โรงเรียนเสียดายแดด

หนังสือโรงเรียนเสียดายแดด E-Book

โรงเรียนเสียดายแดดฉบับE-Book
ดาวน์โหลด

กฟผ.ศึกษาดูงานโรงเรียนศรีแสงธรรม

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

41220

กฟผ.ดูงานโรงเรียนศรีแสงธรรม

รองผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำคณะผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ศึกษาดูงานระบบพลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์โรงเรียนศรีแสงธรรม วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

41222

นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า (รวฟ.) พร้อมด้วยนายจรัญ คำเงิน (ชฟม.) , นายพิพัทต์ คงสินทวีสุข (อฟอ.) , ผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. และนายสนอง มะลัยขวัญ นายอำเภอสิรินธร

41226

ได้ศึกษาดูงานเรียนรู้การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์พลังงานทดแทนต้นแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ภายในโรงเรียนศรีแสงธรรม และวัดป่าศรีแสงธรรม ทั้งในระบบไฮบริด , ระบบออนกริตเพื่อประหยัดไฟฟ้า , ระบบสมาร์ทกริต , การผลิตรถพลังงานแสงอาทิตย์ , ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรกรรม ฯลฯ

41228

โดยมีท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศรีแสงธรรม เป็นวิทยากรบรรยายพร้อมนำคณะฯ ดูงานฯ

S__2867202

ซึ่งผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. รู้สึกศรัทธาชื่นชมความรู้ ความสามารถ และแนวคิดการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน ด้านการศึกษา การช่วยเหลือสนับสนุนหมู่บ้านชุมชนใกล้เคียงวัด/โรงเรียน โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ และสร้างคุณประโยชน์ให้ชุมชน สังคมอย่างยั่งยืน ณ ห้องปฏิบัติการพลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ โรงเรียนศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

S__2867203

 

โซล่าร์ลอยน้ำ

Smart Hybrid System

39521886_1908338899282832_4974143329353596928_o.jpg

โซล่าร์เซลล์ลอยน้ำ

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ บนทุ่นลอยน้ำภายในวัดป่าศรีแสงธรรม เพื่อจ่ายไฟฟ้าใหักับสถานีวิทยุเสียงธรรมที่เปิดตลอด 24 ชม. เนื่องจากพื้นที่ว่างมีการเพาะปลูกป่าเต็มไปหมด เหลือเพียงในสระน้ำที่ขุดเก็บกักน้ำไว้ใช้จึงต้องทำทุ่นลอยน้ำในการติดตั้งแผ่นโซล่าร์เซลล์ขนาด 320 วัตต์จำนวน 16 แผ่น สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่งมายังอินเวอร์เตอร์แบบไฮบริด

 

39454360_1906078359508886_6539573284277583872_o

ผังภาพวงจร

ระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ด้วยอินเวอร์เตอร์แบบ สมาร์ทไฮบริด เป็นเทคโนโลยีใหม่ทำงานคล้ายกับอุปกรณ์สำรองไฟฟ้าในคอมพิวเตอร์หรือ UPS ระบบจะเลือกรับไฟฟ้ากระแสตรงจากแผ่นโซล่าร์เซลล์เข้ามาแปลงเป็นกระแสสลับ 220 โวลท์ ก่อนในตอนกลางวันที่มีแสงแดดแล้วผลิตไปจ่ายไฟเข้าสถานี

40093115_1918388784944510_9075737178914422784_o

หลุยส์ เฮสดาร์ซัน

ในกรณีนี้มีการใช้พลังงานเพียง 3,000 วัตต์ชั่วโมง จะมีพลังงานที่ไม่ได้ใช้เกินมาประมาณ 2,000 วัตต์ชั่วโมงระบบก็จะทำการชาร์จพลังงานเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และยังคงใช้ได้อยู่เหมือนเดิม เมื่อเแสงแดดหมดระบบก็จะดึงเอาพลังงานที่สะสมไว้จากแบตเตอรี่มาใช้ประมาณ 5 ชม. (ช่วงกลางคืน) พลังงานที่สะสมไว้ก็จะหมดจากแบตเตอรี่

IMG_1207

ที่ไม่ใช้แบตเตอรี่มากก็เพราะไม่ต้องการสำรองไว้มากจะเปลืองค่าแบตเตอรี่ หลังจากห้าทุ่มเป็นต้นไประบบสวิทช์อัตโนมัติก็จะตัดไปใช้ไฟจากสายส่ง ซึ่งไฟจากสายส่งนี้เราสามารถเลือกให้ชาร์จแบตช่วยแผ่นโซล่าร์เซลล์ได้ในกรณีที่พายุเข้าเป็นเดือนเหมือนเช่นทุกวันนี้ 

40067137_1918479361602119_8400086373113004032_o.jpg
ข้อดีของระบบนี้คือไฟจากสายส่งดับระบบก็ไม่ดับไปด้วยเพราะไม่ได้ซิงโคไนซ์กับไฟสายส่ง ขอให้มีแดดก็ยังใช้ได้ตลอด แม้แดดจะหมดไฟจากแบตก็ยังจ่ายต่อไปได้อีก 4-5 ชม.หากมีงบประมาณพอเอาให้จ่ายทั้งคืนรอจนแดดมาใหม่ก็ทำได้ จากภาพขั้นตอนการติดตั้งนี้จะเห็นได้ว่า ไฟจากสายส่งเป็นเพียงแค่ไฟสำรองระบบของเราเท่านั้น เป็นความมั่นคงด้านพลังงานของสถานีวิทยุเสียงธรรมที่เปิดต่อเนื่องส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาสนใจธรรมะภาคปฏิบัติกันมากขึ้นเพราะไม่ต้องลงทุนก็สร้างบุญสร้างกุศลให้ตนเองได้

การติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ลอยน้ำ

ตามหลักการของอาร์คีเมดีส : แรงลอยตัวของวัตถุ = น้ำหนักของของใหลที่ถูกแทนที่โดยวัตถุนั้น
ถ้าเราต้องการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ขนาด 5 Kw.นำหนักรวมประมาณ 1,200 กก.คือเราต้องการแรงลอยตัว 1200 กก ถ้าของใหลเป็นน้ำ สิ่งที่แทนที่คืออากาศ(โดยคิดคร่าวๆตัด นน.ของอากาศออกไป)ดังนั้น
น้ำ 1 ลิตร จะหนัก 1 กก. ถ้าต้องการแรงลอยตัว 1,200 กก.ก็จะต้องแทนที่น้ำ 1,200 ลิตร คิดเป็น ลบ.เมตร ได้ 1.2 ลบ.เมตร จากการไปดูโครงสร้างแล้วทำให้หวั่นใจว่าจะเป็นการลอยน้ำแบบไหน โดยสภาพการลอยตัว

39846693_1911769628939759_2614344754829197312_n

การลอยตัวมี 3 แบบคือ
-Positive Buoyancy การลอยตัวเป็นบวก วัตถุจะลอยน้ำ
-Neutral Buoyancy การลอยตัวเป็นกลาง วัตถุไม่ลอยไม่จม มีสภาพไร้น้ำหนัก
-Negative Bouyancy การลอยตัวเป็นลบ วัตถุจมน้ำ
ความสำคัญของการลอยตัว คือปริมาตร ไม่ใช่น้ำหนัก
มีสูตรแนะนำมากมายต้องลองทำดูว่าแบบไหนจะไม่เปลืองเกินไป เทคนิคในการหาปริมาตรของทุ่นเพื่่อรองรับแผงโซล่าเซลล์ลอยน้ำ ให้แยกออกเป็น 2 ส่วนคือ

1.น้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์และชุดโครงสร้าง 13kg/m2 และ
2.น้ำหนักของชุดโครงสร้างแพและจับยึดทุ่น ตัวเลข 40kg/m2-100kg/m2 หลังจากนั้นหาพื้นที่ที่ใช้งานทั้งหมด นำไปคูณน้ำหนักต่อตารางเมตรจะได้น้ำหนักของแพออกมา

การที่วัตถุสามารถลอยน้ำได้ จะต้องมีแรงปฏิกริยามากกว่าแรงโน้มถ่วง เพราะฉะนั้นวัตถุจะต้องมีค่าความหนาแน่นของวัตถุน้อยกว่าน้ำ ซึ่งความหนาแน่นของน้ำ D = 1/1000 kg/m3
จาก D = m/v จะได้ว่า มวล 1kg = ปริมาตร1 ลิตร (1 ลบ.ม =1000 ลิตร) สมมุติว่า ต้องการให้แพสามารถรองรับน้ำหนักได้ 1200 kg ก็ต้องใช้ทุ่นลอยน้ำที่มีปริมาตร 1200 ลิตร แต่ว่าควรเผื่่อค่าความปลอดภัยไว้ที่ 1.5 เนื่องจากมีน้ำหนักของทุ่น และอาจจะมีวัตถุอื่นๆบรรทุกในอนาคตร่วมได้ เพราะฉะนั้นจะได้ปริมาตรของทุ่นที่ปลอดภัยคือ 1200×1.5 = 1800 ลิตร หากใช้ถังเปล่าปริมาตร 200 ลิตร จะใช้ถังจำนวน 9 ถัง เป็นอย่างต่ำ โดยบางท่านอาจจะออกแบบทุ่นเองก็สามารถนำปริมาตรดังกล่าวไปคำนวณหาขนาดของทุ่นให้เหมาะสมก็ได้

40082639_1918492691600786_1724391010991079424_o

งานนี้ดาราพระเอกละครจากช่อง 7 สี หลุยส์ เฮสดาร์ซัน พระเอกลูกครึ่งฝรั่งเศส มาช่วยติดตั้้งโซล่าร์เซลล์ร่วมกับน้องๆ นักเรียนโรงเรียนศรีแสงธรรม จึงเป็นสีสันให้กับท้องถิ่นแห่งนี้อีกแบบหนึ่ง

และยังมีโซล่าร์ลอยน้ำจาก SCG มาติดตั้งระบบมาตรฐานให้อีก 5 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถมาชมได้ที่วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

40046251_1918492441600811_3282394615272964096_o

ปุ๋ยใบไม้แบบกอง

กิจกรรมเพื่อนกันวันละเข่งคือการเก็บเศษใบไม้ในบริเวณโรงเรียนในตอนเย็นหลังเลิกเรียนมากองรวมกันจนได้ปริมาณที่ต้องการ เพื่อทำปุ๋ยหมักแบบกอง โดยใช้เศษใบไม้หรือเศษวัชพืชมาวางเป็นชั้นหนาประมาณ 10 ชม.เป็นกองกว้างประมาณ 2.5 เมตร แต่ละชั้นของใบไม้จะใช้มูลสัตว์ วางทับในอัตราส่วน 1 : 3 หรือหากเป็นวางข้าวอาจจะใช้อัตราส่วน 1 : 4 เพราะฟางข้าวย่อยสลายได้ง่ายกว่าใบไม้ หรือมีผักตบชวาก็สามารถนำมาทำได้ โดยแต่ละชั้นจะรดน้ำให้ชุ่มแล้ววางทับกันไปเรื่อยๆสูงประมาณ 1.5 เมตร แล้วรดน้ำทุกวัน เมื่อครบกำหนด 10 วันก็เจาะกองปุ๋ยสอดสายยางลงไปรดน้ำด้านในกองเพื่อให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น จนครบ 60 วันก็จะได้ปุ๋ยเศษใบไม้ออกมาใช้กับต้นไม้ ปรับปรุงดินของเราอย่างง่าย ทำให้ลดการเผาใบไม้ซังข้าวที่เป็นสาเหตุของการปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซค์สู่ชั้นบรรยากาศทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน อีกทั้งเป็นการประหยัดเงินค่าปุ๋ยเคมี และทำให้บริเวณโรงเรียนสะอาด ได้อีกด้วย

1ปุ๋ยใบไม้

เพื่อนกันวันละเข่ง

2ปุ่ย

กองไว้ก่อนแล้วค่อยมาทำเป็นปุ๋ย

3ปุ๋ย

แต่ละวันต้องเก็บให้เต็มเข่ง

4ปุ๋ย

เพื่อนกันวันละเข่ง