บัตลาร์ตประหยัดไฟ T5

บัลลาสต์เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นและมีความสำคัญในวงจรแสงสว่าง เพราะนอกจากจะช่วยในการทำงานของวงจรให้สมบูรณ์แล้วยังมีผลต่อปริมาณแสงสว่าง อายุการใช้งาน และพลังงานไฟฟ้าสูญเสียในวงจรด้วย หน้าที่ของบัลลาสต์มีอยู่สองอย่างที่สำคัญ คือ ช่วยสร้างให้เกิดแรงดันเพียงพอในการจุดหลอดก๊าซดีสชาร์จให้ติด ควบคุมปริมาณกระแสไฟฟ้าผ่านวงจรขณะสตาร์ตและทำงาน และกำลังไฟฟ้าที่จ่ายให้หลอด ให้มีค่าเหมาะสม

กิจกรรมนี้เป็นการศึกษาทดลองนำบัลลาร์ตแบบ T5 มาเปลี่ยนกับบัลลาร์ตแบบขดลวดเดิม ซึ่งกินไฟประมาณ 60W.จนลดลงเหลือเพียง 12.66W.ซึ่งเป็นหนึ่งกิจกรรมประหยัดพลังงานในโรงเรียน ของโรงเรียนศรีแสงธรรมซึ่งได้นำมาสู่กิจกรรมเสริมหลักสูตรให้กับนักเรียนที่สนใจ รวมทั้งชุมชนที่ต้องการศึกษาด้วย

ก่อนทำการเปลี่ยนวัดกระแสไฟฟ้าได้ 0.30 A.

ได้นำหลอดT5 ที่เสียแล้ว โดยได้รับความอนุเคราะห์จากอ.นันท์ ภักดี มาแกะเอาบัลลาร์ตอีเลคโทรนิค ซึ่งมีหน้าตาแบบนี้

เมื่อต่อเสร็จแล้วทดลองเปิดไฟดูพบกว่าใช้กระแสเพียง 0.06A

จากการสังเกตที่แรงดันไฟ 210 V. กระแส 0.06 A. ยังมีความสว่างไม่ค่อยแตกต่างกัน แต่ส่วนที่ต่างกันคือ กำลังไฟฟ้าที่ลดลงจากเดิม 60 W.ลดลงเหลือ 12.66 W.
หาได้จาก P = IV
P = 0.06 X 210
P = 12.6 W.
ทำให้ประหยัดไฟฟ้าลงเกือบห้าเท่าเลยทีเดียว

เฉลย คณิตศาสตร์ ม.6 O-NET 53 54

เฉลยข้อสอบโอเนต คณิตศาสตร์ 53 ม.6
ข้อมูลจาก ติวฟรี ดอทคอม
ข้อ 1.

ข้อ 2

ข้อ 3

ข้อ 4

เฉลยข้อสอบโอเนต คณิตศาสตร์ 54 ม.6

เด็กไทยไม่เอาถ่าน

ถ่านไฟที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือประกอบด้วยสารอันตรายหลายชนิด ไส้แบตเตอรี่ในโทรศัพท์มือถือที่ท่านต้องเปลี่ยนตามเวลาทุก 12-18 เดือนนั้น กำลังจะเป็นปัญหาที่น่ากลัวสำหรับตัวท่านเอง ลูกหลานและมนุษยชาติในอนาคต ไส้แบตเตอรี่ที่ใช้ในถ่านโทรศัพท์มือถือมี 2 ชนิด คือ ชนิด NICAD (Nickel Cadmium Cells) และ Hydride (Nickel Metal Hydride Cells) สารประกอบที่ใช้ในถ่านชนิดแรกคือ NICAD จัดเป็นขยะอันตรายที่จะก่อโทษกับสุขภาพของคน และเกิดมลภาวะในสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากขั้วลบของถ่านชนิดนี้เป็น แคดเมียมไฮดรอกไซด์ เมื่อบรรจุไฟแล้วจะกลายสภาพเป็นแคดเมียม ซึ่งเป็นสารก่อพิษในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก แคดเมียมเป็นโลหะหนัก มีอยู่ในธรรมชาติจำนวนน้อย หากได้รับเข้าไปทีละน้อยจากการหายใจ กินหรือดื่ม ก็จะเกิดพิษเรื้อรังทีละน้อย ด้วยอาการสำคัญคือ ไตอักเสบ ไตวาย ข้อเสื่อม ถุงลมปอดโป่งพอง ระบบหายใจผิดปกติ และทำให้เกิดมะเร็งในอวัยวะหลายชนิด ที่น่ากลัวคือ แคดเมียมที่ถูกทิ้งจากการอุตสาหกรรม หรือแบตเตอรี่จะปนเปื้อนเข้าในดิน น้ำ ซึ่งสัตว์และพืชจะรับเข้าไปในตัว เมื่อคนกินสัตว์หรือพืชเข้าไป ก็จะได้รับแคดเมียมสะสมเข้าไปในปริมาณที่เกิดพิษได้ง่าย ขณะนี้ตัวเลขที่ได้จากการจดทะเบียนมือถือทั่วประเทศมีจำนวนมาก และมีจำนวนไม่น้อยที่ใช้แบตเตอรี่แบบ NICAD ซึ่งแต่ละก้อนจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี ดังนั้นจะมีแบตเตอรี่ NICAD เป็นพิษทิ้งจำนวนหลายล้านก้อนต่อปี ขณะนี้มีประชาชนที่รู้ถึงพิษของขยะอันตราย และพยายามแยกขยะ แต่ก็ไม่สามารถที่จะหาที่ทิ้งที่ถูกต้อง หรือหาหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงได้

กิจกรรมใช้แบตเก่ามือถือกับวิทยุ ไฟฉายนี้ เพื่อลดการใช้พลังงานจากถ่านไฟฉายประเภทที่ใช้แล้ว ลดปริมาณขยะพิษจากถ่านไฟฉายที่ใช้แล้ว และลดปริมาณแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วจากโทรศัพท์มือถือ โดยยึดหลักการนำวัสดุที่เหลือใช้ให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อีก สามารถทดแทนการใช้ถ่านไฟฟ้าและรักษาสิ่งแวดล้อม วิธีทดสอบโดยการนำแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว จำนวน ๑ ก้อน นำมาดัดแปลงโดยต่อบัดกรีขั้วบวก ขั้วลบเข้ากับแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว จากกนั้นนำไปชาร์ตแบตมาทดสอบกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ไฟฉาย วิทยุ
เริ่มจากรวบรวมแบตเตอรี่มือถือที่ไม่ใช้แล้ว มาตรวจเช็คสภาพ แรงดันของแบตเตอรี่ จากนั้นก็ต่อสายชาร์ตเข้ากับแบตเตอรี่ โดยผ่านไดโอด เพื่อป้องกันไฟย้อนกลับ เสร็จชาร์ตแบตเตอรี่ให้พร้อมสำหรับการใช้งานเป็นเวลา ประมาณ ๒ ชั่วโมง หลังจากนั้นตรวจวัดแรงดันไฟฟ้าในแบตเตอรี่ที่ชาร์ตเสร็จแล้วว่ามีกำลังเพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ ค่อยนำไปต่อกับอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ต้องการใช้งาน ตรวจแรงดันของแบตเตอรี่ที่ได้มา

จอยบัดกรีขั้วแบต

คุณครูที่สนใจสามารถทำได้


ชุมชนให้ความสนใจ

ไม่เว้นกระทั่งเด็กๆก็ยังสนใจ กับ อาจารย์ นัน ภักดี วิทยากรพลังงานทดแทน

แรงดันที่วัดได้จากการซ่อมแบตเตอรี่ มากกว่าที่เขียนไว้ข้างก้อนแบตอีก

นำไปต่อเข้ากับไฟฉาย


ประยุกต์ใช้กับวิทยุก็ได้ สามารถประหยัดเงินซื้อถ่ายไฟฉายไปได้เยอะเลย

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก อ.นันท์ ภักดี และคณะ ที่มาอบรมบ่อยๆ