Solar Sharing Sisaengtham

โครงการพระราชทานโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง (วัดป่าศรีแสงธรรม)

Solar Sharing Sisaengtham
“Battery Energy Storage System (BESS)”
Today, Khok E Doiy valley not just having an “Agriculture Learning Center” but it also contains an “Alternative Power Learning Lab” which currently under an examination of solar sharing for agriculture crop. This experiment will focus on growing organic crop & plant underneath solar roof.

ป้ายด้านหน้าโครงการพระราชทาน

This examination conducts the installation of a 90 kWp. of solar panel together with a 500-kWh. energy storage. The idea is to have a transparent solar panel that absorb sunlight for power and having it shine through the panel for crop to grow under it. This storage of power system called Battery Energy Storage System (BESS) is the work of 3 parties which are National Science and Technology Development Agency (NSTDA), Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) and Wat Pasisaengtham.

The purpose of this project is aim to reduce the fluctuate of electric current that derive from alternative power source and with this BESS system, it will act as a storage power room that can store a daily remaining power or use it to store power during the time of off-peak use. Hence, this power could bring to use when needed or when the conventional power system is off.

Solar sharing sisaengtham

This is an experiment of the future of electricity. It can be charge and dis-charge and it is made to work with RE100 policy which is currently a world’s clean energy trend.

In term of factory production, during peak hour, this BESS can generate power for supporting a conventional power system, and regarding this, it could help reduce expense as well.

The Solar Sharing Sisaengtham consist of 2 parts, first, a sharing of sun light between transparent solar panel and crop that grow underneath, second, the power derive will be use within the temple. in the future, when prosumer electric system is well established, there is an idea of selling these remaini ng unuse power according to it as well.

Floating solar

In case of crop growing underneath transparent solar panel, the good thing is that, this solar panel can reduce the temperature before it touches the ground, reduce a strong power of sunlight and reduce the chance of soil’s water loss. As a result, this idea can help an agriculture crop grow properly, saving up money for user and the use of clean energy is the way for creating sustainability for the world. Today, Wat Pasisaengtham together with partners will soon carry out the experiment of “Agrivotaics” or “Agrophotovoltaics” and you will hear the result of success very soon.

Thank you to:

  • National Science and Technology Development Agency (NSTDA)
  • Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT)
  • Professor Assistant Dr. Chamnan Bunyaphutthiphong who is the designer of the “Alternative Power Learning Lab” in Khok E-Doiy Valley.

For further information please contact:
Tel. 086-233-1345
Facebook, Phrakhruwimonpanyakun Nopporn Susen
Line ID, sisaengtham

ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย

Solar Sharing Sisaengthag
พร้อมระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน ( BESS)
ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีพลังงาน และการเกษตรโคกอีโด่ยวัลเล่ย์ กำลังออกแบบระบบโครงการโซล่าร์ปันแสง โดยใช้พื้นเพาะปลูกข้าว และพืชผักใต้แผ่นโซลาร์เซลล์ โดยแผ่นโซล่าร์เซลล์สามารถผลิตพลังงานไปพร้อมกับการปลูกพืชผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาดกำลังผลิตสูงสุด 90 Kwp. พร้อมกับมีระบบกักเก็บพลังงานเป็นแบตเตอรี่ 500 kwh. เพื่อสามารถรองรับการชาร์จพลังงานจากแผ่นโซลาร์เซลล์ชนิดโปร่งแสงที่จะติดตั้งในวัดป่าศรีแสงธรรมซึ่งเป็นพื้นที่พัฒนาในชื่อที่รู้จักทั่วไป “โคกอีโด่ยวัลเล่ย์” (แหล่งรวมพลคนอัจฉริยะ) เป็นการทดสอบระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่สุดล้ำเรียกว่า BESS (Battery Energy Storage System) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และวัดป่าศรีแสงธรรม

การทดลองวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดยมีการปรับสมดุลของพลังงานด้วยระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ (BESS) ที่กักเก็บสะสมพลังงานจากการผลิตไฟฟ้าของโซล่าร์เซลล์ ที่เหลือใช้ในแต่ละวัน หรือเก็บพลังงานไว้ที่แบตเตอรี่ในช่วงเวลาที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ เพื่อนำมาใช้จ่ายไฟในช่วงเวลาที่ต้องการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก หรือใช้ในช่วงที่ไฟฟ้าจากสายส่ง(Grid)ดับ ระบบแบตเตอรี่ก็จะใช้งานในรูปแบบ Stand alone
งานทดสอบระบบนี้เหมาะกับโรงงานผลิตไฟฟ้าในอนาคตที่สามารถชาร์จ และดิสชาร์จได้ รองรับนโยบาย RE100 ที่เป็นเทรนด์ของโลกพลังงานสะอาด (ส่วนตัวแล้วคิดว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่เราจะหนีไม่พ้น)

แนวคิดระบบ BESS นี้ยังสามารถนำไปตัดพีคในโรงงานหรือภาคธุรกิจ/ภาคอุตสาหกรรมในช่วงเวลาที่เกิดพีคก็ใช้ระบบนี้จ่ายเข้าไปแทนจะทำให้การคิดค่าไฟฟ้าลดลงได้ และยังลดจำนวนหน่วยไฟฟ้าลงด้วยโซลาร์เซลล์ การคิดคำนวนค่าไฟฟ้าย่อมลดลง


ถ้าติดตั้งโซล่าร์เซลล์ Maximum Load ระบบจะครอบคลุมการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดส่วนที่เกินก็ชาร์จลงในแบตเตอรี่เก็บไว้ใช้ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง (Grid) ช่วงที่คิดค่าไฟฟ้าถูกคือช่วง Off Peak มาช่วยชาร์จลงในแบตเตอรี่แล้วเอาไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาจ่ายไฟช่วงค่าไฟฟ้าแพง On Peak

โครงการปันแสงมี 2 ลักษณะคือ 1) พืชผัก แบ่งแสงกับโซลาร์เซลล์แบ่งปันพลังงานกัน และ 2) การแบ่งปันพลังงานไฟฟ้าที่เก็บในแบตเตอรี่เอามาใช้ภายในวัด และติดตั้งเครื่องแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้กับชุมชน หรือชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้ง 5 มิติ และยังมีแนวโน้มถึงการจำหน่ายไฟเมื่อเหลือใช้ ซึ่งเป็นแนวทางในอนาคตที่ระบบไฟฟ้าที่เป็น Prosumer จะมีมากขึ้น

ข้อดีอีกอย่างของการปลูกผักใต้โซล่าเซลล์ อาศัยให้แผงโซล่าช่วยกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ลดอุณหภูมิ ลดแสงแดดที่เข้มจัด และลดการเสียน้ำในพืช ส่งผลให้ผลผลิตเติบโตได้ดีขึ้น แถมยังอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เป็น BCG ศรีแสงธรรม ‘ปลูกผักใต้แผงโซล่าเซลล์’ ภายในโคก หนอง นา วัดป่าศรีแสงธรรม จะทำการทดลองปลูกพืชแบบ agrivoltaics นั้น โดยโครงการนี้เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง สวทช. กฟผ. กฟภ. และ วัดป่าศรีแสงธรรม หรือจะเรียกชื่อว่า Agrivoltaics หรือ agrophotovoltaics


ขอบคุณ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ ออกแบบอาคาร
ที่นี่จึงเป็นแหล่งทดสอบ ทดลองงานทางด้านเทคโนโลยีพลังงานกับการเกษตรอย่างยั่งยืน หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม

โคกอีโด่ยวัลเล่ย์

ศูนย์วิจัยพลังงานโคกอีโด่ยวัลเล่ย์

QuickWin #BCG #Energy #Economy #Sisaengtham

Agriculturalization

Agriculturalization
The area roughly about 34 rais (13.4 acres) in Wat pasisaengtham is continuously to develop according to the project called land development follows the principle of new agriculture theory: Khok Nong Na Model. The idea is to transform the empty unuse land to create a model of lifelong learning center regarding agriculture under the purpose of life and community development. Hence, the idea also applies the principle of religion as well as the concept of Bio Circular Green economy policy (government’s latest economy policy) in order to uplift the grassroot economic which altogether its aim to derive the sustainability. Today, the daily food resources that is serving 200+ students together with teachers in Wat pasisaengtham school come from the project. The surplus products also give out to temple nearby and people in need.

In the future, this 34 rais of land will include the “Dharma Garden”, which set up to be a meditation place for people who visit, and for monk, this garden is a proper place for practice.
“Property only with us until the last breath, however, the development in property especially in the religion property, will lives forever and will distribute for others”. This devoted will count as a meritorious deed that will support others, community, religion and country and it will be witnesses generation through generation.

Today, this project of agriculturalization will once again, boosted its progress right after the end of Buddhist Lent period. There will be experts such as Associate Professor Worrawan Rojjanapaiboon, Professor assistant Phichet Sowitthayakul altogether with the team from King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang and the team of engineers from Khon Kaen University, that will join hands together to design and develop the area for better use. Moreover, there will be a kick off of a newly project called “Smart Intensive Farming” as well.
Thank you
Phra Panyawachiramoli Susen, Wat pasisaengtham

อารยเกษตร
โครงการพัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ : โคก หนอง นา วัดป่าศรีแสงธรรม บนเนื้อที่ 34 ไร่ เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยวัดป่าศรีแสงธรรมได้ดำเนินการพัฒนาวัด พัฒนาคน พัฒนาชุมชน ตามหลัก “บวร” คือบ้าน วัด โรงเรียนและราชการ เป็นแนวทางการพัฒนาคนในทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ให้ความรู้คู่คุณธรรมกับนักเรียน ให้ความรู้คู่คุณธรรมนำสู่สัมมาชีพให้กับคนในชุมชน และเป็นโมเดลต้นแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สอดรับกับนโยบาย BCG Economy เป็นเกษตรอินทรีย์วิถีธรรม ในแปลงพระราชทานโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง (วัดป่าศรีแสงธรรม) 20 ไร่ และ 15 ไร่ รวมเป็น 35 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน เป็นแหล่งอาหารให้กับครูและนักเรียน 200 กว่าคนในแต่ละวันในโรงเรียนศรีแสงธรรม และเผื่อแผ่ไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ เพื่อให้ความอนุเคราะห์เกื้อกูลญาติโยมที่มาสัมผัสสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน หรือกลุ่มผู้ยากไร้ ผู้ประสบภัยต่าง ๆ

พื้นที่ 34 ไร่จะทำเป็นอุทยานธรรมะ เชิงเกษตรพอเพียง ปลูกป่าปลูกผักระยะเริ่มต้น ควบคู่กับสถานปฏิบัติธรรมที่สงบสงัดวิเวก เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม
การแสวงหาทรัพย์สมบัติมากมายแค่ไหนก็อยู่กับเราได้แค่วันตาย ไม่รู้จะเปลี่ยนไปหาใครบ้าง แต่การพัฒนาที่ดิน และซื้อถวายวัดเป็นสมบัติติดตัวเราไปทุกภพทุกชาติ ไม่ได้เปลี่ยนมือไปไหน ยังอยู่คู่กับพระศาสนา และอยู่คู่ประเทศไทยสืบต่อไป เมื่อเราให้ทั้งคุณธรรมทั่งความรู้ย่อมเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ในการสร้างอุทยานธรรมะ เพราะผู้มีปัญญา ย่อมหาทรัพย์ได้ การให้ธรรมะ(วิชา) ชนะการให้ทั่งปวง

โครงการพัฒนาที่ดินแปลงวัดป่าศรีแสงธรรม 34 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมโคก หนอง นา อารยเกษตร วัดป่าศรีแสงธรรม บ.ดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี จะดำเนินการขุดในช่วงออกพรรษา หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล และทีมงานจาก สจล. และวิศวกรจิตอาสา มข. ช่วยออกแบบพื้นที่ ให้โคกอีโด่ยวัลเล่ย์ เป็น Smart Intensive farming
ขออนุโมทนาขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

Smart Intensive Farming Sisaengtham