Agriculturalization

Agriculturalization
The area roughly about 34 rais (13.4 acres) in Wat pasisaengtham is continuously to develop according to the project called land development follows the principle of new agriculture theory: Khok Nong Na Model. The idea is to transform the empty unuse land to create a model of lifelong learning center regarding agriculture under the purpose of life and community development. Hence, the idea also applies the principle of religion as well as the concept of Bio Circular Green economy policy (government’s latest economy policy) in order to uplift the grassroot economic which altogether its aim to derive the sustainability. Today, the daily food resources that is serving 200+ students together with teachers in Wat pasisaengtham school come from the project. The surplus products also give out to temple nearby and people in need.

In the future, this 34 rais of land will include the “Dharma Garden”, which set up to be a meditation place for people who visit, and for monk, this garden is a proper place for practice.
“Property only with us until the last breath, however, the development in property especially in the religion property, will lives forever and will distribute for others”. This devoted will count as a meritorious deed that will support others, community, religion and country and it will be witnesses generation through generation.

Today, this project of agriculturalization will once again, boosted its progress right after the end of Buddhist Lent period. There will be experts such as Associate Professor Worrawan Rojjanapaiboon, Professor assistant Phichet Sowitthayakul altogether with the team from King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang and the team of engineers from Khon Kaen University, that will join hands together to design and develop the area for better use. Moreover, there will be a kick off of a newly project called “Smart Intensive Farming” as well.
Thank you
Phra Panyawachiramoli Susen, Wat pasisaengtham

อารยเกษตร
โครงการพัฒนาพื้นที่ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์ : โคก หนอง นา วัดป่าศรีแสงธรรม บนเนื้อที่ 34 ไร่ เป็นศูนย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยวัดป่าศรีแสงธรรมได้ดำเนินการพัฒนาวัด พัฒนาคน พัฒนาชุมชน ตามหลัก “บวร” คือบ้าน วัด โรงเรียนและราชการ เป็นแนวทางการพัฒนาคนในทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน ให้ความรู้คู่คุณธรรมกับนักเรียน ให้ความรู้คู่คุณธรรมนำสู่สัมมาชีพให้กับคนในชุมชน และเป็นโมเดลต้นแบบของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก สอดรับกับนโยบาย BCG Economy เป็นเกษตรอินทรีย์วิถีธรรม ในแปลงพระราชทานโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง (วัดป่าศรีแสงธรรม) 20 ไร่ และ 15 ไร่ รวมเป็น 35 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน เป็นแหล่งอาหารให้กับครูและนักเรียน 200 กว่าคนในแต่ละวันในโรงเรียนศรีแสงธรรม และเผื่อแผ่ไปตามวัดวาอารามต่าง ๆ เพื่อให้ความอนุเคราะห์เกื้อกูลญาติโยมที่มาสัมผัสสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน หรือกลุ่มผู้ยากไร้ ผู้ประสบภัยต่าง ๆ

พื้นที่ 34 ไร่จะทำเป็นอุทยานธรรมะ เชิงเกษตรพอเพียง ปลูกป่าปลูกผักระยะเริ่มต้น ควบคู่กับสถานปฏิบัติธรรมที่สงบสงัดวิเวก เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม
การแสวงหาทรัพย์สมบัติมากมายแค่ไหนก็อยู่กับเราได้แค่วันตาย ไม่รู้จะเปลี่ยนไปหาใครบ้าง แต่การพัฒนาที่ดิน และซื้อถวายวัดเป็นสมบัติติดตัวเราไปทุกภพทุกชาติ ไม่ได้เปลี่ยนมือไปไหน ยังอยู่คู่กับพระศาสนา และอยู่คู่ประเทศไทยสืบต่อไป เมื่อเราให้ทั้งคุณธรรมทั่งความรู้ย่อมเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ในการสร้างอุทยานธรรมะ เพราะผู้มีปัญญา ย่อมหาทรัพย์ได้ การให้ธรรมะ(วิชา) ชนะการให้ทั่งปวง

โครงการพัฒนาที่ดินแปลงวัดป่าศรีแสงธรรม 34 ไร่ เพื่อเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมโคก หนอง นา อารยเกษตร วัดป่าศรีแสงธรรม บ.ดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี จะดำเนินการขุดในช่วงออกพรรษา หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล และทีมงานจาก สจล. และวิศวกรจิตอาสา มข. ช่วยออกแบบพื้นที่ ให้โคกอีโด่ยวัลเล่ย์ เป็น Smart Intensive farming
ขออนุโมทนาขอบคุณทุกท่านมา ณ โอกาสนี้

Smart Intensive Farming Sisaengtham

ใส่ความเห็น