พระบรมธาตุวชิรธรรมโมลี

พระบรมธาตุวชิรธรรมโมลี

พระบรมธาตุวชิรธรรมโมลี


พุทธสถานในแปลงพุทธอารยเกษตร กำลังออกแบบโดยกรมโยธาธิการ และผังเมือง ที่จะผสมผสานศิลปะทางอิสานกับพระพุทธศาสนา และพลังงาน กับการเกษตร เป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาชุมชนแบบองค์รวมโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในทุกระดับ และทุกมิติ

พุทธสถานก็เป็นการออกแบบเพื่อหาจุดเชื่อมโยง 3 สถาบันหลักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีพุทธสถานอารยเกษตรคอยขับเคลื่อนความเจริญบนพื้นฐานของปรัชญาพอเพียง มีความรู้คู่คุณธรรม จึงเอาศาสนสถานที่สำคัญ คือพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้าให้ประชาชนได้สักการะบูชา ระลึกนึกถึงพระปัญาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ พระกรุณาธิคุณ ที่มีต่อหมู่สัตว์โลกทั้งหลายที่ยังท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ

พระพุทธวชิรโมลี (พระพุทธโพชฌงค์) พระประธานหน้าตักขนาด 30 นิ้ว แกะจากหินสะเก็ดดาว ปางนาคปรก 7 เศียร เป็นสื่อไปถึง โพชฌงค์ 7 ประการ ที่นิยมสวดให้คนเจ็บไข้ได้ป่วย คนไม่สบายก็หายได้เหมือนเมื่อครั้งพุทธกาลที่พระอรหันต์สาวกท่านอาพาธพระบรมศาสดาให้สวดบทนี้อาการอาพาธท่านก็หายจากการพิจารณาธรรมอันแยบคาย คนไทยจึงนิยมสวดต่อชะตาอายุให้กับผู้ป่วย และอีกอันคือสัปปุริสธรรม 7 คือธรรมเพื่อการพัฒนาไปสู่อารยะ

บูรพาจารย์พระอริยสงฆ์ยุคกึ่งพุทธกาล มีหลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเป็นบูรพาจารย์แห่งเมืองอุบล หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่ศรี มหาวีโร ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ใหญ่ หลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ และครูบาอาจารย์ รวม 8 องค์อยู่รายรอบเจดีย์

พุทธประวัติที่สำคัญ ๆ หรือพระอัครสาวกอื่น ๆ ให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ศึกษาเป็นเครื่องเตือนสติในการประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อยกระดับจิตใจของคนให้ห่างไกลจากกิเลสน้อยใหญ่ด้วยธรรมะภาคปฏิบัติคือทำมากกว่าพูดจึงเป็นธรรมะ แต่ที่พูดมากกว่าธรรมหลวงปู่แหวนว่าธรรมเมา

การออกแบบก็จะมีคอนเซ็ปท์ให้สอดรับกับแปลงโคก หนอง นา อารยเกษตร เพราะเป็นพื้นที่ให้ปัญญา ให้ความรู้คุณธรรม เป็นแนวทางแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมอย่างยั่งยืน โดยมีปัจจัยพื้นฐานหลักคือปัจจัย 4 หรือยุคนี้จะรวมมาเป็นความมั่นคงของโคกคือ น้ำ พลังงาน อาหาร ซึ่งจะรวมไว้ที่นี่

ท่านสามารร่วมทำบุญบริจาคได้ที่

“วัดป่าศรีแสงธรรม” ธ.กรุงไทย สาขาโขงเจียม 338 041 8374

งานวิจัยเพอร์มาร์คัลเจอร์

เตรียมงานวิจัยพุทธอารยเกษตร

Smart Intensive Farming กำลังวางแผนร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่โคกอีโด่ยวัลเล่ย์แหล่งวิจัยและนวัตกรรมด้านพลังงาน และการเกษตร ซึ่งมีนวัตกรรมที่ต้องทดลอง 1) โกโก้เกษตรเพอร์มาร์คัลเจอร์แบบใช้ถ่านไปทั่วบริเวณแปลงพุทธอารยเกษตร 2)โพนผักหวานป่า ในแปลงพุทธอารยเกษตรที่เตรียมใช้นวัตกรรมการปลูกป่าแบบเพอร์มาร์คัลเจอร์ผสมผสานไปกับป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และ 3) อโวคาโด้โคกอีโด่ย

ทุกแปลงทดลองจะมีกระเจียวหวานกับ ปทุมมา เสริมตามโพนรอบต้นผักหวานป่า ให้น้ำทีเดียวได้ทั้งป่า มีไผ่เป็นแนวกันลม กับไม้ยืนต้นราดเชื้อเห็ดเป็นโครงการปลูกเห็ดเจ็ดชั่วโคตรในพื้นที่ตัวอย่างทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่โคก หนอง นา พุทธอารยเกษตร

การสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์จากชุดพญาแล้งลงหนอง มีธนาคารน้ำใต้ดินเสริมความชื้นใต้ดิน และกักน้ำไว้ใช้นอกฤดูร่วมกับ หนอง คลองไส้ไก่ กับหลุมขนมครก ระบบให้น้ำจากรากไม่รดน้ำที่โคนต้นไม้เหมือนในอดีต เพราะน้ำไหลนี และระเหยไปก่อนจะซึมถึงราก ถ้าเราจ่ายตรงให้รากไม้เลยจะตัดวงจรพ่อค้าคนกลาง ลดการสูญเสียไปได้อีก

Smart Intensive Farming ในแปลงพระราชทานโคก หนอง นา พุทธอารยเกษตร วัดป่าศรีแสงธรรม เป็นโครงการใหญ่ในพื้นที่ร้อยกว่าไร่ เพื่อทำการทดลองวิจัยสัมมาชีพให้กับชุมชนในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจครัวเรือน ภาระหนี้สินนับวันจะสูงขึ้นนับเป็นความทุกข์อย่างหนึ่ง “การกู้หนี้เป็นทุกข์ในโลก” การนำทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่่โคก หนอง นา พุทธอารยเกษตร ให้มีรายได้ในแต่ละวัน รายสัปดาห์ รายเดือน รายสามเดือน หกเดือน รายปี ห้าปี สิบปี ซึ่งต้องใช้สรรพกำลังภาคีเครือข่ายช่วยกัน

ขณะนี้กำลังระดมทุนบริจาคเพื่อจ่ายค่าที่ดิน และจะเป็นงบพัฒนาพื้นที่ตามบัญชาของท่านนายกรัฐมนตรีที่มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย มีท่านปลัดสุทธิพงษ์ จุลเจริญ และอ.โก้ อ.หน่า จาก สจล เป็นหัวแรง ออกแบบและดูแล ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ยังรับภาคีเครือข่ายในการพัฒนาพื้นที่โคกอีโด่ยแห่งนี้ให้เป็น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ พุทธอารยเกษตร ให้มั่นคง และยั่งยืนต่อไป
ขอบคุณทุกท่านที่ร่วมบริจาค สนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเขตเศรษฐกิจพอเพียง ขออนุโมทนาขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

Solar Sharing Sisaengtham

โครงการพระราชทานโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง (วัดป่าศรีแสงธรรม)

Solar Sharing Sisaengtham
“Battery Energy Storage System (BESS)”
Today, Khok E Doiy valley not just having an “Agriculture Learning Center” but it also contains an “Alternative Power Learning Lab” which currently under an examination of solar sharing for agriculture crop. This experiment will focus on growing organic crop & plant underneath solar roof.

ป้ายด้านหน้าโครงการพระราชทาน

This examination conducts the installation of a 90 kWp. of solar panel together with a 500-kWh. energy storage. The idea is to have a transparent solar panel that absorb sunlight for power and having it shine through the panel for crop to grow under it. This storage of power system called Battery Energy Storage System (BESS) is the work of 3 parties which are National Science and Technology Development Agency (NSTDA), Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) and Wat Pasisaengtham.

The purpose of this project is aim to reduce the fluctuate of electric current that derive from alternative power source and with this BESS system, it will act as a storage power room that can store a daily remaining power or use it to store power during the time of off-peak use. Hence, this power could bring to use when needed or when the conventional power system is off.

Solar sharing sisaengtham

This is an experiment of the future of electricity. It can be charge and dis-charge and it is made to work with RE100 policy which is currently a world’s clean energy trend.

In term of factory production, during peak hour, this BESS can generate power for supporting a conventional power system, and regarding this, it could help reduce expense as well.

The Solar Sharing Sisaengtham consist of 2 parts, first, a sharing of sun light between transparent solar panel and crop that grow underneath, second, the power derive will be use within the temple. in the future, when prosumer electric system is well established, there is an idea of selling these remaini ng unuse power according to it as well.

Floating solar

In case of crop growing underneath transparent solar panel, the good thing is that, this solar panel can reduce the temperature before it touches the ground, reduce a strong power of sunlight and reduce the chance of soil’s water loss. As a result, this idea can help an agriculture crop grow properly, saving up money for user and the use of clean energy is the way for creating sustainability for the world. Today, Wat Pasisaengtham together with partners will soon carry out the experiment of “Agrivotaics” or “Agrophotovoltaics” and you will hear the result of success very soon.

Thank you to:

  • National Science and Technology Development Agency (NSTDA)
  • Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT)
  • Professor Assistant Dr. Chamnan Bunyaphutthiphong who is the designer of the “Alternative Power Learning Lab” in Khok E-Doiy Valley.

For further information please contact:
Tel. 086-233-1345
Facebook, Phrakhruwimonpanyakun Nopporn Susen
Line ID, sisaengtham

ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย

Solar Sharing Sisaengthag
พร้อมระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน ( BESS)
ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีพลังงาน และการเกษตรโคกอีโด่ยวัลเล่ย์ กำลังออกแบบระบบโครงการโซล่าร์ปันแสง โดยใช้พื้นเพาะปลูกข้าว และพืชผักใต้แผ่นโซลาร์เซลล์ โดยแผ่นโซล่าร์เซลล์สามารถผลิตพลังงานไปพร้อมกับการปลูกพืชผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาดกำลังผลิตสูงสุด 90 Kwp. พร้อมกับมีระบบกักเก็บพลังงานเป็นแบตเตอรี่ 500 kwh. เพื่อสามารถรองรับการชาร์จพลังงานจากแผ่นโซลาร์เซลล์ชนิดโปร่งแสงที่จะติดตั้งในวัดป่าศรีแสงธรรมซึ่งเป็นพื้นที่พัฒนาในชื่อที่รู้จักทั่วไป “โคกอีโด่ยวัลเล่ย์” (แหล่งรวมพลคนอัจฉริยะ) เป็นการทดสอบระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่สุดล้ำเรียกว่า BESS (Battery Energy Storage System) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และวัดป่าศรีแสงธรรม

การทดลองวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดยมีการปรับสมดุลของพลังงานด้วยระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ (BESS) ที่กักเก็บสะสมพลังงานจากการผลิตไฟฟ้าของโซล่าร์เซลล์ ที่เหลือใช้ในแต่ละวัน หรือเก็บพลังงานไว้ที่แบตเตอรี่ในช่วงเวลาที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ เพื่อนำมาใช้จ่ายไฟในช่วงเวลาที่ต้องการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก หรือใช้ในช่วงที่ไฟฟ้าจากสายส่ง(Grid)ดับ ระบบแบตเตอรี่ก็จะใช้งานในรูปแบบ Stand alone
งานทดสอบระบบนี้เหมาะกับโรงงานผลิตไฟฟ้าในอนาคตที่สามารถชาร์จ และดิสชาร์จได้ รองรับนโยบาย RE100 ที่เป็นเทรนด์ของโลกพลังงานสะอาด (ส่วนตัวแล้วคิดว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่เราจะหนีไม่พ้น)

แนวคิดระบบ BESS นี้ยังสามารถนำไปตัดพีคในโรงงานหรือภาคธุรกิจ/ภาคอุตสาหกรรมในช่วงเวลาที่เกิดพีคก็ใช้ระบบนี้จ่ายเข้าไปแทนจะทำให้การคิดค่าไฟฟ้าลดลงได้ และยังลดจำนวนหน่วยไฟฟ้าลงด้วยโซลาร์เซลล์ การคิดคำนวนค่าไฟฟ้าย่อมลดลง


ถ้าติดตั้งโซล่าร์เซลล์ Maximum Load ระบบจะครอบคลุมการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดส่วนที่เกินก็ชาร์จลงในแบตเตอรี่เก็บไว้ใช้ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง (Grid) ช่วงที่คิดค่าไฟฟ้าถูกคือช่วง Off Peak มาช่วยชาร์จลงในแบตเตอรี่แล้วเอาไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาจ่ายไฟช่วงค่าไฟฟ้าแพง On Peak

โครงการปันแสงมี 2 ลักษณะคือ 1) พืชผัก แบ่งแสงกับโซลาร์เซลล์แบ่งปันพลังงานกัน และ 2) การแบ่งปันพลังงานไฟฟ้าที่เก็บในแบตเตอรี่เอามาใช้ภายในวัด และติดตั้งเครื่องแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้กับชุมชน หรือชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้ง 5 มิติ และยังมีแนวโน้มถึงการจำหน่ายไฟเมื่อเหลือใช้ ซึ่งเป็นแนวทางในอนาคตที่ระบบไฟฟ้าที่เป็น Prosumer จะมีมากขึ้น

ข้อดีอีกอย่างของการปลูกผักใต้โซล่าเซลล์ อาศัยให้แผงโซล่าช่วยกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ลดอุณหภูมิ ลดแสงแดดที่เข้มจัด และลดการเสียน้ำในพืช ส่งผลให้ผลผลิตเติบโตได้ดีขึ้น แถมยังอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เป็น BCG ศรีแสงธรรม ‘ปลูกผักใต้แผงโซล่าเซลล์’ ภายในโคก หนอง นา วัดป่าศรีแสงธรรม จะทำการทดลองปลูกพืชแบบ agrivoltaics นั้น โดยโครงการนี้เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง สวทช. กฟผ. กฟภ. และ วัดป่าศรีแสงธรรม หรือจะเรียกชื่อว่า Agrivoltaics หรือ agrophotovoltaics


ขอบคุณ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ ออกแบบอาคาร
ที่นี่จึงเป็นแหล่งทดสอบ ทดลองงานทางด้านเทคโนโลยีพลังงานกับการเกษตรอย่างยั่งยืน หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม

โคกอีโด่ยวัลเล่ย์

ศูนย์วิจัยพลังงานโคกอีโด่ยวัลเล่ย์

QuickWin #BCG #Energy #Economy #Sisaengtham

Agriculturalization

Agriculturalization
The area roughly about 34 rais (13.4 acres) in Wat pasisaengtham is continuously to develop according to the project called land development follows the principle of new agriculture theory: Khok Nong Na Model. The idea is to transform the empty unuse land to create a model of lifelong learning center regarding agriculture under the purpose of life and community development. Hence, the idea also applies the principle of religion as well as the concept of Bio Circular Green economy policy (government’s latest economy policy) in order to uplift the grassroot economic which altogether its aim to derive the sustainability. Today, the daily food resources that is serving 200+ students together with teachers in Wat pasisaengtham school come from the project. The surplus products also give out to temple nearby and people in need.

In the future, this 34 rais of land will include the “Dharma Garden”, which set up to be a meditation place for people who visit, and for monk, this garden is a proper place for practice.
“Property only with us until the last breath, however, the development in property especially in the religion property, will lives forever and will distribute for others”. This devoted will count as a meritorious deed that will support others, community, religion and country and it will be witnesses generation through generation.

Today, this project of agriculturalization will once again, boosted its progress right after the end of Buddhist Lent period. There will be experts such as Associate Professor Worrawan Rojjanapaiboon, Professor assistant Phichet Sowitthayakul altogether with the team from King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang and the team of engineers from Khon Kaen University, that will join hands together to design and develop the area for better use. Moreover, there will be a kick off of a newly project called “Smart Intensive Farming” as well.
Thank you
Phra Panyawachiramoli Susen, Wat pasisaengtham

อารยเกษตร
โครงการพัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ : โคก หนอง นา วัดป่าศรีแสงธรรม บนเนื้อที่ 34 ไร่ เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยวัดป่าศรีแสงธรรมได้ดำเนินการพัฒนาวัด พัฒนาคน พัฒนาชุมชน ตามหลัก “บวร” คือบ้าน วัด โรงเรียนและราชการ เป็นแนวทางการพัฒนาคนในทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ให้ความรู้คู่คุณธรรมกับนักเรียน ให้ความรู้คู่คุณธรรมนำสู่สัมมาชีพให้กับคนในชุมชน และเป็นโมเดลต้นแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สอดรับกับนโยบาย BCG Economy เป็นเกษตรอินทรีย์วิถีธรรม ในแปลงพระราชทานโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง (วัดป่าศรีแสงธรรม) 20 ไร่ และ 15 ไร่ รวมเป็น 35 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน เป็นแหล่งอาหารให้กับครูและนักเรียน 200 กว่าคนในแต่ละวันในโรงเรียนศรีแสงธรรม และเผื่อแผ่ไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ เพื่อให้ความอนุเคราะห์เกื้อกูลญาติโยมที่มาสัมผัสสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน หรือกลุ่มผู้ยากไร้ ผู้ประสบภัยต่าง ๆ

พื้นที่ 34 ไร่จะทำเป็นอุทยานธรรมะ เชิงเกษตรพอเพียง ปลูกป่าปลูกผักระยะเริ่มต้น ควบคู่กับสถานปฏิบัติธรรมที่สงบสงัดวิเวก เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม
การแสวงหาทรัพย์สมบัติมากมายแค่ไหนก็อยู่กับเราได้แค่วันตาย ไม่รู้จะเปลี่ยนไปหาใครบ้าง แต่การพัฒนาที่ดิน และซื้อถวายวัดเป็นสมบัติติดตัวเราไปทุกภพทุกชาติ ไม่ได้เปลี่ยนมือไปไหน ยังอยู่คู่กับพระศาสนา และอยู่คู่ประเทศไทยสืบต่อไป เมื่อเราให้ทั้งคุณธรรมทั่งความรู้ย่อมเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ในการสร้างอุทยานธรรมะ เพราะผู้มีปัญญา ย่อมหาทรัพย์ได้ การให้ธรรมะ(วิชา) ชนะการให้ทั่งปวง

โครงการพัฒนาที่ดินแปลงวัดป่าศรีแสงธรรม 34 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมโคก หนอง นา อารยเกษตร วัดป่าศรีแสงธรรม บ.ดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี จะดำเนินการขุดในช่วงออกพรรษา หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล และทีมงานจาก สจล. และวิศวกรจิตอาสา มข. ช่วยออกแบบพื้นที่ ให้โคกอีโด่ยวัลเล่ย์ เป็น Smart Intensive farming
ขออนุโมทนาขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

Smart Intensive Farming Sisaengtham

Voluntarily Donation

Solar Hospital Project for 77 Hospitals in 77 Provinces

The installment cost about 3.3 – 3.5 million. A hospital can produce about 112 Kw per installment which can save about 806,000 baht per year and about 24 million throughout 30 years of lifelong usage. of lifelong usage. So far, Wat Pasisaengtham Temple has helped install solar cells system in 9 hospitals including;

Solar Hodpital

1. Bantak Hospital, Tak Province : 137 kw, 3.4 million invested donated by hospital and clergy

2. Tawat Buri Hospital, Roiet Province: 134 kw, 3.9 million invested, donated by hospital director and locals

3. Ban Preaw Hospital Samut Sakhon Province: 110.88 kw, 3.3 million invested, donated by entrepreneur

4. Sang Khom Hospital, Nongkhai Province: 110.88 ka 3.3 million

5. Khon Jeam Hospital: 110.88 kw, 3.3 million invested, donated by Wat Pasisaengtham Temple

6. Gu Gaew Hospital, Udonthani Province: 108.12 kw, 3.2 million invested, donated by the Venerable Ajarn Chaiya Aphichayo Watpa Bankor and Wat Pasisaengtham Temple

7. Jang Han Hospital Roiet Province: 13.38 kw, 500,000 baht invested, donated by Venerable Grandfather Thongin Katapanyo

8. Salebhumi Hopital, Roiet Province: 350 kw, 10.5 million, donated by entrepreneur

9. Nan Hospital, Nan Province: 112.33 kw, 3.4 million invested, donated by entrepreneur

The voluntarily donated money was made by many different donors including the locals, local firms, local entrepreneurs, Wat Pasisaengtham Temple, hospitals, and local clergy. The d’onation is on voluntary basis where Wat Pasisaengtham Temple establishes “Chang Kor Khaw” monitoring team to oversee the donation.

For a hospital that is interested in this project; although some of the funds are from donation, additional investment fund from the hospital is also required. All the funds and donations are to be oversee by “Chang Kor Khaw” monitoring team and will be allocated to each hospital accordingly.

This project is an example of how monks and clergy can contribute to helping the public on health related issues that has become a turmoil in our society. Once a hospital can reduce some of its electricity expense, a hospital can use the additional money to provide better medical service to the people such as acquiring medical equipment or hiring more staffs.

If you would like to support us on Solar Hospital Project, you can make a donation to

“Wat Pasisaengtham Temple (Solar Hospital Project)”

KTB Bank Khongjeam Branch

Account # 338-042-5834

We will use the donated money to install solar cell in Solar Hospital Project for 77 hospitals in 77 provinces.

Should you have further question, please contact us at

Line : sisaengtham

Facebook : พระปัญญาวชิรโมลี

Phone: 0862331345

Voluntarily Donation

โครงการโซลาร์เซลล์ 77 จังหวัด 77 โรงพยาบาล กำลังผลิต 112 Kw. ประมาณโรงพยาบาลละ 3.3- 3.5 ล้าน  โรงพยาบาลสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าประมาณ 806,000 บาทต่อปี หรือประมาณ 24 ล้านบาทตลอดอายุการใช้งาน 30 ปี 

วัดป่าศรีแสงธรรมได้ดำเนินโครงการการเสร็จแล้วมีดังนี้

 1) รพ.บ้านตาก จ. ตาก ติดตั้ง 137 kw งบประมาณ 3.4 ล้านบาท โดยโรงพยาบาล และคณะสงฆ์ร่วมกันบริจาค

2) รพ.ธวัธบุรี จ.ร้อยเอ็ด ติดตั้ง 134 kw งบประมาณ 3.9 ล้านบาท โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล และะพี่น้องประชาชนในพื้นที่ร่วมกันบริจาค

3) รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ติดตั้ง 110.88  kw. งบประมาณ 3.3 ล้านบาท โดยผู้ใหญ่ใจบุญบริจาค

 4) รพ.สังคม จ.หนองคาย ติดตั้ง 110.88 งบประมาณ 3.3 ล้านบาท 

5) รพ.โขงเจียม ติดตั้ง 110.88 kw. งบประมาณ 3.3 ล้านบาท โดยวัดป่าศรีแสงธรรมบริจาค

 6) รพ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี ติดตั้ง 108.12 kw. งบประมาณ 3.2 ล้านบาท โดยพระอาจารย์ไชยา อภิชโย วัดป่าบ้านค้อ และวัดป่าศรีแสงธรรมร่วมบริจาค

 7) โรงพยาบาลจังหาร จ.ร้อยเอ็ด ติดตั้ง 13.38 kw. งบประมาณ 5 แสนบาทโดยหลวงปู่ทองอินทร์ กตปุญโญ บริจาค

 8 ) รพ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด ติดตั้ง 350 kw. งบประมาณ 10.5 ล้าน โดยผู้ใหญ่ใจบุญ

9 ) รพ. น่าน จ. น่าน ติดตั้ง 112.33 kw. งบประมาณ 3.4 ล้าน โดยผู้ใหญ่ใจดีเป็นเจ้าภาพบริจาค

งบประมาณที่ได้มาจาก

  • ผู้ใหญ่ใจบุญมีความประสงค์จะช่วยโรงพยาบาลนั้น ๆ เป็นการเฉพาะได้เป็นเจ้าภาพบริจาคเองทั้งหมดให้ทีมงาน “ช่างขอข้าว” โรงเรียนศรีแสงธรรมดูแลระบบทั้งหมด
  • ญาติธรรมที่มีความประสงค์จะสร้างบุญกุศล เสียสละบริจาคทรัพย์ส่วนตนเพื่อเพื่อนมนุษย์ที่เกิดร่วมกันมาในโลกนี้ด้วยกันโดยมีวัดป่าศรีแสงธรรมเป็นศูนย์กลาง
  • โรงพยาบาลได้ร่วมกับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และพระสงฆ์ในพื้นที่ระดมทุนกันเบื้องต้น ร่วมกับวัดป่าศรีแสงธรรมช่วยระดมทุนบริจาค

ยังมีโรงพยาบาลอื่น ๆ กำลังเตรียมความพร้อมของตัวโรงพยาบาล เบื้องต้นต้องแจ้งให้โรงพยาบาลทราบว่าโครงการนี้มีงบประมาณจากการบริจาคของพี่น้องประชาชน ไม่ได้ให้ฟรีต้องมีงบประมาณมาช่วยสมทบเข้ากองกลางเพื่อส่งต่อให้โรงพยาบาลอื่นต่อไป

นี่เป็นบทบาทพระสงฆ์ที่เกี่ยวกับสาธารณสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปการ เสริมสร้างสิ่งจำเป็นพื้นฐานด้านสุขภาพ ที่เป็นอีกหนึ่งปัญหาความยากจนด้านสุขภาพของคน เมื่อโรงพยาบาลลดค่าใช้จ่ายลงก็มีงบประมาณไปจัดหาเครื่องมือแพทย์ และบริการอย่างอื่นทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งรวมใจพี่น้องชาวไทย แบ่งปันให้คนเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นการต่อลมหายใจให้ใคร ๆ อีกหลายคน

ท่านสามารถร่วมบริจาคได้ที่บัญชี “วัดป่าศรีแสงธรรม (โครงการโรงพยาบาล Solar Cell) ธนาคารกรุงไทย สาขา โขงเจียม หมายเลขบัญชี 338-042-5834” เพื่อนำเงินไปติดตั้งโซลาร์เซลล์ให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ 77 จังหวัด 77 โรงพยาบาล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ID Line :  sisaengtham หรือที่เฟส บุ๊ค พระปัญญาวชิรโมลี นพพร    โทร 0862331345 

#ไฟฟรีจากฟ้า

โครงการบวชปฏิบัติธรรม

โครงการอุปสมบทปฏิบัติธรรม

ยศและลาภ หาบไป ไม่ได้แน่
มีเพียงแต่ ต้นทุน บุญกุศล
ทรัพย์สมบัติ ทิ้งไว้ ให้ปวงชน
แม้ร่างตน เขาก็เอา ไปเผาไฟ

เมื่อเจ้ามา มีอะไร มาด้วยเจ้า
เจ้าจะเอา แต่สุข สนุกไฉน
เจ้ามามือเปล่า เจ้าจะ เอาอะไร
เจ้าก็ไป มือเปล่า เหมือนเจ้ามา

พระปัญญาวชิรโมลี เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม 212 ม. 5 บ.ดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี จัดโครงการอุปมบทปฏิบัติธรรมรุ่นที่ 1 เดือนมีนาคม 2565  ท่านที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรม

 1) ให้กรอกข้อมูลเบื้องต้นทางอออนไลน์

https://forms.gle/kort79a1xDrZpCy16

 2) เตรียมเอกสารใบสมัครส่งทางไปรษณีย์

ดาวน์โหลดเอกสารใบสมัคร

https://ssc.onab.go.th/th/content/category/detail/id/14/iid/6961

เอกสารที่ต้องเตรียม

1. สำเนาบัตรประชาชน

2. สำเนาทะเบียนบ้าน

3. เขียนใบสมัครขอบรรพชาอุปสมบท

4. ใบรับรองแพทย์

5. ใบรับรองจากทาง สภอ. ตำรวจ รับรองว่าไม่ติดคดีความใดๆ

วัดป่าศรีแสงธรรม โครงการบวชปฏิบัติธรรม

3) ฝึกกล่าวคำขอบรรพชาอุปสมบท

ปุ๋ยโบกาฉิ

ปุ๋ยโบกาฉิ คือ การนำเอาอินทรีย์วัตถุหลายชนิดมาผ่านขบวนการหมักด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganisms : EM)

เป็นการหมักแบบไม่เติมอากาศ หรือแบบแห้ง เมื่อนำไปใช้ในด้านการเกษตรกรรม การปลูกพืช การประมง การรักษาสิ่งแวดล้อม จึงสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มาก มีความหลากหลายและปริมาณของจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ เพราะมูลของจุลินทรีย์แต่ละชนิดจะให้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน สำหรับการผลิตปุ๋ยหมักโบกาฉิมูลสัตว์ เกษตรกรโดยทั่วไปสามารถทำเองได้โดยใช้ส่วนผสมเท่า ๆ กัน เช่นถ้าใช้เข่งก็ให้ขนาดเดียวกัน หรือใช้กระสอบตวงก็ต้องเป็นขนาดเดียวกัน

ประกอบด้วย 1) มูลสัตว์ ทุกชนิดจำนวน 1 ส่วน ประมาณ 1 เข่ง

2) แกลบดิบ 1 ส่วน หรือ 1 เข่ง

3) รำละเอียดจำนวน 1 ส่วนหรือ 1 เข่ง

4) จุลินทรีย์ EM 20 ซีซี ประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ

5) กากน้ำตาลจำนวน 20 ซีซี หรือประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ

6) น้ำสะอาด 10 ลิตร หรือ 1 ถัง

ขั้นตอนการทำ

โดยเตรียมจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล น้ำสะอาด ผสมไว้ในถังน้ำ จากนั้นนำมูลสัตว์ รำละเอียดผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ EM แล้วโดยจุ่มให้เปียกน้ำแล้วบีบพอหมาด ๆนำมาคลุกกับส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันจะได้ความชื้น 40–50% สังเกตได้ด้วยการกำแล้วไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ จากนั้นนำมาหมัก ด้วยการเอาส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน หรือถุงปุ๋ยที่อากาศถ่ายเทได้ โดยไม่ต้องกดให้แน่นใส่ประมาณ 2 ใน 3 ของกระสอบ แล้วนำเชือกฟางมัดปากกระสอบไว้ นำไปวางในที่มีฟางรองเพื่อการระบายอากาศในส่วนล่าง หรือบนรางไม้ให้อากาศผ่านได้

ทำการพลิกกลับกระสอบในวันที่ 2,3,4 ซึ่งในวันที่ 2–3 อุณหภูมิจะสูงถึง 50 0c–60 0c เมื่อเข้าวันที่ 4 และวันที่ 5 อุณหภูมิจะเย็นลงจนปกติ ตรวจดูไม่ให้อุณหภูมิเกิน 36 0c ถึงตรงนี้ปุ๋ยจะแห้งสนิทสามารถนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้การเก็บรักษา เมื่อปุ๋ยโบกาฉิมูลสัตว์แห้งสนิทควร เก็บรักษาในที่ร่ม ไม่โดนฝนและไม่โดนแดด จะสามารถเก็บรักษาไว้ใช้ประโยชน์ได้นานประมาณ 1 ปี

การนำไปใช้

การน้ำไปใช้ปุ๋ยแห้งโบกาฉินี้สามารถใช้ได้กับแปลงปลูกต้นไม้ทุกชนิด การเตรียมดินสำหรับการปลุกพืชทุกชนิด โดยโรยโบกาฉิมูลสัตว์ ประมาณ 2 กำมือ (200 กรัม) ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร พรวนให้เข้ากัน เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุมทับอีกชั้นหนึ่งแล้วรดด้วยน้ำผสม EM 10 ซีซี ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน แล้วจึงทำการปลูกผัก หรือ พืชต่างๆก่อนการเพาะปลูกพืชผักที่มีอายุเกิน 2 เดือน เช่น ฟักทอง แตงกวา ถั่วฝักยาว หรือกะหล่ำปลี จะใช้ปุ๋ยชนิดนี้รองก้นหลุมก่อนปลูกจะเป็นการดี โดยใช้ปร ะมาณ 1 กำมือ ส่วนไม้ยืนต้น ไม้ผล ควรรองก้นหลุม ด้วย เศษหญ้า ใบไม้ ฟางแห้ง และปุ๋ยโบกาฉิมูลสัตว์แห้ง ประมาณ 1–2 บุ้งกี๋

ส่วนไม้ยืนต้น สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยแห้งรอบทรงพุ่มแล้วคลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง หรือฟางแห้ง ด้านไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยชนิดนี้สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ให้ใช้โบกาฉิมูลสัตว์โรยรอบๆ ทรงพุ่ม(ระวังอย่าให้โดนใบและโคนต้นผัก) คลุมทับด้วยฟางหรือหญ้า แล้วรดต่อด้วยน้ำ EM อีกครั้ง ใช้เดือนละ 1-2 ครั้งพอสำหรับไม้ผลปละพืชยืนต้นอายุประมาณ 2 ปี ใช้โบกาฉิมูลสัตว์ โรยรอบทรงพุ่มต้นละ 1-2 กก. ต่อปี ใส่ครั้งเดียวหรือแบ่งใส่ก็ได้ จากนั้นใส่ปีละ 1 กก. หรือ จะใช้โบกาฉิฟาง มากกว่านี้ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน จากนั้นใส่ปีละ 1 กก. หรือ จะใช้โบกาฉิฟางมากกว่านี้จึ้นอยู่กับสภาพดิน ใส่จนกว่าดินจะร่วนซุย

การใช้ในนาข้าวหว่านปุ๋ยหมักจุลินทรีย์อีเอ็มลงในนาหลังการเก็บเกี่ยว(เดือน ธ.ค. � ม.ค.) อัตรา 100-200 กิโลกรัม/ไร่ หรือ ประมาณ 10 กระสอบๆละ 20 กิโลกรัม ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์อีเอ็ม 4 ปี๊บ/ไร่ แล้วไถกลถ้าไม่ได้หว่านปุ๋ยหมักจุลินทรีย์หลังเก็บเกี่ยว ให้หว่านในช่วงเดือน เม.ย. � พ.ค. ให้หว่านปุ๋ยหมักจุลินทรีย์อีเอ็ม ในอัตรา 150-250 กิโลกรัม/ไร่เดือน มิ.ย. � ก.ค. ขยายจุลินทรีย์โดยใช้น้ำ 4 ปี๊บ เติมจุลินทรีย์ ปี๊บละ 2 ช้อน และกากน้ำตาล ปี๊บละ 2 ช้อน เป็นปุ๋ยน้ำใช้ ฉีดพ่นใส่หญ้าแล้วไถกลบ

โรงเรียนเสียดายแดด

หนังสือโรงเรียนเสียดายแดด E-Book

โรงเรียนเสียดายแดดฉบับE-Book
ดาวน์โหลด

โคก หนอง นา วัดป่าศรีแสงธรรม

โคก หนอง นา วัดป่าศรีแสงธรรม โมเดล


การทำโคก หนอง นา ของวัดป่าศรีแสงธรรมให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ และช่วยเหลือชุมชน ในยุคโควิด 19 กำลังระบาดไปทั่ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนเปลี่ยนไป เกิด Disruption ขึ้นมาหลายอย่าง วัดจึงเป็นที่พึ่งพิงพื้นฐานอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านานตั้งแต่บูรพกษัตริย์ของไทยเริ่มรวบรวมอาณาเขตมาจนถึงปัจจุบันวัดยังอยู่เป็นศูนย์รวมจิตใจของสาธุชนทุกหมู่เหล่า

โครงการพระราชทานโคก หนอง นา วัดป่าศรีแสงธรรม ได้ดำเนินการต่อยอดจากการเป็นวิทยากรในฟาร์มตัวอย่างที่ศูนย์ศิลปาชีพยางน้อย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี โดยทางวัดได้แบ่งพื้นที่แปลงเกษตรอินทรีย์ที่นักเรียนทำนาเป็นประจำทุกปีมาขุดเป็นโคก หนอง นา ซึ่งได้งบประมาณการขุดจากงบพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2564 จำนวน 50,000 บาท และทางวัดสนับสนุนเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิงขุดเพิ่มเติมอีก 300,000 บาทในเนื้อที่ 20 ไร่ ดำเนินการมาตั้งแต่เดือน มีนาคม 2564 มีกิจกรรมที่นักเรียนมาช่วยพัฒนา ปลูกต้นไม้ทุกวันประมาณวันละ 50 คน

ระหว่างดำเนินการมีชาวบ้านที่อยู่รอบวัด และคนที่ได้รับผลกระทบการถูกเลิกจ้างงานช่วงโควิด 19 กลับมาจากโรงงานมาทำงานในโครงการประมาณ 23 คน ทางวัดจ้างวันละ 300 บาท นอกจากจะทำงานก่อสร้าง ทำงานเกษตรภายในวัดแล้ว ยังได้สอนการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ให้กับช่างเพื่อเดินสายไปติดตั้งตามโรงพยาบาลต่าง ๆ หรือรับจ้างตามโรงงานโดยมีศิษย์เก่าที่จบวิศวะไฟฟ้ากลับมาช่วยงานที่โรงเรียนเป็นทีมงานออกติดตั้งโซล่าร์เซลล์

ทางวัดป่าศรีแสงธรรมได้รับพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อก่อสร้างศาลาปฏิบัติธรรม ณ บริเวณ โครงการพระราชทานโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง (วัดป่าศรีแสงธรรม) โดยทีมช่างที่ทางวัดจ้างไว้ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จพร้อมจัดกิจกรรมต่างๆ ซึ่งทางวัดได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์อบรมประชาชนเกี่ยวกับโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา โมเดล ของกรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการที่จังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 11 รุ่น ๆ ละ 100 คน ระยะเวลาการอบรม 4 วัน 5 คืน

กิจกรรมการอบรมโดยคณะครูของโรงเรียนทั้งหมดเป็นวิทยากร และมีนักเรียนเป็นผู้ช่วยวิทยากร ในช่วงที่ไม่มีการอบรมที่โรงเรียนก็จัดให้มีการเรียนการสอนเป็นชุมชุมฐานการเรียนรู้ 10 ฐาน และได้บูรณาการเข้าใน 8 กลุ่มสาระวิชาเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจมากขึ้น


ล่าสุดได้ขุดแปลงโคก หนอง นา CLM พช. 15 ไร่ ภายในวัดป่าศรีแสงธรรม ได้รับการสนับสนุนจาก กรมการพัฒนาชุมชน ดำเนินการขุดโดยทหารหน่วยพัฒนาเคลื่อนที่ 51 อำนาจเจริญ ใช้เวลา 10 วัน และมีงบประมาณสนับสนุนจ้างแรงงานมาช่วยในแปลงอีก 8 คน เป็นเวลา 3 เดือน

เกิดเป็นโครงการพัฒนาแบบร่วมมือกัน “บวร” คือบ้าน วัด โรงเรียนในพื้นที่ 15 ไร่ภายในวัดป่าศรีแสงธรรม ได้ขุดบ่อน้ำจำนวน 6 บ่อ และมีบ่อน้ำเดิมของวัดอยู่กลางรวมเป็น 7 บ่อ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นหิน ขุดลงลึกไม่ได้ รอบบริเวณแต่ละบ่อมีไม้ผลเป็นหลักมีพืชผักสวนครัวระหว่างต้นไม้ผล ส่วนคลองไส้ไก่ หรือที่อยู่ในพื้นที่ร่มบางส่วนเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้าน และสมุนไพรที่จำเป็น


หนองที่ 1 โคกที่ 1
มีมะม่วงเขียวเสวย 30 ต้น และมะม่วงแก้วขมิ้น 20 ต้นเป็นไม้หลัก กล้วยน้ำหว้า และมะพร้าวน้ำหอมเป็นพืชรอง ส่วนแค มะละกอ มะเขือ พริก ขิง ข่า ตะไคร้ กำลังเสริมการปลูกให้เต็ม เมื่อหมดฤดูฝนจะมีผักปลูกระหว่างไม้หลักับไม้รองให้ทั่วบริเวณ
กิจกรรมชั่วโมงจิตอาสา จะมีนักเรียนมาช่วยในแปลงตามความเหมาะสม ผู้ดูแลหลัก เป็นชาวบ้านผู้หญิงที่ว่างงาน 6 คนมาช่วยดูแลแปลงผัก และวัวควายอีกประมาณ 18 ตัวซึ่งโยมแม่จะดูแลอีกแรง
การปรับปรุงดินจะเน้นทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร และเศษผักผลไม้ที่ทางโรงเรียนจัดทำอาหารกลางวันฟรีให้กับนักเรียนเป็นเวลา 11 ปีที่ผ่านมา จึงหาวิธีกำจัดขยะให้เป็นประโยชน์ด้วยการใช้จุลินทรีย์หมักทำเป็นปุ๋ยไปใส่ในแปลงนา

หนองที่ 2 โคกที่ 2
เป็นบ่อดักน้ำที่จะมาทางทิศตะวันตกของวัดเตรียมมะขามหวาน 60 ต้นเป็นไม้หลัก และรอบบริเวณรั้ววัดทางทิศใต้จะปลูกไผ่ยักษ์น่าน กับไผ่พื้นบ้านบังลมพายุที่จะมาหน้าฝน
มีนพต.8 คนที่ พช.จ้างมาช่วยงานวัด 3 เดือนช่วยดูแลร่วมกับคนงานผู้หญิงในวัดกับโยมแม่ช่วยกันปลูกยังไม่ทันหาไม้แซม เพราะฝนตกบ่อยทำงานยังไม่ได้

หนองที่ 3 โคกที่ 3
เป็นหนองที่ติดกับหนองที่ 2 และติดกับแปลงนาทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดซึ่งเป็นที่รับน้ำทั้งที่มาจากตะวันตก และมาจากทางทิศเหนือ หนองนี้วางแผนจะปลูกลิ้นจี่ ลำใย กระท้อน มะกรูด มะนาว จะหาที่ว่างสลับลงในแต่ละแปลง

หนองที่ 4-6 โคกที่ 4-6
เป็นแปลงที่อยู่ฝั่งตะวันออกสุดของวัด พื้นที่ด้านล่างเป็นหินไม่สามารถขุดลงลึกได้ แต่เป็นส่วนสำคัญในการรับน้ำจากแปลงพระราชทานโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง ที่อยู่ทางทิศเหนือของวัด หากน้ำเต็มจะไหลไปลงที่หลังโรงเรียน และไหลมาลงที่โซนนี้เป็นหลัก
3 หนองนี้ทดลองปลูกทุเรียนจำนวน 50 ต้นเป็นพืชหลัก มีกล้วยรอบบริเวณวัด และพริกไทย สลับไปตามต้นไม้หลัก

อาคารฐานการเรียนรู้ 9 หลัง
มีกิจกรรมการให้ความรู้ อบรมประชาชน หรือรองรับประชาชนมาพักในบริเวณแปลงทางวัดได้ออกแบบอาคารขนาด 8 x 7 เมตร ตั้งคู่กันโดยเว้นช่องห่าง 3 เมตร เป็นฐานการเรียนรู้แฝด 9 ฐานการเรียนรู้ กำลังจะดำเนินการก่อสร้างโดยชาวบ้านที่ทำงานประจำในวัดเพราะเป็นช่างฝีมือ ทำงานก่อสร้างได้ระหว่างรองานติดตั้งโซลาร์เซลล์ และยังได้ทำบ้านดินเป็นฐานการเรียนรู้จริงเพื่อเป็นที่พักรับรองอีก 1 หลังพึ่งจะเริ่มดำเนินการ


และยังมีนักเรียนเข้ามาช่วยในชั่วโมงจิตอาสาในการสร้างบ้านดินแบบกระสอบดินที่วัดได้เคยก่อสร้างมาก่อนหน้านี้
โคก หนอง นา วัดป่าศรีแสงธรรม มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาต่อยอดลงในแปลงอันเป็นผลจากการจัดการเรียนการสอนภายในห้องเรียนที่โดดเด่นในเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ และยังได้มีการใช้ระบบการควบคุมสั่งการผ่านมือถือเข้ามาช่วยเพื่อลดค่าใช้จ่ายในแปลงเช่นจ้างคนดูแลรดน้ำต้นไม้ในหน้าแล้งวันละ 300 บาท 5 คนก็เดือนละ 30,000 บาท หากวางระบบท่อ วางระบบโซลาร์เซลล์ และใช้โปรแกรมควบคุมสั่งการอัตโนมัติด้วยความชื้นในดิน หรือใช้ timer มาเปิดปิดน้ำเอง ก็จะประหยัดไปได้เยอะ เพราะการทำโคกนั้นย่อมอยู่ที่สูง ถ้าปลูกป่าแล้วต้นไม้ต้องการน้ำ เราขุดหนองก็อยู่ที่ต่ำ หากจะวางคลองไส้ไก่เข้าไปให้ความชุ่มชื้นปริมาณน้ำย่อมไม่เพียงพอ ถ้าปล่อยไว้ไม่รดน้ำต้นไม้คงเดินลงไปกินน้ำไม่ได้แน่ ไหนๆ เราก็มีความรู้อยู่แล้วเพราะเด็กสามารถต่อปั๊มน้ำเองได้ เขียนโปรแกรมเองได้ เพียงแต่เราสนับสนุนอุปกรณ์ก็ย่อมจะเป็นการต่อยอดเกษตรกรให้เป็น Smart farmer ขึ้นไปอีกขั้น
นี่เพียงตัวอย่าง ของจริงมีมากกว่านี้

การทำกสิกรรมที่ไม่พึ่งพาธรรมชาติ เพียงอย่างเดียวรู้จักกักน้ำไว้ใช้ แต่ไมทำลายธรรมชาติ เป็นกสิกรรมธรรมชาติและเทคโนโลยีรวมกันอยู่ที่นี่
โคกอีโ่ด่ยวัลเลย์