รถเข็นไฟฟ้าชุดนอนนา

นายกรัฐมนตรีชมพระครูวิมลปัญญาคุณผ่านรายการคืนความสุขให้ประชาชน

นายกรัฐมนตรีชมพระครูวิมลปัญญาคุณผ่านรายการคืนความสุขให้ประชาชน

หลังจากที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงโรงเรียนศรีแสงธรรมได้ผลิตพลังงานไฟฟ้าใช้เองจากแผ่นโซล่าเซลล์ 100% ตามแนวทางการพึ่งพาตนเอง สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนบนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีรถเข็นไฟฟ้าชุดนอนนาที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อเกษตรกรที่ทำไร่ ทำนา แต่ขาดไฟฟ้าใช้ให้สามารถนำไปสูบน้ำหรือเปิดทีวี เปิดไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ

ภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ภาพข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

การประดิษฐ์รถเข็นนอนนานี้มีแนวคิดจากการทำนาของเกษตรกรในภาคอิสานสมัยก่อน  เมื่อถึงฤดูกาลทำนาจะพากันไปนอนที่เถียงนาจนกว่าจะเสร็จหน้านาถึงกลับขึ้นมาบ้าน เพราะตอนเช้ามืดตื่นแต่เช้าก็สามารถลงไถนาได้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง หรือตอนเย็นแดดอ่อนๆก็กำลังทำงานได้ดีกว่าจะมืดก็ทำงานได้เยอะ แต่ปัญหาคือไม่มีไฟฟ้าใช้เวลาทำนาก็ไม่อยากกลับมาบ้านเพราะเสียเวลาเดินทาง หากจะพักที่นาหรือสวนก็ไม่มีไฟฟ้าใช้ ชุุดนอนนา จึงเป็นโมเดลให้นำไปประยุกต์ใช้

นักเรียนชมรถพลังงานทดแทนโรงเรียนศรีแสงธรรมช่วยกันประดิษฐ์รถเข็ญไฟฟ้าชุดนอนนา

นักเรียนชมรถพลังงานทดแทนโรงเรียนศรีแสงธรรมช่วยกันประดิษฐ์รถเข็ญไฟฟ้าชุดนอนนา

ชุดนอนนาของโรงเรียนศรีแสงธรรมประกอบด้วยแผ่นโซล่าเซลล์ 285 W. 36 V. 1แผ่น  ชาร์จลงแบตเตอรี่ 12 V. 2 ลูกต่ออนกรมกันให้ได้ 24 V. ผ่านคอนโทรลชาร์จ 10 A/H และใช้ Invert er 1,000 W. Pure sine Wave เพือ่จะแปลงไฟกระแสตรง ให้เป็นไฟกระแสสลับ 220 V. เพื่อจะนำไปใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นในไร่นา เช่น ปั๋มน้ำ 350 W. อัตราการไหล 80 ลิตรต่อนาที สูบขึ้นสูงได้ถึง 20 เมตร ช่วยสูบน้ำไปการเกษตร หรือตอนเย็นสามารถเปิดไฟส่องสว่าง เปิดทีวีก่อนนอน หรือ ชาร์จมือถือ ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเป็นได้

รถเข็ญไฟฟ้าชุดนอนนา

รถเข็ญไฟฟ้าชุดนอนนา

รถเข็นไฟฟ้าชุดนอนนานี้ มีรายการทีวีนำไปเผยแพร่ทำให้คนรู้จักอย่างแพร่หลาย ทางโรงเรียนได้จัดอบรมให้กับผู้ที่สนใจเป็นรุ่นๆไป หากมีจำนวนมากก็จะอบรมไปตามความต้องการเพื่อให้เกิดการใช้อย่างแพร่หลายเพื่อประโยชน์แก่เกษตรกร ผู้ที่สนใจ อันจะส่งผลไปยังเศรษฐกิจระดับครัวเรือนจนถึงระดับประเทศชาติ รวมถึงช่วยลดภาวะโลกร้อนจากการใช้พลังงานที่ผลิตจากฟอสซิลด้วย

ผลงานของโรงเรียนนี้จะนำไปสู่โรงเรียนพลังงานต้นแบบที่ท่านนายกได้พูดถึงด้วย โดยมีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในทุกๆด้านและทกมิติของโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันเกิดการตื่นรู้ในภาคประชาชนในการเลือกใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เริ่มจากไฟฟ้าพื้นฐานที่ทำง่ายๆแต่ใช้งานได้จริงเช่นชุดนอนนา ซึ่งทางโรงเรียนได้เปิดคอร์สอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับผู้ที่สนใจจะนำไปใช้ หรือนำไปเผยแพร่ต่อไปในรุ่นที่ 3 ในวันที่ 18-19 ก.ค.58

การอบรมรถเข็นไฟฟ้าชุดนอนนาในแต่ละรุ่น

การอบรมรถเข็นไฟฟ้าชุดนอนนาในแต่ละรุ่น

กอรปกับสื่อมวลชน และสมาชิกแฟนเพจได้นำเสนอข้อมูลข่าวสารอยู่ตลอดเป็นการกระจายข่าวไปให้กับประชาชนที่สนใจและต้องการนำไปใช้จริงให้มีแหล่งเรียนรู้ได้ ต้องขอนุโมทนาขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

สถานีไฟฟ้าเคลื่อนที่

“โครงงานที่กรรมการไม่ตรวจ”

โครงงานโซล่าเซลล์

สถานีไฟฟ้าโซล่าเซลล์ 3,000 วัตต์เคลื่อนที่ โรงเรียนศรีแสงธรรม ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในระบบ ออนกริด หรือ On grid system เป็นการเชื่อมต่อกับสายส่งของการไฟฟ้า ซึ่งไฟฟ้าที่ได้จากแผ่นโซล่าเซลล์จะเป็นไฟฟ้ากระแสตรง หลังจากนั้นจะถูกส่งไปยังอินเวอร์เตอร์เพื่อแปลงไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้จากโซล่าเซลล์เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งจะมีรูปคลื่นสัญญาณที่เหมือนกัน ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับสายส่งของระบบจำหน่ายไฟฟ้า(Synchronize) ได้โดยไม่ต้องเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ซึ่งระบบนี้จะประหยัดค่าแบตเตอรี่และส่งผลดีระยะยาวเรื่องของขยะจากแบตเตอรี่จะน้อยลงเมื่อใช้กับแพร่หลาย
จากการที่โรงเรียนศรีแสงธรรมได้ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายโรงเรียนเองทั้งหมด 6,000 วัตต์ในระยะแรกก็เพียงพอต่อการใช้ แต่เมื่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่เสร็จและเปิดใช้ทำให้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นดังนั้นจึงต้องผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีกให้พอต่อการใช้

โซล่าเซลล์เคลื่อนที่

แนวคิดการทำสถานีไฟฟ้าเคลื่อนที่เกิดจากนักเรียนนำไปแข่งโครงงานที่สพม.29 แล้วครูที่เป็นกรรมการการแข่งขันบอกนักเรียนว่าโครงงานไม่พิสดาร และไม่ตรวจให้ยังความเสียใจให้กับนักเรียนเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการปลอบใจนักเรียนที่กรรมการไม่เห็นความสำคัญ จึงได้นำแนวคิดนี้มาทำเป็นสถานีไฟฟ้าเคลื่อนที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ศึกษาดูงานให้กับ มหาวิทยาลัย โรงเรียนต่างๆ และผู้ที่สนใจที่ติดต่อมาศึกษาดูงานกับทางโรงเรียนได้ร่วมเรียนรู้ หลักการทำงาน วิธีการเชื่อมต่อเพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับตนเอง

โรงเรียนศรีแสงธรรมผลิตไฟฟ้า

ข้อดีของการติดไฟแบบออนกริดนี้ สามารถลดค่าไฟฟ้าที่ซื้อจากระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้าได้ เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตได้จะถูกนำมาใช้ภายในอาคารที่ติดตั้งก่อน หากเหลือก็จะถูกส่งกลับไปยังสายส่งของการไฟฟ้า หากติดมิเตอร์แบบธรรมดาจะเกิดการหมุนกลับของมิเตอร์ทำให้หน่วยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานมีค่าลดลงตามการหมุนกลับของมิเตอร์นั่นเอง ซึ่งผลจากการติดตั้งโซล่าเซลล์ดังกล่าวทำให้ ลดค่าไฟฟ้าได้ หรือหากติดให้เหมาะสมกับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้งาน ก็อาจจะทำให้ใช้ไฟฟรีได้ กรณีช่วงกลางคืนที่ไม่มีพลังงานแสงอาทิตย์อุปกรณ์ไฟฟ้าก็จะใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าแทนพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเซลล์ ทำให้สามารถใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้เหมือนเดิมโดยไม่ต้องแก้ไขใดๆ นอกจากนี้ทางภาครัฐยังมีนโยบายให้สามารถขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้ โดยจะให้สัมปทานการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคา เรียกว่า โครงการ Solar roof top โดยทั้งนี้ต้องเฝ้าติดตามนโยบายและประกาศจากทางการไฟฟ้าว่าจะมีการรับซื้อเมื่อไร โดยจะต้องสมัครและยื่นเอกสาร พร้อมวิศวกรเซ็นต์รับรองเซนต์กำกับ Single Line Diagram ด้วย โดยระบบออฟกริดจะมีข้อเสียคือ กรณีที่ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าดับ ถึงแม้ว่าระบบโซลาร์เซลล์ยังจ่ายไฟปกติก็ตาม แต่กริดไทน์อินเวอร์เตอร์จะหยุดทำงาน โดยไม่จ่ายไฟเข้าสายส่ง เพื่อป้องกันไฟฟ้าดูดเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า ซึ่งกำลังซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า

โรงเรียนพลังงานทดแทน

สถานีไฟฟ้าของโรงเรียนศรีแสงธรรมนี้ผลิตไฟฟ้า 3,000 วัตต์ โดยทำเป็น 2 ชุดๆละ 6 แผ่น เมื่อต้องการใช้ไฟก็เข็นออกไปตากแดด ดึงสายมาเชื่อมกับไฟในอาคารก็ใช้ได้ทันทัน เป็นการผลิตไฟที่สะดวก ง่าย ราคาไม่แพง อย่างที่คิดกัน หากแต่ละหน่วยงานนำไปใช้ให้แพร่หลายก็จะช่วยลดปริมาณความต้องการไฟฟ้าในช่วงเวลากลางวัน ลดการผลิตของการไฟฟ้า ส่งผลิดีต่อระบบเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมซึ่งหนึ่งหน่วยไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าเซลล์สามารถลดคาร์บอนไดอ๊อกไซได้สูงสุดวันละ18.279 kgCo2 และยังต่อยอดไปสู่อาคารวิทย์ไฮบริดของโรงเรียนในอนาคตด้วย

โครงงานไฟฟ้า

นักเรียนกำลังต่อวงจรไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์