โรงน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์

โรงน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์โรงเรียนศรีแสงธรรม

โรงน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์โรงเรียนศรีแสงธรรม

โรงน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์โรงเรียนศรีแสงธรรม

น้ำดื่มของโรงเรียนเดิมได้ติดตั้งเครื่องกรองน้ำมาเจาะแอ่งดินเพื่อให้นักเรียนได้ดืม ตอนเย็นก็จะล้างแอ่ง ตอนเช้าจะเปิดน้ำเข้าใหม่ แต่ปัญหาคือหน้าฝนจะมีตัวแมลงชอนไซเข้าไปอยู่ภายในน้ำแม้จะกรองแล้วแต่ตัวสัตว์ยังเข้าทางแอ่งดินได้จึงไม่ถูกสุขอนามัย ทางโรงเรียนจึงมีโครงการจัดตั้งน้ำดื่มของโรงเรียนใหม่เพื่อให้สะอาด ถูกสุขะอนามัย

แอ่งน้ำดื่มโรงเรียนศรีแสงธรรม

แอ่งน้ำดื่มโรงเรียนศรีแสงธรรม

โครงการน้ำดื่มสะอาดของโรงเรียนจะติดตั้งถังกรองจากขนาดเล็กไปก่อนตามงบประมาณที่มีอยู่เพื่อกรองน้ำใส่ถังน้ำดื่มและแ่ผ่นโซล่าเซลล์ไว้บนหลังคาอาคารเพื่อผลิตไฟฟ้าจ่ายลงให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในระบบน้ำดื่ม

แบบโรงน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์

แบบโรงน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์

ระบบผลิตไฟฟ้าจะทำเป็นแบบออนกริด และอ๊อฟกริดจาก อินเวอร์เตอร์ 1,000 วัตต์ ใช้แบตเตอรี่เก่ามาปรับกรด เพื่อกับประจุไฟฟ้าเพื่อใช้ในโรงน้ำดื่ม ทั้งนี้ยังสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้การประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในภายให้เหมาะสม

แผ่นโซล่าเซลล์ขนาด 1,800 W.

แผ่นโซล่าเซลล์ขนาด 1,800 W.

น้ำเลี้ยงปลารดผัก

ปลูกผักสวนครัวรอบโรงน้ำดื่ม

นอกจากนี้น้ำในบ่อรอบโรงน้ำดื่มมีผู้ใจบุญเอาปลาดุกมาปล่อยไว้จำนวนมาก จึงได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเพิ่มอ๊อกซิเจนให้กับปลา รวมทั้งนำพืชน้ำมาปล่อยคือจอก เมื่อขยายตัวเต็มที่ก็นำกลับมาทำปุ๋ยหมัก ส่วนน้ำที่เลี้ยงปลาก็นำมารดในแปลงผักรอบๆโรงน้ำดื่มเพื่อเป็นโครงการอาหารกลางวันโดยปลูกไปตามท่อซีเมนต์ และยางรถยนต์เก่าเอามาตัดเป็นกระถาง

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาสูบน้ำช่วยบำบัดน้ำเสีย

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาสูบน้ำช่วยบำบัดน้ำเสีย

ทั้งนี้กิจกรรมปลูกผักบุ้งในีท่อซีเมนต์ไว้สำหรับอาหารกลางวันของโรงเรียนที่ทางโรงเรียนจัดไว้สำหรับนักเรียนโดยใช้งบจากการบริจาคข้าวเปลือกในแต่ละปีที่จัดงานบุญประทายข้าวเปลือก และปีนี้ได้จัดทำไฟฉายขอข้าวอีก ให้เพียงพอต่อจำนวนเพิ่มขึ้น จากการสำรวจเมนูอาหารกลางวันพบว่าแต่ละสัปดาห์จะมีหนึ่งวันที่ใช้ผักบุ้งประกอบอาหาร 15 กก.ราคาก็ 5-10 บาทต่อกิโล

นักเรียนช่วยกันปลูกผักบุ้งในแต่ลสัปดาห์

นักเรียนช่วยกันปลูกผักบุ้งในแต่ลสัปดาห์

หากเราซื้อเมล็ดผักบุ้งมาปลูกเองบนพื้นที่ 12 ตารางเมตร โดยปลูกครั้งละ 4 ตารางเมตร เว้นไปอีก 7 วัน ก็ปลูกอีก 4 ตารางเมตร และชุดสุดท้ายจะปลูกอีก 4 ตารางเมตร และหมุนวนไปตลอดจะทำใ้ห้มีผักบุ้งทุุุกสัปดาห์หากเราลดการซื้อลงสัปดาห์ละ 15 กิโลก็สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายของโรงเรียนลงไปได้เดือนละประมาณ 500 บาท

ถ้าเหลือนักเรียนก็เอากลับไปทำอาหารกินที่บ้าน

ถ้าเหลือนักเรียนก็เอากลับไปทำอาหารกินที่บ้าน

การรดน้ำผักบุ้งไม่ต้องการน้ำมาก เราสามารถที่จะสูบน้ำจากบ่อรอบโรงน้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์มารดผักบุ้งโดยในบ่อจะเลี้ยงปลาดุกไว้ดูเล่นเอาน้ำเลี้ยงปลามาเป็นปุ๋ยให้กับผักเพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี และยังมีปุ๋ยน้ำหมักเศษอาหาร กับปุ๋ยหมักไม่พลิกกองกลับ เอามาเป็นธาตุอาหารให้ผักบุ้งซึ่งเป็นปุ๋ยที่เราผลิตเอง

ผักบุ้งไฟโซล่าร์

วันธรรมดาก็เอาไปผัดกินเองได้ค่ะ

การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ 1,800 W. สามารถผลิตไฟฟ้าประมาณ 3,000 หน่วยต่อปี หากคิดว่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.5 บาทก็จะประหยัดค่าไฟฟ้าประมาณ 13,000 บาทต่อปี และยังลดปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซค์ปีละประมาณ 2,000 กิโลคาร์บอน ซึ่งการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลทำให้เกิดคาร์บอนไดอ๊อกไซค์สู่ชั้นบรรยาการอันเป็นสาเหตุให้โลกร้อน 564 กรัมต่อ 1 หน่วยไฟฟ้า
การปลูกผักบุ้งสัปดาห์ละ 4 กระถาง ซึ่งได้ประมาณ 15 กิโลกรัม หากคิดกิโลกรัมละ 30 บาทก็จะสามารถประหยัดรายจ่ายประมาณ 20,000 บาทต่อปี
นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของการพึงพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีหลายรูปแบบไม่ได้จำกัดเฉพาะการเกษตรเท่านั้นแต่ประยุกต์ได้ในหน่วยงาน องค์กร จนถึงระดับประะเทศ จำนวนเงินแม้ไม่มากแต่คุณค่า การปลูกฝังค่านิยมการพึ่งตนเองในทุกๆด้าน การฝึกความขยัน อดทน ประหยัดการสร้างหลักคุณธรรมในจิตใจนักเรียน รู้จักใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการเรียนรู้ภาคปฏิบัติ ย่อมมีค่ามากกว่าสมบัติใดๆคือจิตใจคนที่เข้าถึงธรรม เมื่อถึงธรรมก็คือถึงสุข เมื่อถึงสุขก็คือบุญเกิดขึ้นแล้ว

ทางโรงเรียนได้เปิดขอรับบริจาค เครื่องกรองน้ำ เครื่องทำน้ำเย็น และถังเก็บน้ำฝน ในโครงการจัดหาน้ำดื่มสะอาดให้กับนักเรียนได้ดำเนินการก่อสร้างติดตั้งจนแล้วเสร็จ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 160,705 บาท โดย
1. ค่าก่อสร้างอาคาร 32,705 บาท
2. ค่าติดตั้งระบบกรองน้ำ 52,000 บาท
3. ค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 75,000 บาท
ได้รับการบริจาคทั้งสิ้นรวม 70,470 บาท

หากท่านใดสนใจร่วมบริจาคน้ำดื่มให้กับโรงเรียน สามารถร่วมบริจาคได้ที่ บัญชี
“โรงเรียนศรีแสงธรรม” ธ.กรุงไทย สาขา เทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร เลขที่บัญชี 862-0-064355 หรือ
บัญชี “กองทุนการศึกษาวัดป่าศรีแสงธรรม” ธ.กรุงเทพ สาขาย่อยเทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร เลขที่ 786 006 3333

ทั้งนี้ท่านยังสามารถนำใบเสร็จรับเงินไปลดหย่อนภาษีที่กรมสรรพากร ได้ 2 เท่าของเงินบริจาค (http://www.rd.go.th/publish/28653.0.html)
หากท่านบริจาคแล้วสามารถส่งหลักฐานการโอนได้ที่ sisaengtham@hotmail.com
หรือติดต่อ พระครูวิมลปัญญาคุณ 08 6233 134

4 พ.ย.58

ไฟฉายขอข้าวเพื่อโครงการอาหารกลางวัน

ไฟฉายขอข้าว เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน

ไฟฉายขอข้าว เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน

การประยุกต์ใช้โซล่าร์เซลล์ในรูปแบบต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อการสอน และนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนเพื่อโครงการอาหารกลางวันจนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย

ไฟฉายขอข้าว

ไฟฉายขอข้าว

ไฟฉายขอข้าว

เป็นโครงการผลิตไฟฉายโซล่าเซลล์จำหน่ายเพื่อจัดหารายได้โครงการอาหารกลางวันที่โรงเรียนได้เลี้ยงอาหารกลางวันฟรีสำหรับนักเรียนโดยมี่รายได้ของโครงการจากการประหยัดไฟฟ้าของโรงเรียนที่ใช้โซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าใช้ แต่ปัจจุบันทางการไฟฟ้าให้ปลดโซล่าเซลล์ออกเพราะผิดระเบียบการไฟฟ้า เดิมค่าไฟเดือนละ 40 บาท จนถึ่ง สองร้อยกว่าบาท ตอนนี้ต้องมาจ่ายเดือนละ หกพันกว่าบาททำให้เงินค่าอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนที่เคยมีต้องหายไป

นักเรียนช่วยกันทำไฟฉายเพื่อเป็นค่าอาหารกลางวัน

นักเรียนช่วยกันทำไฟฉายเพื่อเป็นค่าอาหารกลางวัน

รายได้โครงอาหารกลางวัน อีกส่วนได้จากการบริจาคข้าวเปลือกขอผู้ปกครองนักเรียนนำมาให้โรงเรียนไปขายเพื่อซื้อกับข้าวมาทำให้นักเรียน และเงินบริจาคบางส่วนจากเงินนิยภัตของพระครูวิมลปัญญาคุณที่ได้รับเดือนละ 2,300 บาท

ช่วยกันแยกอุปกรณ์ไฟฉายขอข้าว

ช่วยกันแยกอุปกรณ์ไฟฉายขอข้าว

รวมทั้งรายได้จากการขายข้าวเปลือกที่ผู้ปกครองบริจาคมาได้ปีละประมาณ สี่หมื่นบาทแต่ค่าอาหารกลางวันจะตกปีละแสนบาท ทำให้ต้องหารายได้มาเข้าโครงการด้วยการจัดทำไฟฉายที่มีต้นทุนชุดละ 700 บาท มาให้นักเรียนและครูช่วยกันประกอบในช่วงวันหยุด และจัดส่งในราคา 1,000 บาท เพื่อจะนำรายได้ทั้งหมดเข้าโครงการอาหารกลางวันจึงเป็นชื่อว่า ไฟฉายขอข้าว

ถวายไฟฉายขอข้าวพระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา

ถวายไฟฉายขอข้าวพระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา

ทั้งนี้ยังเป็นการปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักพึ่งพาตนเองไม่หวังพึ่งคนอื่นด้วยการขออยู่ร่ำไป แต่ให้รู้จักนำความสามารถมาแลกเอา รู้จักประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมอยู่เสมอ เป็นการประยุกต์หลักการพึ่งพาตนเองให้เข้ากับบริบทของตนเองที่สามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต

ไฟฉายขอข้าว เป็นชุดคิทสำหรับสอนนักเรียนและผู้เข้าอบรมรถเข็นนอนนารุ่น 3 แต่สั่งมาห้าสิบชุดเกรงว่าจะเหลือจึงนำมาโพสต์แต่ได้รับความสนใจสั่งจองเป็นจำนวนมากจากคิดว่าจะจำหน่ายได้ประมาณ 50 ชุด แต่มียอดสั่งเข้ามาเพิ่มทางโรงเรียนจึงได้จัดหามาเพิ่มอีก 100 และ 50 ชุุด ในครั้งที่ 2 ก็ยังไม่พอกับผู้มีจิตศรัทธาและผู้ประสงค์จะใช้พลังงานแสงอาทิตย์
ทางโรงเรียนจึงได้สั่งมาเพิ่มเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการอีก 100 ชุด รวมเป็น 300 ชุด

11010588_851042191679180_7075524157939823789_n

คุณรสนา โตสิตระกูล ช่วยแนะนำไฟฉายขอข้าว

ด้วยเป็นชุดคิดแม้จะเปิดไฟฉายที่ทดลองเปิดจากห้าทุ่มจนสว่างก็ยังติดอยู่แต่ไฟจะหรีลง หรือการชาร์จมือถือได้ ปัญหาด้านคุณภาพแบตเตอรี่รถบังคับวิทยุอาจจะมีอายุประมาณ 1 ปี(ยังไม่แน่ใจ) หากใช้ไปนานเข้าแบตเตอรี่จะเสื่อมการศึกษาวงจรเพื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่เองก็ควรศึกษาเพื่อใช้งานให้เต็มประสิทธิภาพของแผ่นที่มีอายุประมาณ 10 ปี

ดร.โอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ช่วยสนับสนุน

ดร.โอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ช่วยสนับสนุน

ยุคนี้หลักพอเพียงดีที่สุด การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานก็ไม่ชัดกับหลักพอเพียง การพอประมาณ การประหยัดและอนุรักษ์พลังงานควรเป็นค่านิยมที่จำเป็นสำหรับเราทุกคน

นายนิกร สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

นายนิกร สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี

ท่านที่ประสงค์จะร่วมสนุนโครงการ ชุดละ 1,000 บาท ค่าส่งชุดล 82 บาท
สามารถสั่งจองได้ที่หน้าเฟสบุ๊ค “โรงเรียนศรีแสงธรรม”https://www.facebook.com/sisaengtham.ac.th และชำระเงินได้ที่บัญชีของครูชมรมพลังงานทดแทน บัญญชี
“น.ส.ณัฐวดี เฉลิมศรี 786-0-15332-4 ธ.กรุงเทพ สาขาเทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร

หากโอนเสร็จกรุณาส่งหลักฐานการโอนเงิน ชื่อที่อยู่เพื่อจัดส่งทาง Inbox หรือที่ sisaengtham@hotmail.com

ความรู้สู้ภัยแล้ง

โรงเรียนศรีแสงธรรมทดสอบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

โรงเรียนศรีแสงธรรมทดสอบระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์

รัฐบาลมีนโยบายให้กระทรวงพลังงานกับธ.ก.ส.ให้กู้ติดโซล่าเซลล์สู้ภัยแล้ง แต่ศรีแสงธรรมให้ความรู้สู้ภัยแล้ง แม้จะคนละแนวทางแต่เป้าหมายเดียวกันคือลดปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร

การเก็บกักน้ำบนผิวดินมีข้อเสียตรงที่น้ำระเหยเร็วหากเราไม่มีที่มุงบังให้ แต่ข้อดีคือมีแหล่งน้ำอยุ่แล้ว หากจะขุดสระเพื่อทำเกษตรใหม่อาจจะทำให้เสียพื้นที่ไปเยอะหากเรามีพื้นที่น้อยการหาแหล่งน้ำด้วยการเจาะบาดาลขึ้นมาใช้อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ อีกทั้งการเก็บน้ำใต้ผิวดินจะข่วยเรื่องการระเหยของน้ำได้ดีกว่า

แผ่นโซล่าร์

โซล่าเซลล์กำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย การให้ความรู้เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้หรือผลิตเองเป็นสิ่งจำเป็นหากไม่มีความรู้เวลาต้องบำรุงรักษาอาจจะเป็นเรื่องยากในการหาคนมาซ่อมแซม การมีความรู้บ้างจึงเป็นเรื่องจำเป็นในระบบโซล่าเซลล์

ศูนย์เรียนรู้

ซับเมิส 3 แรง คือ เครื่องสูบน้ำลึกที่ระดับ 80 เมตร โดยใช้แผ่นโซล่าเซลล์มือสอง Suntech 280 w. จำนวน 9 แผ่น โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ สูบน้ำ 8,000-10,000 ลิตรต่อชั่วโมง หากคำนวนปริมาณดีๆ สามารถทำถึงไว้บนดินแล้วส่งเขาไปในพื้นที่เกษตรได้ตลอดทั้งปี แล้วอย่างนี้จะมีหรือภัยแล้ง

ซัพเมิสกับโมดูล
นี่ล่ะผู้เฒ่าโบราณเพิ่นว่า
“ไผว่าอิสานแล้งสิ่จูงแขนมันไปเบิ่ง น้ำบาดาลไหลโจ้นๆมันสิ่แห้งบ่อนจั่งได๋”

ชุดควบคุม