลกร้อนด้วยแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า บนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พระครูวิมลปัญญาคุณกับ มทบ22

หลังคาโรงงานคือธนาคาร

10 กิโลวัตต์

หลังคาโรงงานคือธนาคารดอกเบี้ยสูง

เปลี่ยนหลังคาโรงงานเป็นธนาคารดอกเบี้ยสูง ด้วยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ใช้ในเวลากลางวันซึ่งเป็นช่วงออนพีคที่มีค่่าไฟสูงกว่าปกติและเพิ่มขึ้นตามการใช้งานรวมค่า ft ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มอาจจะสูงกว่าราคารับซื้อโซล่าร์ฟาร์มตามโครงการโซล่าร์ฟาร์มในหน่วยงานรัฐก็เป็นได้

ติดตั้งโซล่าร์เซลล์บนหลังคาโรงงาน

ทีมงานช่างขอข้าว โรงเรียนศรีแสงธรรม

หากผลิตแล้วใช้ในโรงงานเพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าลงในแต่ละเดือนประมาณ 7 ปี ก็สามารถคืนทุนได้ แต่ระบบโซล่าร์เซลล์ยังอยู่ได้ถึง 25 ปี นั่นคือกำไรในการลงทุน แต่ถ้าเราคิดว่าจะประหยัดการใช้ไฟจากการไฟฟ้าเพื่อลดภาระการผลิตที่ต้องใช้ทรัพยากรธรรมชาติอันจำกัด และช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์อันเป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อนที่ทั่วโลกกำลังรณรงค์กัน

ทีมงานขอข้าวติดโซล่าร์เซลล์โรงงาน

ติดตั้ง 10 กิโลวัตต์ 

อีกทั้งเป็นการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อีกด้วย
การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ขนาด 10 กิโลวัตต์ โดยทีมงานนักเรียนชั้นม.ปลายของโรงเรียนศรีแสงธรรมและรุ่นพี่ที่ไปเรียนที่ม.อุบลมาช่วยงานช่วงปิดเทอม และวันหยุดเพื่อไม่ให้เสียการเรียน
นักเรียนไทยทำอะไรก็ได้เพียงแค่ให้โอกาส

ชุุดควบคุมออนกริด

ชุดควบคุมระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แบบออนกริด