ไฟไร้สาย

%e0%b8%81%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%a1

ไฟไร้สาย

ไฟไร้สาย
เทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้านับวันจะพัฒนามากขึ้นมีการแข่งขันกันสูงและราคาก็ถูกลงทำให้การเข้าถึงได้มากขึ้นซึ่งมีอุปกรณ์สำคัญเพียงไม่กี่ชิ้นก็สามารถเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าได้แล้ว
1. เซลล์แสงอาทิตย์ผลิตไฟก็มีการปรับเปลียนเทคโนโลยีเป็น 4-5 บัสบาร์ ของเดิมที่เราใช้อยู่ 3 บัสบาร์ก็ใช่ว่าจะด้อยแต่สิ่งที่ดีคือราคาเริ่มมีการขยับถอยลงมาเพราะของใหม่ราคาใกล้เคียงกันแต่ประสิทธิภาพดีกว่าในเชิงธุรกิจหรือโซล่าร์ฟาร์มขนาดใหญ่การเพิ่มขึ้น 4-5% คิดเป็นมูลค่าสูง แต่สำหรับบ้านพักอาศัยยังไม่จำเป็นต้องเพิ่มอะไรของเดิมก็ดีอยู่แล้ว14883661_1155249827925080_7353904278266984254_o
2. อินเวอร์เตอร์หรือตัวแปลงไฟที่มีการแข่งขันกันสูงทางด้านเทคโนโลยีมีทั้งของดีจากทางอเมริกา เยอรมัน อิสราเอล ฝรั่งเศส หรือของก๊อปเกรดเอจากทางฝั่งจีน รวมทั้งของคุณภาพจากญี่ปุ่น เกาหลี ยกเว้นไทยที่คอยเสพแต่เทคโนโลยีของต่างชาติไม่มีการส่งเสริมภายในประเทศของเราเอง ดูในภาคการศึกษาของเราไม่วาระดับวิทยาลัย หรืออุดมศึกษาที่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่เรายังเป็นผู้ใช้ (ยังไม่เก่ง) เท่านั้นอย่างของที่มีก็แพงจนเกินเอื้อมถึง
2.1 จากเดิมเป็นแบบ Stand alone คือใช้แผ่นโซล่าร์เซลล์ชาร์จประจุลงในแบตเตอรี และเอาอินเวอร์เตอร์แปลงไฟจากแบตมาใช้ซึ่งเหมาะกับที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงเป็นหลัก
2.2 จากนั้นก็เพิ่มมาเป็นแบบ on grid ในโซล่าร์ฟาร์ม จนกระทั่งย่อขนาดลงมาใช้กับบ้านพักอาศัยที่ขยายไปทั่วโลก ยกเว้นในประเทศไทยที่ยังต้องรอทางกระทรวงพลังงานขยักออกมาทีละโครงการ ๆ บ่อยจนตามไม่ทันจนทำให้สงสัยว่าที่ออกโครงการบ่อย ๆ แคมเปญเยอะ ๆ เกี่ยวกับพลังงานนี่เป็นการประสบความสำเร็จมากจนผลิตโครงการออกมาแทบไม่ทัน หรือว่าเป็นความล้มเหลวจนต้องออกโครงการใหม่ ๆ มาแก้ไขของเก่า มองดูแล้วเหมือนโปรเจ็คจบนักศึกษา แต่ละโครงการก็จะเน้นไปที่โครงการขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนสูง ๆ เช่นโซล่าร์ฟาร์ม โซล่าร์ราชการ โซล่าร์สหกรณ์ ซึ่งใครจะเข้าถึงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่สำหรับชาวบ้านทั่วไปที่ขอให้เปิดเสรีคนละเล็ก คนละน้อยก็เถียงกันตาดำตาแดงวางกรอบระเบียบ ขั้นตอนยุ่งยากไปหมดแค่ค่าดำเนินการก็หมดตังค์ไปเยอะแล้ว แต่คนทำงานคือ กฟภ. และ กฟน.ไม่เกี่ยวกับกระทรวงพลังงานเลยจึงสงสัยว่าทำไมไม่ยกให้ฝ่ายที่ปฏิบัติการรับผิดชอบทั้งหมดเพื่อความสะดวกและคล่องตัวต่อการให้บริการประชาชน

2.3 และล่าสุดคือไฮบริดอินเวอร์เตอร์ที่รวมเอาสองระบบนี้เข้ากันถ้าไม่ใช้ไฟก็จะเก็บไว้ในแบตเตอรี ทำให้มีความเสถียรในระบบมากขึ้นไม่ว่าแสงจะมีหรือไม่มีคือแปลงไฟจากแผ่นมาใช้โดยตรงเหมือน on grid แต่ไม่จ่ายไฟออกไปในสายส่ง และมีแบตเตอรีเก็บพลังงานตอนไม่ได้ใช้เหมือน stand alone เรื่องสายส่งจากการไฟฟ้าจึงมีก็ได้หรือไม่มีก็ได้ก็มีไฟฟ้าใช้ตลอด แต่ถ้ามีสายส่งอยู่แล้วก็เป็นการดีนำมาใช้เป็นไฟสำรองระบบเวลามีปัญหาหรือซ่อมเครื่องก็จะมีไฟฟ้าใช้ตามปกติ

hybrid1

สมาร์ทไฮบริด

3. แบตเตอรีที่มีการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีกันสูงเช่นกันอย่างเช่น tesla ที่ออกมาทำรถไม่เติมน้ำมันจนขายดิบขายดีที่ว่าจะทำแบตเก็บไฟจากโซล่าร์เซลล์จนผลิตไม่ทันจึงขายได้ในบางประเทศยกเว้นประเทศไทยยังหาคนนำเข้ามาขายไม่ได้ไม่รู้ว่าติดตรงไหน แต่เท่าที่มีอยู่ก็เป็นแบตเจลแบบตะกั่วกรดที่ยังพอใช้ได้ ส่วนแบตลิเธี่ยมไอออนก็มีบ้างแล้วแต่ยังราคาสูงอยู่ ที่น่าเสียดายคือเราน่าจะพัฒนาเทคโนโลยีเหล่านี้ให้ภาคการศึกษาวิจัยได้มาเป็นเจ้าของเทคโนโลยีบ้างเผื่อจะได้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายแล้วไปเพิ่มรายได้อย่างอื่น
%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%95%e0%b9%80%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%874

แบตเตอรีแห้ง

มื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาพร้อมกระแสความเปลี่ยนแปลงย่อมเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้แต่เราจะปรับตัวอย่างไรเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นมันคือ “ภูมิคุมกัน” ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกินพอเพียง ยกตัวอย่างการผลิตไฟฟ้าใช้แบบไม่พึ่งพาไฟฟ้าจากสายส่งมากนักในวันนี้ แต่วันข้างหน้าอาจจะพึ่งพาน้อยลงจนเหมือนโทรศัพท์สาธารณะกับโทรศัพท์มือถือก็เป็นได้ หากเจียดเศษเงินที่จะสร้างสถานีเก็บ LNG ลอยน้ำ หรือเศษส่วนกำไรการนำเข้า LNG มาสร้างความเข้มแข็งภายในบ้างน่าจะเป็นที่อนุโมทนาสาธุจากชาวบ้านตาดำ ๆ
ฝันในวันเด็ก
14 ม.ค.60

โซล่าร์เซลล์อย่างง่าย

off-grid

ระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์อ๊อฟกริดขนาดกำลังผลิต 300 วัตต์ แบบ Stand Alone สำหรับบ้านเรือนขนาดเล็กในพื้นที่ห่างไกลไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงหรือพื้นที่ภัยพิบัติน้ำท่วมสิ่งที่ตามมาคือไฟฟ้าจากสายส่งถูกตัดย่อมเกิดความเดือดร้อนไปทั่ว หากมีไฟฟ้ายังสามารถชาร์จมือถือ หรือเปิดไฟส่องสว่างในเวลากลางคืน รวมทั้งถ้าขยายใหญ่ยังหุงข้าวได้ แม้กระทั่งตามวัดในเขาในป่า ชาวนาชาวสวนที่อยู่ตามภาคต่าง ๆ ที่สายส่งเข้าไม่ถึงหากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าก็นำมาประยุกต์ให้เข้ากับชีวิตประจำวันได้ การติดตั้งง่าย ๆ มีอุปกรณ์เพียง 4 อย่างเท่านั้นในการผลิตไฟฟ้าใช้ในยามทีจำเป็นสำหรับชุดเฉพาะกิจ อ๊อฟกริด 300 วัตต์นี้โดยหลักๆก็จะมี

sst

แผ่นโซล่าร์เซลล์

1. แผ่นโซล่าร์เซลล์ขนาด 150 วัตต์ ทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าประมาณ 540 วัตต์/วัน ราคาประมาณ 5,000 บาท ราคาแผ่นโซล่าร์เซลล์นี้แล้วแต่ยี่ห้อ อายุการใช้งาน การรับประกัน หรือประสิทธิภาพของการผลิตไฟฟ้า

%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a5

คอนโทรลชาร์จ

2. คอนโทรลชาร์จที่คอยควบคุมแรงดันและกระแสในการชาร์จไม่ให้สูงหรือต่ำไปราคาประมาณตัวละ 500 บาท ซึ่งคอนโทรลชาร์จก็มีหลายประเภทมีข้อดีต่างกัน และราคาต่างกัน หากจะเลือกคุณภาพราคาก็ค่อยข้างสูง หากต้องการราคาที่ต่ำคุณภาพก็ลดลงเช่นกัน จึงควรเลือกให้เหมาะสมการการใช้งานของตนเองเป็นหลัก

%e0%b9%81%e0%b8%9a%e0%b8%95

แบตเตอรีแบบเจลสำหรับโซล่าร์เซลล์


3. แบตเตอรีแบบแห้งเพื่อเก็บประจุไฟฟ้าจากแผ่นโซล่าร์เซลล์ 100 แอมป์ราคาประมาณ 5,500 บาท หรือมากกว่านี้ตาม ซึ่งแบตเตอรีก็มีหลายประเภทแต่ที่นิยมกันคือแบตเตอรีแบบน้ำเพราะราคาถูกแต่อายุการใช้งานเมื่อประมาณ 1.5 ปี แต่แบตเตอรีแห้งอายุการใช้งาน 6 ปีขึ้นไป 

inv300w

อินเวอร์เตอร์ 300 วัตต์


4.อินเวอร์เตอร์ 300 วัตต์เพื่อแปลงไฟกระแสตรงเป็นกระแสสลับเพื่อจ่ายไฟให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ไม่เกิน 300 วัตต์เช่นทีวี 100 วัตต์ พัดลม 50 วัตต์ หลอดไฟ 30 วัตต์ 2 ดวงก็จะเป็น 60 วัตต์ เปิดพร้อมกันก็จะกินไฟ 210 วัตต์แต่ถ้าเปิดทีวีเพิ่มอีก 1 เครื่องก็จะไม่สามารถเปิดได้เพราะรวมกันแล้วเป็น 310 วัตต์ แต่อินเวอร์เตอร์จ่ายได้เพียง 300 วัตต์ชั่วโมง ถ้ามีงบประมาณก็สามารถเพิ่มอินเวอร์เตอร์เป็นขนาด 500 วัตต์ หรือ 1,000 วัตต์เป็นต้น ซึ่งอินเวอร์เตอร์ก็มีแบบสวิทชิ่ง แบบหม้อแปลง ซึ่งมีข้อแตกต่างกันในการใช้งาน

ระบบโซล่าร์เซลล์นี้สามารถใช้งานได้อย่างหลากหลายในยามที่พลังงานที่พึ่งได้แต่ในวันที่พึ่งไม่ได้ก็ยังมีพลังงานทางเลือกที่นำมาทดแทนได้ แต่บางที่อย่างโรงเรียนศรีแสงธรรมสามารถนำมาเป็นพลังงานหลักและใช้ไฟฟ้าจากสายส่งในเวลาที่จำเป็น