โรงไฟฟ้าลำตะคอง

เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา

52602614_2178399128943473_773924721300340736_n

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยท่านผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้นำคณะศึกษาดูงานจากโรงเรียนศรีแสงธรรมไปเยี่ยมชมระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ ในโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา

 

โดยวันแรกมาเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าสูบบกลับเขื่อนลำตะคอง แนวคิดการรองรับอนาคตการเสรีโซล่าร์เซลล์สำหรับประชาชนทั่วไปติดตั้งบนหลังคาบ้านเพื่อส่งไฟเข้าระบบจำหน่ายได้ตอนกลางวันที่บางคนไม่มีการใช้งานก็สามารถผลิตเพื่อจำหน่ายโดยมาคิดเงินกันสิ้นเดือนถ้าใช้ไฟจากสายส่งมากกว่าที่ผลิตได้ก็ให้จ่ายค่าไฟ แต่ถ้าผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ได้มากกว่าการใช้งานในเดือนนั้นก็ได้รับเงินจากรัฐ ทุกหกเดือนจะมาคิดบัญชีกัน หรือสิ้นปีค่อยมาหักลบกลบหนี้กัน

 

 

ระบบนี้หากมีเรื่องของการกักเก็บพลังงานเข้ามาแล้วอาจจะเพิ่มราคาการช่วยจ่ายในเวลาพีค หรือเวลาที่ต้องการไฟสูงสุดเช่นตอนบ่ายสองโมงในวันทำงานปกติ และตอนหัวค่ำ เหมือนภารกิจของโรงไฟฟ้าสูบกลับเขื่อนลำตะคอง ที่มีการนำไฟฟ้าในช่วงที่ไม่ได้ใช้มาสูบน้ำขึ้นบนหลังเขา แล้วปล่อยน้ำลงมาปั่นไฟในตอนที่ต้องการใช้งานอย่างรีบด่วน เพื่อช่วยเสริมระบบการผลิตหลักอย่างเช่นปัจจุบัน และยังช่วยเรื่องการกู้ระบบอย่างเช่นโรงไฟฟ้าหลักมีปัญหาดับกระทันหัน ต้องหาระบบไฟสำรอง ต้องใช้เขื่อนลำตะคองช่วยพยุงระบบไว้หลายชั่วโมงเพื่อมีเวลาเพียงพอให้เจ้าหน้าที่กู้ระบบต่างๆได้ ช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและอื่นๆ อืกมากมาย

53071321_2178406585609394_3729798987675336704_o

นอกจากนี้ยังมีกังหันลมปั่นไฟอีก 12 ต้นขนาด 24 เมกกะวัตต์ พร้อมทั้งมีศูนย์การเรียนรู้เรื่องการผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจน และกำลังเตรียมเปิดศูนย์เรียนรู้ที่ทันสมัยที่สุดในภาคอิสาน ด้วยหุ่นยนต์ HBOT อนาคตอันใกล้นี้หามีงบประมาณ หรือมีผู้สนับสนุนอาจจะเห็นศูนย์เรียนรู้ที่ทันสมัยในโรงเรียนศรีแสงธรรมก็เป็นได้ ตอนนี้ก็เป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ ไปก่อน ไม่มีอะไรที่เราจะทำไม่ได้ถ้าตั้งใจจริง

 

 

กฟผ.ศึกษาดูงานโรงเรียนศรีแสงธรรม

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

41220

กฟผ.ดูงานโรงเรียนศรีแสงธรรม

รองผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำคณะผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ศึกษาดูงานระบบพลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์โรงเรียนศรีแสงธรรม วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

41222

นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า (รวฟ.) พร้อมด้วยนายจรัญ คำเงิน (ชฟม.) , นายพิพัทต์ คงสินทวีสุข (อฟอ.) , ผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. และนายสนอง มะลัยขวัญ นายอำเภอสิรินธร

41226

ได้ศึกษาดูงานเรียนรู้การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์พลังงานทดแทนต้นแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ภายในโรงเรียนศรีแสงธรรม และวัดป่าศรีแสงธรรม ทั้งในระบบไฮบริด , ระบบออนกริตเพื่อประหยัดไฟฟ้า , ระบบสมาร์ทกริต , การผลิตรถพลังงานแสงอาทิตย์ , ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรกรรม ฯลฯ

41228

โดยมีท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศรีแสงธรรม เป็นวิทยากรบรรยายพร้อมนำคณะฯ ดูงานฯ

S__2867202

ซึ่งผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. รู้สึกศรัทธาชื่นชมความรู้ ความสามารถ และแนวคิดการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน ด้านการศึกษา การช่วยเหลือสนับสนุนหมู่บ้านชุมชนใกล้เคียงวัด/โรงเรียน โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ และสร้างคุณประโยชน์ให้ชุมชน สังคมอย่างยั่งยืน ณ ห้องปฏิบัติการพลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ โรงเรียนศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

S__2867203

 

โซล่าร์ลอยน้ำ

Smart Hybrid System

39521886_1908338899282832_4974143329353596928_o.jpg

โซล่าร์เซลล์ลอยน้ำ

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ บนทุ่นลอยน้ำภายในวัดป่าศรีแสงธรรม เพื่อจ่ายไฟฟ้าใหักับสถานีวิทยุเสียงธรรมที่เปิดตลอด 24 ชม. เนื่องจากพื้นที่ว่างมีการเพาะปลูกป่าเต็มไปหมด เหลือเพียงในสระน้ำที่ขุดเก็บกักน้ำไว้ใช้จึงต้องทำทุ่นลอยน้ำในการติดตั้งแผ่นโซล่าร์เซลล์ขนาด 320 วัตต์จำนวน 16 แผ่น สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่งมายังอินเวอร์เตอร์แบบไฮบริด

 

39454360_1906078359508886_6539573284277583872_o

ผังภาพวงจร

ระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ด้วยอินเวอร์เตอร์แบบ สมาร์ทไฮบริด เป็นเทคโนโลยีใหม่ทำงานคล้ายกับอุปกรณ์สำรองไฟฟ้าในคอมพิวเตอร์หรือ UPS ระบบจะเลือกรับไฟฟ้ากระแสตรงจากแผ่นโซล่าร์เซลล์เข้ามาแปลงเป็นกระแสสลับ 220 โวลท์ ก่อนในตอนกลางวันที่มีแสงแดดแล้วผลิตไปจ่ายไฟเข้าสถานี

40093115_1918388784944510_9075737178914422784_o

หลุยส์ เฮสดาร์ซัน

ในกรณีนี้มีการใช้พลังงานเพียง 3,000 วัตต์ชั่วโมง จะมีพลังงานที่ไม่ได้ใช้เกินมาประมาณ 2,000 วัตต์ชั่วโมงระบบก็จะทำการชาร์จพลังงานเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และยังคงใช้ได้อยู่เหมือนเดิม เมื่อเแสงแดดหมดระบบก็จะดึงเอาพลังงานที่สะสมไว้จากแบตเตอรี่มาใช้ประมาณ 5 ชม. (ช่วงกลางคืน) พลังงานที่สะสมไว้ก็จะหมดจากแบตเตอรี่

IMG_1207

ที่ไม่ใช้แบตเตอรี่มากก็เพราะไม่ต้องการสำรองไว้มากจะเปลืองค่าแบตเตอรี่ หลังจากห้าทุ่มเป็นต้นไประบบสวิทช์อัตโนมัติก็จะตัดไปใช้ไฟจากสายส่ง ซึ่งไฟจากสายส่งนี้เราสามารถเลือกให้ชาร์จแบตช่วยแผ่นโซล่าร์เซลล์ได้ในกรณีที่พายุเข้าเป็นเดือนเหมือนเช่นทุกวันนี้ 

40067137_1918479361602119_8400086373113004032_o.jpg
ข้อดีของระบบนี้คือไฟจากสายส่งดับระบบก็ไม่ดับไปด้วยเพราะไม่ได้ซิงโคไนซ์กับไฟสายส่ง ขอให้มีแดดก็ยังใช้ได้ตลอด แม้แดดจะหมดไฟจากแบตก็ยังจ่ายต่อไปได้อีก 4-5 ชม.หากมีงบประมาณพอเอาให้จ่ายทั้งคืนรอจนแดดมาใหม่ก็ทำได้ จากภาพขั้นตอนการติดตั้งนี้จะเห็นได้ว่า ไฟจากสายส่งเป็นเพียงแค่ไฟสำรองระบบของเราเท่านั้น เป็นความมั่นคงด้านพลังงานของสถานีวิทยุเสียงธรรมที่เปิดต่อเนื่องส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาสนใจธรรมะภาคปฏิบัติกันมากขึ้นเพราะไม่ต้องลงทุนก็สร้างบุญสร้างกุศลให้ตนเองได้

การติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ลอยน้ำ

ตามหลักการของอาร์คีเมดีส : แรงลอยตัวของวัตถุ = น้ำหนักของของใหลที่ถูกแทนที่โดยวัตถุนั้น
ถ้าเราต้องการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ขนาด 5 Kw.นำหนักรวมประมาณ 1,200 กก.คือเราต้องการแรงลอยตัว 1200 กก ถ้าของใหลเป็นน้ำ สิ่งที่แทนที่คืออากาศ(โดยคิดคร่าวๆตัด นน.ของอากาศออกไป)ดังนั้น
น้ำ 1 ลิตร จะหนัก 1 กก. ถ้าต้องการแรงลอยตัว 1,200 กก.ก็จะต้องแทนที่น้ำ 1,200 ลิตร คิดเป็น ลบ.เมตร ได้ 1.2 ลบ.เมตร จากการไปดูโครงสร้างแล้วทำให้หวั่นใจว่าจะเป็นการลอยน้ำแบบไหน โดยสภาพการลอยตัว

39846693_1911769628939759_2614344754829197312_n

การลอยตัวมี 3 แบบคือ
-Positive Buoyancy การลอยตัวเป็นบวก วัตถุจะลอยน้ำ
-Neutral Buoyancy การลอยตัวเป็นกลาง วัตถุไม่ลอยไม่จม มีสภาพไร้น้ำหนัก
-Negative Bouyancy การลอยตัวเป็นลบ วัตถุจมน้ำ
ความสำคัญของการลอยตัว คือปริมาตร ไม่ใช่น้ำหนัก
มีสูตรแนะนำมากมายต้องลองทำดูว่าแบบไหนจะไม่เปลืองเกินไป เทคนิคในการหาปริมาตรของทุ่นเพื่่อรองรับแผงโซล่าเซลล์ลอยน้ำ ให้แยกออกเป็น 2 ส่วนคือ

1.น้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์และชุดโครงสร้าง 13kg/m2 และ
2.น้ำหนักของชุดโครงสร้างแพและจับยึดทุ่น ตัวเลข 40kg/m2-100kg/m2 หลังจากนั้นหาพื้นที่ที่ใช้งานทั้งหมด นำไปคูณน้ำหนักต่อตารางเมตรจะได้น้ำหนักของแพออกมา

การที่วัตถุสามารถลอยน้ำได้ จะต้องมีแรงปฏิกริยามากกว่าแรงโน้มถ่วง เพราะฉะนั้นวัตถุจะต้องมีค่าความหนาแน่นของวัตถุน้อยกว่าน้ำ ซึ่งความหนาแน่นของน้ำ D = 1/1000 kg/m3
จาก D = m/v จะได้ว่า มวล 1kg = ปริมาตร1 ลิตร (1 ลบ.ม =1000 ลิตร) สมมุติว่า ต้องการให้แพสามารถรองรับน้ำหนักได้ 1200 kg ก็ต้องใช้ทุ่นลอยน้ำที่มีปริมาตร 1200 ลิตร แต่ว่าควรเผื่่อค่าความปลอดภัยไว้ที่ 1.5 เนื่องจากมีน้ำหนักของทุ่น และอาจจะมีวัตถุอื่นๆบรรทุกในอนาคตร่วมได้ เพราะฉะนั้นจะได้ปริมาตรของทุ่นที่ปลอดภัยคือ 1200×1.5 = 1800 ลิตร หากใช้ถังเปล่าปริมาตร 200 ลิตร จะใช้ถังจำนวน 9 ถัง เป็นอย่างต่ำ โดยบางท่านอาจจะออกแบบทุ่นเองก็สามารถนำปริมาตรดังกล่าวไปคำนวณหาขนาดของทุ่นให้เหมาะสมก็ได้

40082639_1918492691600786_1724391010991079424_o

งานนี้ดาราพระเอกละครจากช่อง 7 สี หลุยส์ เฮสดาร์ซัน พระเอกลูกครึ่งฝรั่งเศส มาช่วยติดตั้้งโซล่าร์เซลล์ร่วมกับน้องๆ นักเรียนโรงเรียนศรีแสงธรรม จึงเป็นสีสันให้กับท้องถิ่นแห่งนี้อีกแบบหนึ่ง

และยังมีโซล่าร์ลอยน้ำจาก SCG มาติดตั้งระบบมาตรฐานให้อีก 5 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถมาชมได้ที่วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

40046251_1918492441600811_3282394615272964096_o

ต้านภัยแล้งด้วยแสงอาทิตย์

ระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์

20663951_1462693810514012_4462540447017574529_n

ถังเก็บน้ำขนาด 57,000 ลิตร

การกักเก็บพลังงานส่วนที่เกินคมาไว้ในรูปแบบของน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค เป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ และทางเลือกพลังงานที่ขาดแคลนหรือพื้นที่ห่างไกลไฟเข้าไม่ถึง

 

 

เกษตรไทยยุค 4.0 หรือ 5.0 ก็ตามส่วนมากการประกอบอาชีพจะลำบาก และมีความเป็นอยู่แบบยากจนปัญหาหลักคือน้ำทำการเกษตรอยู่ใต้ดิน หรือแม้แต่อยู่ผิวดินเมื่อนำมาใช้ในแปลงหรือในพื้นที่ต้องการก็ย่อมจะอาศัยเครื่อสูบน้ำ ถ้าไม่จากไฟฟ้าก็จากน้ำมัน ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย ต้นทุนการดึงไฟจากสายส่ง หรือค่าน้ำมันในแต่ละวัน

 

 

โซล่าร์ปั๊มจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการนำมาใช้ นับวันจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาและราคาถูกลงอย่างมากเมื่อก่อนมีการประมูลระดับสามแสนขึ้นไปซึ่งมีการกำหนดสเปคมาแล้ว การแข่งขันจึงน้อยมีปั๊มที่สามารถผูกขาดงานอยู่เจ้าเดียว แต่ปัจจุบันการแข่งขันสูงมีปั๊มออกมาแข่งขันกันมาก ราคาไม่ถึงแสน และยังมีชุดสำหรับชาวนาชาวสวนราคาประมาณสองหมื่นบาทออกมาจำหน่าย

 

 


ชุดใหญ่นี้สูบน้ำพลังแสงอาทิตย์สามารถสูบน้ำได้สูงถึง 20จ เมตร อัตราการไหลสูงสุด 8,000 ลิตร/ชม. ใช้โซล่าร์เซลล์ 330 วัตต์ 6 แผ่น เหมาะกับการใช้น้ำปริมาณมากๆ ต่อวันเพราะอัตราการไหลจะได้ถึงวันละ 40,000 ลิตร ดังนั้นจึงควรดูปริมาณความต้องการใช้น้ำของเราในแต่ละวัน 

25299607_1594692133980845_3606132680790812403_o

ชุด 400 วัตต์

สำหรับชาวสวนทั่วไปแนะนำชุดสูบน้ำขนาด 400 วัตต์ อัตราการไหลวันละ 10,000 ลิตร โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ มีแดดก็ได้น้ำทันที ถ้าหากว่ามีถังเก็บไว้จะดีที่สุด สร้างถังสูงสัก 6 เมตร ให้เก็บน้ำได้ 10,000 ลิตรขึ้นไป จากนั้นค่อยปล่อยน้ำจากถังไปใช้

17157640_1300612516722143_7532957481854694668_o

หากปล่อยน้ำไปจากบ่อบาดาลโดยตรงเวลาแดดน้อยเราก็ได้น้ำน้อย สู้แบบเก็บไว้ในถังไม่ได้ อยากใช้เมื่อไหร่ก็ได้ ปกติเรารดน้ำตอนเช้าแดดยังไม่จัด จะมีน้ำออกน้อย ถ้าปล่อยจากถังเลยก็ไม่ต้องห่วง ตอนสายๆ ค่อยสูบน้ำเก็บไว้ในถังไว้ใช้ต่อ

 

 

ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในป่าในเขา ในนาในไร่ขอให้มีแสงแดด และมีน้ำ ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยี และความขยันหมั่นเพียร รู้จักพึ่งพาตนเอง รู้จักคิดวิเคราะห์ ควรลงทุนไม่ลงทุน ลงทุนแล้วมีความเสียงอะไร ถ้าขาดเงินแล้วจะกู้มาลงทุนจะคุ้มค่าดอกเบี้ยไหม หรือไม่ทำจะดีกว่า อย่างนี้ให้รู้จักคิด

วิธีการต่อซับเมิร์สก็ดูเพิ่มเติมได้ พูดมากเจ็บคอ

 

Green Energy School

IMG_2621

Green Energy School

โรงเรียนศรีแสงธรรม ได้มีแนวคิดในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโรงเรียน 100% บนแนวคิดใช้เท่าไหร่ผลิตเท่านั้น หรือที่เรียกว่า Consumption = Generation หรือจะบอกว่าเป็น Net Zero ก็ว่าได้

32584767_1761415223975201_740888047607873536_n

ซุ้มประตูโซล่าร์เซลล์

ฐานการเรียนรู้ต่างๆ ด้านพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าร์เซลล์ เพื่อรองรับการศึกษาดูงานของผู้ที่สนใจ และรายการทีวีต่างๆ ที่เข้ามาทั้งในและต่างประเทศ จึงจัดเป็นจุดการเรียนรู้แต่ละจุดเพื่อสะดวกต่อการเยี่ยมชม และบางครั้งเจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้องมีธุระก็สามารถรับฟังการอธิบายจากครูหรือนักเรียนได้

อาคารอำนวยการ 

ได้รวมระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีในโลกขณะนี้ ไว้ในที่เดียวกัน 4 แบบคือ ระบบออนกริด ระบบสมาร์ทไฮบริด ระบบไฮบริด และระบบอ๊อฟกริด ขนาดกำลังผลิต 16 KWh. เพื่อจ่ายไฟไปยังจุดต่างๆ ผ่านตู้เมนการจ่ายไฟของโรงเรียนคือ ตู้ MDB

MDB จุดควบคุมไฟฟ้าของโรงเรียนซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อไฟจากการไฟฟ้าเข้ามายังโรงเรียน และเป็นจุดกระจายไฟฟ้าจากระบบผลิตต่างๆภายในโรงเรียนไปยังอาคารแต่ละอาคาร ซึ่งสามารถดูพลังงานที่ผลิตได้และดูการใช้พลังงานของแต่ละจุดภายในโรงเรียนผ่านวัตต์มิเตอร์ที่แสดงผลอยู่บนหน้าจอ

32384069_1761426693974054_7293102614638493696_o.jpg

อาคารรวมระบบผลิตไฟฟ้าที่มีในโลกไว้ที่นี่

อาคารเรียน 4 ชั้น

ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 100% มี Smart Hybrid Inverter 2 ชุด ขนาด 5 KWh.สำหรับผลิตไฟฟ้าให้กับชั้น 1 กับ ชั้น 2 และขนาด 3.6 KWh. สำหรับผลิตไฟฟ้าไห้กับชั้น 3 ชั้น 4 ใช้พื้นที่ติดตั้งประมาณ 60 ตารางเมตร

 

32681738_1762089383907785_6493473725252370432_o.jpg

การเชื่อมต่อสายไฟภายในโรงเรียนจะเป็นแบบร้อยท่อลอดใต้ดิน ไม่มีเสาไฟระโยงระยายภายในโรงเรียน

IMG_4156

นอกจากนั้นโรงอาหาร และบ้านพักครูก็จะมีระบบโซล่าร์เซลล์แยกออกต่างหากไม่รวมด้วยกัน และป้องกันไฟฟ้าดับ ไฟไม่พอแต่ละจุดสามารถย้ายไฟข้ามตึกไปใช้ด้วยกัน เป็นการจำลองระบบซื้อขายไฟฟ้าบ้านต่อบ้าน เมื่อเราไม่ใช้ไฟก็ขายให้ข้างบ้านที่ใช้ไฟฟ้าได้

IMG_7841

ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ได้นำระบบการจัดการพลังงานเข้ามามีบทบาทในการใช้พลังงานให้คุ้มค่าภายในโรงเรียน ซึ่งระบบต่างๆ และวิธีการจัดการจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป  หรือท่านติดตามในสื่อรายการทีวีต่างๆ ที่นำไปเผยแพร่เรื่องราวของโรงเรียนศรีแสงธรรม เช่น

ท่านนายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างการพึ่งพาตนเองของโรงเรียนทางรายการคืนความสุขถึง 2 ครั้ง 2 ครา

IMG_1815

IMG_1810

หรือสำนักข่าวต่างๆประเทศก็มี นำไปเสนอเป็นภาษาต่างประเทศก็ติมตามกันได้

บ้านกินแดด

บ้านกินแดด

37085223_1841084039341652_2682955650496987136_n

บ้านดิน และบ้านกินแดด

บ้านกินแดดศรีแสงธรรม ตัวอย่างการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างในบ้านพักอาศัยสำหรับชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลจากสายส่งหรือไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ให้คนมีทางเลือกในการใช้พลังงานมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากสายส่งแค่ไหน หรือไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงเลย ถ้าอยากมีไฟฟ้าใช้ไม่ต้องไปออกข่าวอ้อนวอนนายกให้ยาก หรือไปทำเป็นบนบานศาลกล่าวกับเสาไฟฟ้า เอาสูตรนี้ไปลองทำดู 

โดยมีอุปกรณ์สำหรับชุดเล็กๆ สำหรับที่ต้องการใช้งานน้อย จึงแนะนำขนาด 300 วัตต์เป็นพื้นฐานสำหรับที่เหมาะกับงบประมาณ หากต้องการใช้งานมากขึ้น นานขึ้น หรือมีคนจำนวนมากก็ต้องใช้ขนาด 1,500 วัตต์ที่ติดตั้งไปกับรถนอนนา “ชุดนอนนา” โมเดล 1,500 วัตต์

 

แต่ถ้ามีงบประมาณน้อย หรือไม่ต้องการใช้มากบ้านกินแดดชุดนี้ก็สามารถใช้งานได้ดีเช่นกันโดยมีอุปกรณ์ดังนี้

37338451_1849289231854466_7465846551470931968_o

แผ่น 150  วัตต์ 2 แผ่น

  1. แผ่นโซล่าร์เซลล์ขนาด 150 วัตต์ 1แผ่นราคาประมาณ 3,000 บาท

2. คอนโทรลชาร์จ 10 แอมป์ราคาประมาณ 300 – 600 บาทแล้วแต่คุณภาพของแต่ละยี่ห้อ

3. แบตเตอรี่ 100 แอมป์ถ้าเป็นแบตรถยนต์ก็ไม่เกิน 3,000 บาท ส่วนที่นี่จะไม่แนะนำแบตเตอรี่รถยนต์ควรเป็นแบตเตอรี่แห้งราคาประมาณ 7,000 บาท

4. หากมีงบประมาณเพิ่มเติมอาจจะใช้อินเวอร์เตอร์เป็นตัวแปลงไฟกระแสตรงเป็นกระแสสลับ 220 โวลท์ขนาด 300 วัตต์ หรือไม่ต้องใช้ก็ได้ถ้าไม่มีความจำเป็น

50527314_2181838852130117_2638779210323197952_n

คอนโทรลชาร์จ 10 แอมป์

 

นอกนั้นก็เป็นอุปกรณ์การต่อ และสายไฟ ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นประเภทกระแสตรงหรือเรียกว่า DC 12 V. ทั้งหลอดไฟ หม้อหุงข้าว เตารีด พัดลม ทีวี เครื่องสูบน้ำ (ยังไม่มีเครื่องซักผ้า) เครื่องใช้เหล่านี้มีขายหมด

37173086_1847638142019575_2710415034277691392_o เพียงเท่านี้ก็เป็นบ้านกินแดดได้ทันทีด้วยอุปกรณ์ 3-4 ชิ้นเท่านั้น จะหุงข้าวสูบน้ำ รีดผ้า ชาร์จมือถือ ก็นับว่าเป็นตัวอย่างการประยุกต์โซล่าร์เซลล์เพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน จากโรงเรียนศรีแสงธรรม ซิลิคอน วัลเลย์ อุบลราชธานี

IMG_2360

ชุดเล็ก 300  วัตต์แบบเคลื่อนย้าย

แต่เวลาใช้งานจริง ถ้าใช้พร้อมกันทั้งหมดที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้นี้แผ่น 150 วัตต์แผ่นเดียวคงไม่ได้ไฟไม่เพียงพอในแต่ละวันอาจจะต้องเพิ่มจำนวนแผ่น หรือเพิ่มขนาดจาก 150 วัตต์ เป็น 330 วัตต์ 24 โวลท์พร้อมอินเวอร์เตอร์ เหมือนเช่นชุดนอนนา แต่รับรองว่าไม่ต้องใช้ไฟจากสายส่งเลยก็ว่าได้ ตัวอย่างชุดนอนนาขนาด 2,000 วัตต์ 


และแนะนำเรื่องการสูบน้ำไม่ควรใช้จากแผ่นเตอรี่เพราะแบตเตอรี่คือสิ่งที่แพงพอสมควรจึงต้องถนอมการใช้งาน แยกระบบออกมาต่างหากจะได้ช่วยยืดระยะการใช้งานของแบตเตอรีมากขึ้น

นี่ก็เป็นแนวทางการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานที่ทุกคนสามารถทำได้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะอยู่ไกลจากเมืองหลวงหรือศูนย์กลางความเจริญแค่ไหนแต่เราอยู่ใกล้พระอาทิตย์เท่ากัน ดังนั้นหากที่ไหนไม่มีไฟฟ้าใช้ให้ติดต่อมาที่นี่ ศรีแสงธรรมการไฟฟ้า

อบรมโซล่าร์เซลล์รุ่น 18

อบรมโซล่าร์เซลล์เบื้องต้น รุ่น 18

อบรมโซล่าร์เซลล์รุ่น18

รับสมัครเข้าร่วมฝึกอบรมโซล่าร์เซลล์เบื้องต้นรุ่น 18
16-17 กุมภาพันธ์ 2562

ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่องการประยุกต์ใช้โซล่าร์เซลล์เบื้องต้น 
ณ โรงเรียนศรีแสงธรรม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

1.รับจำนวน 20 คน
2.ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมฝึกทำ 2,500 บาท/คน
3.ค่าอุปกรณ์ฝึกอบรม ทำเสร็จนำกลับบ้านด้วย 3,000 บาท

————มีอาหารพร้อม ที่พักในโรงเรียน————————–

“”””””””””””””””””””เรียนรู้ง่าย ทำได้ ใช้เป็น”””””””””””””
ผู้สนใจสมัครเข้าฝึกอบรม ต้องชำระค่าลงทะเบียนสมัคร และค่าอุปกรณ์ ก่อนเข้าอบรม หรือไม่เกินวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เพื่อทางโรงเรียนจะสั่งอุปกรณ์ได้ทัน

49838198_2111284452321608_4639504929625473024_n

ชุดฝึกที่ผู้เข้าอบรมต้องทำได้และนำกลับไปใช้ที่บ้าน

ตัวอย่างชุดฝึกสอนการติดตั้งเพื่อประยุกต์ไปใช้งานจริง

ชุดนอนนา 1,500 วัตต์ เพื่อมาเป็นชุดสอนหรือท่านที่สนใจต้องการนำกลับไปใช้สามารถสั่งจองอุปกรณ์ล่วงหน้าและติดตั้งเพื่อนำกลับไปใช้งานได้

 

ชุดสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่

เป็นชุดที่สองสำหรับการแนะนำวิธีการต่อ วิธีการติดตั้งเพื่อลดค่าใช้จ่าย ให้นำไปใช้งานได้เอง

 

ชิ้นงานที่ 1 สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ

โคมไฟถนน ที่ทุกคนควรทำเป็น

ชิ้นงานการอบรมสำหรับระบบไฟส่องสว่าง

img_3457

โคมไฟถนนโซล่าร์เซลล์

สนใจเข้าร่วมฝึกทำติดต่อ
Fb: พระครูวิมลปัญญาคุณ ศรีแสงธรรม
โทร 086 233 1345,
โอนเงินค่าลงทะเบียนและค่าอุปกรณ์ ที่บัญชี
“น.ส.ณัฐวดี เฉลิมศรี 786-0-15332-4 ธ.กรุงเทพ สาขาเทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร

หากโอนเสร็จกรุณาส่งหลักฐานการโอนเงิน ที่ sisaengtham@hotmail.com เพื่อยืนยันการลงทะเบียน และสั่งอุปกรณ์ จึงจะนับเป็นการจองที่สมบูรณ์

ปล.เนื่องจากมีโปรแกรมอบรมให้หน่วยงานตลอดไม่มีเวลาจัดให้บุคคลทั่วไป จึงเปิดเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้ที่สนใจ หากเต็มจะปิดรับสมัครทันที
11 มกราคม 2562

 

ติดโซล่าร์เซลล์ 1 นาที

1 นาทีมีไฟฟ้าใช้
เป็นการแนะนำขั้นตอนวิธีการผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ในเวลา 1 นาทีเพื่อใช้อย่างง่ายด้วยอุปกรณ์ดังนี้

IMG_2016

ทีมงานช่างขอข้าว (จารย์ตุ่น บล.)

แผ่น 150 วัตต์ประมาณ 4,000 บาท

อินเวอร์เตอร์ 300 วัตต์ ประมาณ 4,000 บาท

คอนโทรลชาร์จ 10 แอมป์ประมาณ 500 บาท

แบตเตอรี่ 100 แอมป์ ประมาณ 7,000 บาท

IMG_2363.JPG

แผ่นโซล่าร์เซลล์ 150 วัตต์ อายุการใช้งาน 25 ปี

โครงสร้าง ล้อเลื่อน สามารถใช้ได้กับ TV พัดลม แสงสว่าง ชาร์จมือถือ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่เกิน 300 วัตต์ตามกำลังผลิตของอินเวอร์เตอร์

 

IMG_2360.JPG

พื้นสำหรับวางของและเคลื่อนย้ายได้ง่าย

ขั้นตอนที่ 1 ต่อแบตเตอรี่เข้ากับคอนโทรลชาร์จขั้วบวกของแบตเตอรี่เข้ากับช่องที่เป็นรูปขั้วบวก และขั้วลบจากแบตเตอรี่เข้ากับช่องที่เป็นรูปขั้วลบในคอนโทรลชาร์จ

%e0%b8%84%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%97%e0%b8%a3%e0%b8%a5

ช่องต่อสายไฟบนคอนโทรลชาร์จ

2.ต่อแผ่นโซล่าร์เซลล์เข้ากับคอนโทรลชาร์จ ตรงคู่แรกทางซ้ายของคอนโทรลชาร์จ

off-grid

ไดอะแกรมระบบ

3.ต่อสายไฟจากแบตเตอรี่เข้ากับอินเวอร์เตอร์

inv300w

สีแดงเอาสายบวกต่อเข้า สีดำเอาสายลบต่อเข้า

วิดีโอจากยูทูป

โซล่าร์ประชาชน

โซล่าร์ประชาชนพึ่งพาตนเอง
สมาร์ทไฮบริด ต้นแบบเทคโนโลยีก้าวข้ามIMG_0351
แนวคิดการขยายโซล่าร์เซลล์เข้าสู่ชุมชนให้มากที่สุดด้วยการขยายแหล่งเรียนรู้โดยทีมงานช่างขอข้าวจากโรงเรียนศรีแสงธรรมและพี่ๆ จากคณะวิศวะม.อุบล ได้ไปติดตั้งโซล่าร์เซลล์ขนาด 10 กิโลวัตต์ 3 เฟส ด้วยระบบสมาร์ทไฮบริด ให้กับโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบนเนื้อที่ 200 ไร่ในอำเภอหัวหิน ที่กำลังเริ่มทำอาคารพลังงานต้นแบบ และจะทำระบบไฟโซล่าร์เซลล์แบบต่างๆ ให้ชุมชนที่สนใจ หรือจะให้จัดอบรมโซล่าร์เซลล์ที่นี่สำหรับท่านที่สนใจในอนาคตต่อไป 

IMG_0387

โซล่าร์ประชาชนพึ่งตนเอง


ทีมงานได้มีการติดตั้งแผ่นโซล่าร์เซลล์ขนาด 320 วัตต์ รุ่นใหม่ 4 บัสบาร์ เกรดเอระดับโลก อายุการใช้งาน 25 ปี ของเยอรมันมีมาตรฐานสูงได้รับการยอมรับทั่วโลกน้ำหนักเบา 1 แผ่นขนาด 1 x 2 เมตร 27 กิโลกรัม จึงติดตั้งได้กับโครงหลังคาทุกประเภท ยึดบนรางอลูมินั่มอย่างดีไม่เป็นสนิม

IMG_0385

ทีมงานช่างขอข้าวจากโรงเรียนศรีแสงธรรม

อุปกรณ์การแปลงไฟจากกระแสตรงมาเป็นกระแสสลับเพื่อใช้งานภายในบ้าน เป็นสมาร์ทไฮบริดอินเวอร์เตอร์ ของฝรั่งเศส 10 กิโลวัตต์ 3 เฟส รับประกัน 5 ปี ซึ่งต่างจากของจีนราคาถูกที่รับประกัน 1 ปี ที่มีฟังชั่นส์การใช้งานอย่างอัจฉริยะหลักการทำงานคือ แปลงไฟจากแผ่นโซล่าร์เซลล์มาใช้ภายในบ้าน หากมีพลังงานเหลือเฟือก็จะชาร์จเก็บลงในแบตเตอรี่ เมื่อตอนกลางคืนก็จะดึงไฟจากแบตเตอรีแบบเจล อายุการใช้งาน 6-8 ปี ขนาด 100 แอมป์ จำนวน 12 ลูกขึ้นมาใช้ไปจนถึงเช้าวันใหม่ ตัวระบบก็จะเริ่มแปลงไฟจากแผ่นแทนแบตเตอรี่วนไปเรื่อยๆ หากมีการใช้งานมากในตอนกลางคืนทำให้แบตเตอรี่หมดหรือตัดในระบบที่เราต้องการให้ตัด ไฮบริดอินเวอร์เตอร์ก็จะมีระบบตัดการทำงานไปให้ไฟจากการไฟฟ้าจ่ายเข้าระบบภายในบ้านเาแทนโดยอัตโนมัติ สามารถควบคุมสั่งการผ่านทางแอ๊พบนมือถือของเรา มีการแสดงแผลการผลิตรายชั่วโมงแบบเรียลไทม์ 

IMG_0487

สมาร์ทไฮบริดอินเวอร์เตอร์ 10 kwh

ระบบนี้จึงไม่มีปัญหากับการไฟฟ้าเหมือนข่าววิศวกรต่อไฟ on grid ดังเป็นข่าวอยู่ตอนนี้ด้วยเทคโนโลยีก้าวข้ามระเบียบรัฐดังกล่าวไฟจากการไฟฟ้าเอาไว้เป็นเพียงแค่ไฟสำรองระบบของบ้านเราเท่านั้น จึงไม่มีการขนานไฟกับสายส่งจึงไม่มีไฟจ่ายออกหรือย้อนเข้าระบบของการไฟฟ้า ตัดปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับการขออนุญาตที่ต้องใช้วิศวะไฟฟ้าเซ็นรับรองแบบ และวิศวะโยธาเซ็นรับรองแบบอาคารอีก ถึงแม้ว่าจะเป็นความปลอดภัยในเชิ่งระบบใหญ่ แต่หลายคนก็ไม่ได้ไปขออนุญาตคิดว่าทำไม่มากจึงติดตั้งไปแบบไม่แจ้งการไฟฟ้า ดังที่เคยเรียกว่า “โซล่าร์กองโจร” แต่ตอนนี้มีคนเสนอชื่อว่า “โซล่าร์ประชาชน” และที่สำคัญการทำงานเป็นระบบอ๊อฟกริด ปัญหาไฟตกไฟดับจะหมดไปเรียกได้ว่าชาตินี้ไม่มีวันไฟดับ และเพื่อป้องกันปัญหาระบบไฟเข้าบ้านเราเวลาไฟไม่พอ หรือต้องซ่อมแซมบำรุงรักษาอินเวอร์เตอร์ทางทีมงานช่างขอข้าวยังมี automatic transfer switch เผื่อไว้ในการสลับไฟแบบอัตโนมัติไว้ด้วยIMG_0484

งบประมาณหกแสนกว่าบาท สามารถผลิตไฟฟ้าประมาณ 50 หน่วยต่อวัน โดยมีจุดประสงค์หลักคือใช้แอร์สำหรับบ้าน 4 ตัว ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ปั๋มน้ำ พัดลมแสงสว่าง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สำนักงาน คาดว่าจะประหยัดค่าไฟประมาณเดือนละ 6,500 บาท ลดภาวะโลกร้อนได้ประมาณ 257,000 กิโลคาร์บอน ตลอดอายุการใช้งาน หากคิดราคาค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายเดือนละ 6,500 บาทตลอด 25 ปี (แต่ความจริงค่าไฟฟ้ามีการปรับขึ้น) ระบบยังผลิตไฟได้เท่าเดิมคิดเป็นเงินที่ไม่ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าประมาณ 2 ล้านบาท ค่าติดตั้งค่าบำรุงรักษาตลอดโครงการประมาณ 1.2 ล้านบาท เมื่อถึงระยะเวลาคืนทุนแล้วยังสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปถึง 8 แสนบาท

หัวหิน

เทคโนโลยีก้าวข้ามระเบียบรัฐ


การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีมีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งประสิทธิภาพการผลิตไฟของแผ่นโซล่าร์เซลล์ อินเวอร์เตอร์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ หรือแม้แต่ Energy storage ที่พัฒนาอยู่ตลอด หากเราตามไม่ทันหรือยังงมอยู่กับความเห็นแบบเดิมๆ ที่ยังมีปัญหาเราก็ยังจะไม่สามารถแก้ปัญหาหรือเข้าถึงนวัตกรรมเหล่านี้ได้ เทคโนโลยีไฮบริดวันนี้อาจจะล้ำหน้า แต่วันถัดไปอาจจะมีอะไรใหม่ๆ มาแซงก็ไม่แน่แต่วันนี้ไฮบริดดีกว่า

8 พฤษภาคม 60

ลดค่าไฟฟ้าเดือนละ 1 ล้าน

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%a5%e0%b8%9b%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%84%e0%b8%b8%e0%b8%93

พระครูวิมลปัญญาคุณ กับเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าแบบก้าวข้าว

เจ้าของโรงงานน้ำแข็งจากร้อยเอ็ดได้ดูรายการคนค้นคนตอน พระพลังแดด แล้วจดชื่อไว้วันนี้ได้พาลูกหลานที่เรียนวิศวะม.อุบลมาเยี่ยมชมโรงเรียนพลังงานต้นแบบ เพื่อนำไปใช้ลดค่าไฟฟ้าปกติเดือนละ 1 ล้านบาท ตามแนวทางพึ่งพาตนเองของโรงงานเป็นอีกหนึ่งระดับและหนึ่งมิติของภาคส่วนในสังคมที่ต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่ได้ในภาวะผันผวนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัฒน์

%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99

ลดค่าไฟเดือนละล้าน

เป็นทางก้าวหน้าของภาคประชาชนไปอีกขั้นของการพึ่งพาตนเองบนพื้นฐานของการดิ้นรนแสวงหาทางออกแม้ยังไม่มีการสนับสนุนเต็มที่แต่ถ้าเรามีทางเลือกก็ต้องเลือกทางรอด ซึ่งมีข้อมูลวิธีการสามารถนำไปประยุกต์ใช้เทียบเคียงให้เหมาะกับบริบท หรือสภาพของตนเองอย่างเหมาะสมบนความพร้อมอย่างสมดุล

 

14715024_1146498658800197_2722898616087642458_o

พื้นที่ดาดฟ้า พื้นที่หลังคาก็นับรวมกันเป็นพื้นที่ติดตั้งได้

ค่าไฟฟ้ากี่ล้านหรือกี่พันกี่บาทก็สามารถลดลงได้
การติดตั้งโซล่าร์เซลล์แม้จะมีความสนใจ บางคนอาจคิดว่าทำไม่ได้เพราะไม่เคยได้ยินมาก่อน หรือคนที่ติดตามการใช้โซล่าร์เซลล์ก็อาจจะคิดว่าทำใช้เล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในบ้านหรือตามท้องไร่ท้องนา แต่พอโพสต์ในเฟสบุ๊ค https://www.facebook.com/sisaengtham.ac.th ว่าได้แนะนำแนวทาง วิธีการให้โรงงานน้ำแข็งลดค่าไฟเดือนละล้านจึงมีคนแปลกใจทั้งที่ความจริงแล้วถ้ามีความพร้อมอาคาร สถานที่ งบประมาณ เอาเดือนละ 10 – 20 ล้านต่อเดือนก็ลดได้ และยังมีสถาบันการเงินให้กู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือมีบางที่ผลิตไฟให้จ่ายค่าไฟตามปกติแต่ถูกกว่าราคาของการไฟฟ้า 20 % เมื่อผ่านไฟ 15 ปียกโครงการทั้งหมดให้ก็มี ถ้าอยากทำเองเพื่อลดค่าไฟเดือนละ 1 ล้านบาท

%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b9%84%e0%b8%9f%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99

โซล่าร์เซลล์โรงเรียนศรีแสงธรรม มุงทางเดิน

ยกตัวอย่างค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ย 4.50 บาท ต้องติดตั้งโซล่าร์เซลล์ 1.7 เมกกะวัตต์ ใช้พื้นที่ประมาณ 18 – 20 ไร่ หากมีพื้นที่หลังคาโรงงาน ลานจอดรถ หรือพื้นที่ว่างก็เอามาคิดรวมเพื่อติดตั้งได้ ถ้าจ้างบริษัทติดตั้งขนาดนี้ราคากิโลวัตต์ประมาณ 40,000 บาท หรือ เม็กกะวัตต์ละ 40 ล้าน ซึ่งมีข่าวโครงการใหญ่ ๆ ติดตั้งกิโลวัตต์ละ 50 ล้านซึ่งแพงและจุดคุ้มทุนนาน ดังนั้น 1.7 เมกกะวัตต์ก็ลงทุนประมาณ 68 ล้านบาทสำหรับการติดตั้ง เมื่อประหยัดค่าไฟลงเดือนละ 1 ล้านบาทก็ใช้เวลา 68 เดือนหรือเท่ากับ 5 ปีกับอีก 7 เดือนก็ถึงจุดคุ้มทุน

14976803_1165652860218110_2544100659610419139_o

ซุ้มประตูทางเข้ายังเป็นโซล่าร์เซลล์

อายุการใช้งานของอุปกรณ์
แต่โซล่าร์เซลล์มีอายุการใช้งาน 25 ปีหรือ 300 เดือน หากไม่คิดค่าสูญเสียลงปีละ 0.2 % ของการผลิตก็จะประหยัดค่าไฟตลอดโครงการ 300 ล้านบาท จะมีค่าบำรุงรักษาคือเมื่อครบ 12 ปีต้องเปลี่ยนอินเวอร์เตอร์คิดเป็น 10 % หรือน้อยกว่านั้นของค่าติดตั้งที่ต้องจ่ายประมาณ 6.8 ล้าน แต่เมื่อรวมกับการติดตั้งครั้งแรก 68 ล้านและอีก 12 ปีต่อมาเปลี่ยนอุปกรณ์อีก 6.8 ล้านก็จะเท่ากับ 74.8 ล้านบาท เมื่อหักรายได้รวม 300 – 74.8 = 225.2 ล้าน
อันนี้เป็นการคิดอย่างหยาบในทางปฏิบัติอาจจะต้องมีค่านั่น ค่านี่ตามกลไกของการตลาดหรือรายจ่ายซ๋อนเร้นอย่างอื่น จะเห็นได้ว่าแม้ไม่ต้องขายมีค่าแอดเดอร์แค่ใช้ไฟไม่ต้องจ่ายก็มีรายได้เพิ่มขึ้นยิ่งทางธุรกิจที่มีการแข่งขันเมื่อต้นทุนด้านพลังงานลดลงย่อมได้เปรียบคู่แข่ง

sola-edge

sola edge


เทคโนโลยีการผลิตไฟอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นอย่างเช่น sola edge เป็นอินเวอร์เตอร์ที่สามารถเพิ่มการผลิตมากกว่าปกติถึง 25 % หากมีการใช้โซล่าร์เซลล์อย่างแพร่หลายการจ้างงาน การค้าขายวัสดุอุปกรณ์ติดตั้งเหล็ก หิน ปูน ทรายก็จะขายได้ หรือภาคการศึกษาก็จะมีเรื่องวิจัยและพัฒนาแผ่นโซล่าร์ของเราเอง วิจัยระบบการจัดเก็บพลังงาน การบริหารพลังงานที่มีอยู่เฉพาะกลางวันแล้วมาใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์เพราะจะมีคำถามให้ตอบอยู่เรื่องว่ากลางคืนใช้ยังไง คงไม่มีใครไปบังคับให้ดวงอาทิตย์ส่องแสงมาได้ ณ ตอนนี้ก็ต้องหาวิธีบริหารจัดการเหมือนเราได้ปลามาตัวหนึ่งคนฉลาดย่อมเลือกกินเนื้อก่อนจะกินกระดูกให้มันติดคอตัวเอง นอกจากนี้ยังคาดหวังว่าจะเกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจรากหญ้าเพราะช่างส่วนใหญ่ที่ติดตั้งคงจะเอาตังค์ไปซื้อปลาทูให้ลูกกินไปโรงเรียนมากกว่าายทุนโซล่าร์ฟาร์มที่เอาเงินไปเก็บในธนาคาร บางทีโซล่าร์เซลล์อาจจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจและสังคมที่สลบนิ่งให้มีชีวิตชีวาก็ว่าได้

ปล.นำเสนอแนวคิดอย่างหยาบ ๆ หากจะลงมือจริงต้องเก็บรายละเอียดข้อมูลการใช้ สถานที่ ความเข้มของแสง และอีกหลายอย่าง แต่เป็นไปในแนวทางนี้

คนค้นคน : https://www.youtube.com/watch?v=RBpOfQpygJs&t=127s

รายการทีวี อดีตรองประธานาธิบดี อัลกอร์ของ อเมริกา : https://youtu.be/DsHhec4Nnso