Solar Sharing Sisaengtham

โครงการพระราชทานโคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง (วัดป่าศรีแสงธรรม)

Solar Sharing Sisaengtham
“Battery Energy Storage System (BESS)”
Today, Khok E Doiy valley not just having an “Agriculture Learning Center” but it also contains an “Alternative Power Learning Lab” which currently under an examination of solar sharing for agriculture crop. This experiment will focus on growing organic crop & plant underneath solar roof.

ป้ายด้านหน้าโครงการพระราชทาน

This examination conducts the installation of a 90 kWp. of solar panel together with a 500-kWh. energy storage. The idea is to have a transparent solar panel that absorb sunlight for power and having it shine through the panel for crop to grow under it. This storage of power system called Battery Energy Storage System (BESS) is the work of 3 parties which are National Science and Technology Development Agency (NSTDA), Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) and Wat Pasisaengtham.

The purpose of this project is aim to reduce the fluctuate of electric current that derive from alternative power source and with this BESS system, it will act as a storage power room that can store a daily remaining power or use it to store power during the time of off-peak use. Hence, this power could bring to use when needed or when the conventional power system is off.

Solar sharing sisaengtham

This is an experiment of the future of electricity. It can be charge and dis-charge and it is made to work with RE100 policy which is currently a world’s clean energy trend.

In term of factory production, during peak hour, this BESS can generate power for supporting a conventional power system, and regarding this, it could help reduce expense as well.

The Solar Sharing Sisaengtham consist of 2 parts, first, a sharing of sun light between transparent solar panel and crop that grow underneath, second, the power derive will be use within the temple. in the future, when prosumer electric system is well established, there is an idea of selling these remaini ng unuse power according to it as well.

Floating solar

In case of crop growing underneath transparent solar panel, the good thing is that, this solar panel can reduce the temperature before it touches the ground, reduce a strong power of sunlight and reduce the chance of soil’s water loss. As a result, this idea can help an agriculture crop grow properly, saving up money for user and the use of clean energy is the way for creating sustainability for the world. Today, Wat Pasisaengtham together with partners will soon carry out the experiment of “Agrivotaics” or “Agrophotovoltaics” and you will hear the result of success very soon.

Thank you to:

  • National Science and Technology Development Agency (NSTDA)
  • Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT)
  • Professor Assistant Dr. Chamnan Bunyaphutthiphong who is the designer of the “Alternative Power Learning Lab” in Khok E-Doiy Valley.

For further information please contact:
Tel. 086-233-1345
Facebook, Phrakhruwimonpanyakun Nopporn Susen
Line ID, sisaengtham

ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย

Solar Sharing Sisaengthag
พร้อมระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงาน ( BESS)
ศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีพลังงาน และการเกษตรโคกอีโด่ยวัลเล่ย์ กำลังออกแบบระบบโครงการโซล่าร์ปันแสง โดยใช้พื้นเพาะปลูกข้าว และพืชผักใต้แผ่นโซลาร์เซลล์ โดยแผ่นโซล่าร์เซลล์สามารถผลิตพลังงานไปพร้อมกับการปลูกพืชผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ

การติดตั้งโซลาร์เซลล์ขนาดกำลังผลิตสูงสุด 90 Kwp. พร้อมกับมีระบบกักเก็บพลังงานเป็นแบตเตอรี่ 500 kwh. เพื่อสามารถรองรับการชาร์จพลังงานจากแผ่นโซลาร์เซลล์ชนิดโปร่งแสงที่จะติดตั้งในวัดป่าศรีแสงธรรมซึ่งเป็นพื้นที่พัฒนาในชื่อที่รู้จักทั่วไป “โคกอีโด่ยวัลเล่ย์” (แหล่งรวมพลคนอัจฉริยะ) เป็นการทดสอบระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่สุดล้ำเรียกว่า BESS (Battery Energy Storage System) ของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และวัดป่าศรีแสงธรรม

การทดลองวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความผันผวนที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน โดยมีการปรับสมดุลของพลังงานด้วยระบบกักเก็บพลังงานแบบแบตเตอรี่ (BESS) ที่กักเก็บสะสมพลังงานจากการผลิตไฟฟ้าของโซล่าร์เซลล์ ที่เหลือใช้ในแต่ละวัน หรือเก็บพลังงานไว้ที่แบตเตอรี่ในช่วงเวลาที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ เพื่อนำมาใช้จ่ายไฟในช่วงเวลาที่ต้องการใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก หรือใช้ในช่วงที่ไฟฟ้าจากสายส่ง(Grid)ดับ ระบบแบตเตอรี่ก็จะใช้งานในรูปแบบ Stand alone
งานทดสอบระบบนี้เหมาะกับโรงงานผลิตไฟฟ้าในอนาคตที่สามารถชาร์จ และดิสชาร์จได้ รองรับนโยบาย RE100 ที่เป็นเทรนด์ของโลกพลังงานสะอาด (ส่วนตัวแล้วคิดว่าเป็นมาตรการกีดกันทางการค้าที่เราจะหนีไม่พ้น)

แนวคิดระบบ BESS นี้ยังสามารถนำไปตัดพีคในโรงงานหรือภาคธุรกิจ/ภาคอุตสาหกรรมในช่วงเวลาที่เกิดพีคก็ใช้ระบบนี้จ่ายเข้าไปแทนจะทำให้การคิดค่าไฟฟ้าลดลงได้ และยังลดจำนวนหน่วยไฟฟ้าลงด้วยโซลาร์เซลล์ การคิดคำนวนค่าไฟฟ้าย่อมลดลง


ถ้าติดตั้งโซล่าร์เซลล์ Maximum Load ระบบจะครอบคลุมการใช้ไฟฟ้าทั้งหมดส่วนที่เกินก็ชาร์จลงในแบตเตอรี่เก็บไว้ใช้ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ไฟฟ้าจากสายส่ง (Grid) ช่วงที่คิดค่าไฟฟ้าถูกคือช่วง Off Peak มาช่วยชาร์จลงในแบตเตอรี่แล้วเอาไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาจ่ายไฟช่วงค่าไฟฟ้าแพง On Peak

โครงการปันแสงมี 2 ลักษณะคือ 1) พืชผัก แบ่งแสงกับโซลาร์เซลล์แบ่งปันพลังงานกัน และ 2) การแบ่งปันพลังงานไฟฟ้าที่เก็บในแบตเตอรี่เอามาใช้ภายในวัด และติดตั้งเครื่องแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้กับชุมชน หรือชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมโครงการแก้ไขปัญหาความยากจนทั้ง 5 มิติ และยังมีแนวโน้มถึงการจำหน่ายไฟเมื่อเหลือใช้ ซึ่งเป็นแนวทางในอนาคตที่ระบบไฟฟ้าที่เป็น Prosumer จะมีมากขึ้น

ข้อดีอีกอย่างของการปลูกผักใต้โซล่าเซลล์ อาศัยให้แผงโซล่าช่วยกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ ลดอุณหภูมิ ลดแสงแดดที่เข้มจัด และลดการเสียน้ำในพืช ส่งผลให้ผลผลิตเติบโตได้ดีขึ้น แถมยังอาจช่วยลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน เป็น BCG ศรีแสงธรรม ‘ปลูกผักใต้แผงโซล่าเซลล์’ ภายในโคก หนอง นา วัดป่าศรีแสงธรรม จะทำการทดลองปลูกพืชแบบ agrivoltaics นั้น โดยโครงการนี้เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง สวทช. กฟผ. กฟภ. และ วัดป่าศรีแสงธรรม หรือจะเรียกชื่อว่า Agrivoltaics หรือ agrophotovoltaics


ขอบคุณ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ผศ.ดร.ชำนาญ บุญญาพุทธิพงศ์ ออกแบบอาคาร
ที่นี่จึงเป็นแหล่งทดสอบ ทดลองงานทางด้านเทคโนโลยีพลังงานกับการเกษตรอย่างยั่งยืน หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนาม

โคกอีโด่ยวัลเล่ย์

ศูนย์วิจัยพลังงานโคกอีโด่ยวัลเล่ย์

QuickWin #BCG #Energy #Economy #Sisaengtham

บ้านกินแดด

บ้านกินแดด

37085223_1841084039341652_2682955650496987136_n

บ้านดิน และบ้านกินแดด

บ้านกินแดดศรีแสงธรรม ตัวอย่างการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างในบ้านพักอาศัยสำหรับชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลจากสายส่งหรือไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ให้คนมีทางเลือกในการใช้พลังงานมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากสายส่งแค่ไหน หรือไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงเลย ถ้าอยากมีไฟฟ้าใช้ไม่ต้องไปออกข่าวอ้อนวอนนายกให้ยาก หรือไปทำเป็นบนบานศาลกล่าวกับเสาไฟฟ้า เอาสูตรนี้ไปลองทำดู 

โดยมีอุปกรณ์สำหรับชุดเล็กๆ สำหรับที่ต้องการใช้งานน้อย จึงแนะนำขนาด 300 วัตต์เป็นพื้นฐานสำหรับที่เหมาะกับงบประมาณ หากต้องการใช้งานมากขึ้น นานขึ้น หรือมีคนจำนวนมากก็ต้องใช้ขนาด 1,500 วัตต์ที่ติดตั้งไปกับรถนอนนา “ชุดนอนนา” โมเดล 1,500 วัตต์

 

แต่ถ้ามีงบประมาณน้อย หรือไม่ต้องการใช้มากบ้านกินแดดชุดนี้ก็สามารถใช้งานได้ดีเช่นกันโดยมีอุปกรณ์ดังนี้

37338451_1849289231854466_7465846551470931968_o

แผ่น 150  วัตต์ 2 แผ่น

  1. แผ่นโซล่าร์เซลล์ขนาด 150 วัตต์ 1แผ่นราคาประมาณ 3,000 บาท

2. คอนโทรลชาร์จ 10 แอมป์ราคาประมาณ 300 – 600 บาทแล้วแต่คุณภาพของแต่ละยี่ห้อ

3. แบตเตอรี่ 100 แอมป์ถ้าเป็นแบตรถยนต์ก็ไม่เกิน 3,000 บาท ส่วนที่นี่จะไม่แนะนำแบตเตอรี่รถยนต์ควรเป็นแบตเตอรี่แห้งราคาประมาณ 7,000 บาท

4. หากมีงบประมาณเพิ่มเติมอาจจะใช้อินเวอร์เตอร์เป็นตัวแปลงไฟกระแสตรงเป็นกระแสสลับ 220 โวลท์ขนาด 300 วัตต์ หรือไม่ต้องใช้ก็ได้ถ้าไม่มีความจำเป็น

50527314_2181838852130117_2638779210323197952_n

คอนโทรลชาร์จ 10 แอมป์

 

นอกนั้นก็เป็นอุปกรณ์การต่อ และสายไฟ ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นประเภทกระแสตรงหรือเรียกว่า DC 12 V. ทั้งหลอดไฟ หม้อหุงข้าว เตารีด พัดลม ทีวี เครื่องสูบน้ำ (ยังไม่มีเครื่องซักผ้า) เครื่องใช้เหล่านี้มีขายหมด

37173086_1847638142019575_2710415034277691392_o เพียงเท่านี้ก็เป็นบ้านกินแดดได้ทันทีด้วยอุปกรณ์ 3-4 ชิ้นเท่านั้น จะหุงข้าวสูบน้ำ รีดผ้า ชาร์จมือถือ ก็นับว่าเป็นตัวอย่างการประยุกต์โซล่าร์เซลล์เพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน จากโรงเรียนศรีแสงธรรม ซิลิคอน วัลเลย์ อุบลราชธานี

IMG_2360

ชุดเล็ก 300  วัตต์แบบเคลื่อนย้าย

แต่เวลาใช้งานจริง ถ้าใช้พร้อมกันทั้งหมดที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้นี้แผ่น 150 วัตต์แผ่นเดียวคงไม่ได้ไฟไม่เพียงพอในแต่ละวันอาจจะต้องเพิ่มจำนวนแผ่น หรือเพิ่มขนาดจาก 150 วัตต์ เป็น 330 วัตต์ 24 โวลท์พร้อมอินเวอร์เตอร์ เหมือนเช่นชุดนอนนา แต่รับรองว่าไม่ต้องใช้ไฟจากสายส่งเลยก็ว่าได้ ตัวอย่างชุดนอนนาขนาด 2,000 วัตต์ 


และแนะนำเรื่องการสูบน้ำไม่ควรใช้จากแผ่นเตอรี่เพราะแบตเตอรี่คือสิ่งที่แพงพอสมควรจึงต้องถนอมการใช้งาน แยกระบบออกมาต่างหากจะได้ช่วยยืดระยะการใช้งานของแบตเตอรีมากขึ้น

นี่ก็เป็นแนวทางการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานที่ทุกคนสามารถทำได้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะอยู่ไกลจากเมืองหลวงหรือศูนย์กลางความเจริญแค่ไหนแต่เราอยู่ใกล้พระอาทิตย์เท่ากัน ดังนั้นหากที่ไหนไม่มีไฟฟ้าใช้ให้ติดต่อมาที่นี่ ศรีแสงธรรมการไฟฟ้า

จิตอาสาหน่วยพระราชทาน

โครงการจิตอาสา เราทำความดี ด้วยหัวใจ

41353137_1935385046578217_6535986071757389824_o

สมเด็จพระเจ้ายู่หัว มหาวชิราลงกร บดินทรเทพยวรางกูร พระราชทานโครงการจิตอาสาพระราช ตามแนวพระราชดำริ”เราทำความดีด้วยหัวใจ” ด้วยทรงมุ่งหวังให้ พสกนิกรทุกหมู่เหล่ามีความสมัคร สมานสามัคคีร่วมมือร่วมใจ ประกอบกิจกรรมสาธารณะ เพื่อประโยชน์สุขของชุมชนส่วนรวม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เพื่อให้เกิดความรัก ความผูกพันใน 4 สถาบันหลักของชาติคือ สถาบันชาติ สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ และประชำชน ทรงมีพระราชโองการ และคำสั่งการ ให้ดำเนินการกิจกรรมจิตอาสา พัฒนาและปรับภูมิทัศน์ร่วมกับจิตอาสาในพื้นที่ ณ วัดป่าศรีแสงธรรม ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

41395139_1935374576579264_6424957765541691392_o

จิตอาสาพระราชทานวัดป่าศรีแสงธรรม

โดยมีพล.ต.ท. สกลเขต จันทรา เป็นประธานเปิดกิจกรรมโครงการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์วัดป่าศรีแสงธรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมอันเป็นสาธารณะประโยชน์ และที่สำคัญเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทุกคน ทุกฝ่ายตระหนัก และให้ความสำคัญในการรักษาความสะอาดของบ้านเรือนชุมชนของตนเอง

41330029_1935374906579231_3054173221533253632_o มีนายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผวจ. อุบลราชธานี นำข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ภาคเอกชน นักเรียน และประชาชนจิตอาสา ออกหน่วยจิตอาสาชุมชนสัมพันธ์ ปรับปรุงภูมิทัศน์ ปลูกหญ้าแฝก ปรับปรุงพัฒนาทางน้ำ อ่างเก็บน้ำ ทำความสะอาดบริเวณวัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ หมู่ 5 ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี41305896_1935384639911591_3276904594801688576_o

พร้อมนี้ศูนย์อำนวยการใหญ่โครงการจิตอาสาพระราชทานตามแนวพระราชดำริ “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” ได้มอบหมวก ผ้าพันคอ ประชาชนจิตอาสา และกระปุกออมสินพระราชทานแก่เด็กนักเรียนและครูโรงเรียนศรีแสงธรรมทุกคนได้เป็นประชาชนจิตอาสา นำความปลาบปลื้มแก่บุคคลากร คณะครู นักเรียนและประชาชนทุกหมู่เหล่า ทราบซึ้งถึงพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรในทั่วทุกพื้นที่ของไทย

41316568_1935386363244752_4102234014436294656_o

ข้าราชการตำรวจเป็นผู้อัญเชิญของพระราชทานสำหรับจิตอาสา

ทั้งนี้ยังทรงโปรดพระราชทานโรงครัวพระราชทานได้จัดทำอาหารเลี้ยงประชาชนกว่า 2,000 คน ที่มาร่วมงานให้ได้รับความอิ่มหนำสำราญกันทุกถ้วนหน้า เห็นได้จากการทำงานร่วมกันเจ้าหน้าที่สอบถามระเอียดยิบ มากี่คน มีอาหารอะไร ซื้อไก่กี่กิโล แต่ละกิโลมีกี่น่อง ถ้าให้ครบทุกคนต้องซื้อเท่าไหร่ หรือไอครีมกี่ถัง ถังหนึ่งมีกี่ถ้วย ทุกคนต้องได้เท่ากันหมดถ้าอยากรับประทานอะไรที่มีในงานต้องมีสิทธิ์ได้ทุกคนเท่ากัน นับเป็นประสบการณ์ที่ดีๆ ของทางคณะผู้บริหารและครูได้เห็นการทำงานเป็นระบบระเบียบอย่างมาก 

41456113_1935387429911312_963456474112065536_o

นักเรียน 220 คนรับหมวก ผ้าพันคอ และกระปุกออมสินพระราชทาน

41319025_1935386033244785_5535173917724901376_o

พระครูวิมลปัญญาคุณรับของพระราชทาน

นอกจากเรื่องการจัดการเรื่องอาหารเรื่องครัวแล้วยังได้เห็นการจัดงาน กระบวนการคิด การออกแบบ การวางแผนที่น่าจดจำ การแบ่งพื้นที่งาน การจัดคนเข้างาน การลงมือปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลซึ่งมีสิ่งดีๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ทุกคน

41377089_1935380239912031_231308294109528064_o

ผู้ว่าราชการจังหวัดนำทีมรับผิดชอบโซน

ท้ายนี้จึงขออนุโมทนาของคุณทุกท่านที่สนับสนุนโรงเรียนและวัดป่าศรีแสงธรรม รวมไปถึงข้าราชการ ทหารตำรวจคณะแพทย์ พยาบาลที่มาอำนวยความสะดวกให้บริการประชาชน ด้วยดีเสมอมา 

8 กันยายน 2561