solar campus

10352597_626540904129311_5068630066591948747_n

Renewable energy school

โซล่าร์สถานศึกษาเรามักจะพบเห็นในต่างประเทศที่มีการสนับสนุนให้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์เพื่อใช้ในโรงเรียน เมื่อมีไฟเหลือยังสามารถขายเข้าระบบได้ดังเช่น อเมริกาที่โรงเรียนสามารถขายไฟได้ปีละ 40.47 ล้านดอลล่าร์

10384938_719395701510497_2574985169830727269_n

โรงเรียนโซล่าร์เซลล์

การติดตั้งเป็นระบบออนกริดซึ่งจะเห็นได้จากโครงการโซล่ารูฟท็อปที่ผลิตไฟฟ้าขายจากหลังคาบ้าน หรือโครงการโซล่าร์ฟาร์มที่มีการผลิตจำนวนมากเพื่อจำหน่วยให้กับรัฐบาล แต่วัด โรงเรียน องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรยังไม่สามารถขายได้ ซึ่งเราสามารถขอขนานไฟเพื่อลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันลงได้ดังเช่นตัวอย่างที่ทางโรงเรียนได้ PLAN LAY OUT มาให้ชม13334480_10154211474104889_1611908587_o

เบื้องต้นสำหรับติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า บนอาคารเรียน ของสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ และสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนเอกชนที่มีความคล่องตัวด้านงบประมาณ มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในการติดตั้งะบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้ไม่ประสงค์ขาย แบบออนกริด เน้นประหยัดค่าฟฟ้า เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าเวลากลางวันเป็นจำนวนมาก นอกจากค่าไฟฟ้าที่ลดลง 30% – 70%

13509533_1052587104858020_809584595_oแล้วยังจะเป็นที่ศึกษา เรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหรือผู้ที่สนใจเช่นโรงเรียนศรีแสงธรรม นักเรียนได้สัมผัสใกล้ชิด เรียนรู้ฝึกปฏิบัติการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ที่นับวันจะได้รับความสนใจและตระหนักมากขึ้นในการลดภาวะโลกร้อน และเป็นการสอนให้รู้จักการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนด้วย

สถาบันการศึกษาแห่งนี้ ทางโรงเรียน มีโอกาสเข้าสำรวจเบื้องต้น เพื่อประเมินว่าสามารถติดตั้งได้หรือไม่อย่างไร จากการประเมินแล้วสามารถติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ได้ รายละเอียดเป็นดังนี้
– ติดตั้งโซล่าเซลล์ แบบออนกริด ขนาด 40 kw
– ใช้กริดไทร์ อินเวอร์เตอร์ SMA ขนาด 20 kw 2 ตัว รับประกัน 10 ปี
– ใช้แผงโซล่าเซลล์เกรดเอระดับโลก 300 วัตต์ จำนวน 136 แผง Suntech รับประกัน 25 ปี
– โดยทำเป็น 8 String ( 17แผง / String )
– ซึ่งขนาด 40 kw นี้ ผลิตไฟฟ้าได้วันละประมาณ 180 หน่วย/วัน
– จะประหยัดค่าไฟได้วันละ 810 บาท หรือ 295,650 บาท/ปี

ไฟฟ้าโรงเรียน

โรงเรียนในต่างประเทศ

ทั้งนี้หากมีการติดตั้งจริงแล้วต้องทำการเขียนแบบ single line อย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อเป็นเอกสารประกอบการขออนุญาต และแจ้งการเชื่อมต่อขนานกับระบบจำหน่ายไฟ ของการไฟฟ้าต่อไป

ประตู

ซุ้มประตูทางเข้าโรงเรียนศรีแสงธรรม

 

solar school

IMG_9217.JPG

ทีมงานช่างขอข้าว

พลังงานหมุนเวียนที่สะดวกและง่ายสำหรับประชาชนทั่วไปคือ พลังแสงอาทิตย์สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าจากเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง จากเดิมเป็นระบบอ๊อฟกริดคือมีแบตเตอรีเก็บประจุไฟฟ้าไว้แล้วแปลงกระแสไฟเป็นกระแสสลับเพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไป ก็มีการพัฒนามาเป็นกริดไทอินเวอร์เตอร์ เป็นเทคโนโลยีที่ไม่ต้องเก็บกระแสไฟในแบตเตอรีคือแปลงไฟจากแผ่นโซล่าร์เซลล์มาใช้ร่วมกับไฟในบ้านโดยอาศัยสัญญาณจากไฟของการไฟฟ้าในแต่ละประเทศนั้น ๆ เป็นระบบที่อัจฉริยะมากขึ้นเมื่อไฟฟ้าดับตัวเครื่องจะปิดตัวลงภายใน 0.01 วินาที อันเป็นระบบป้องกันความปลอดภัยให้กับการทำงานเมื่อต่อกับการไฟฟ้าถ้าเกิดปัญหาไฟฟ้าดับเจ้าหน้าที่ไปซ่อมบำรุงไฟจากระบบจะคืนไปยังสายส่งจะหมดปัญหาไปเพราะมาตรฐานกับตัดไฟจะมีประสิทธิภาพสูงมาก เมื่อก่อนจะมีคนมาคอยบอกว่าจะเกิดอันตรายต่อเจ้าหน้าที่อย่างนั้นอย่างนี้ให้เข้าใจว่าคนมาพูดไม่มีความรู้เรื่องระบบออนกริด ซึ่งเป็นระบบเดียวกับโซล่ารูฟท็อปที่มีกันไปทั่วโลก หรือเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับโซล่าร์ฟาร์มของนายทุนทั้งหลายที่แย่งกันลงทุนผลิตไฟฟ้าขายแพงให้การไฟฟ้ามาขายถูกให้ชาวบ้านแล้วบอกว่าค่าไฟแพงเพราะพลังงานหมุนเวียน ความจริงหนึ่งหน่วยโซล่าร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าได้วันละ 4.5 หน่วยโดยเฉลี่ยทั้งปีคือ 365 วันก็จะได้ปีละ 1,642.5 หน่วย เมื่อคิดความสูญเสียในระบบออก 20 เปอร์เซนต์ก็จะเหลือ 1,314 หน่วยต่อปี มีอายุการใช้งาน 25 ปีก็จะสามารถผลิตได้ 32,850 หน่วย ถ้าคิดค่าไฟฟ้าโดยเฉลี่ยจากปัจจุบันไปอีก 25 ปีข้างหน้าเป็น 5 บาทต่อหน่วยก็คิดเป็นเงิน 164,250 บาท ลงทุน 60,000 บาทโดยประมาณแต่ผลิตไฟได้ 32,850 หน่วย คิดเป็นหน่วยละ 1.82 บาท (หากทำจำนวนมากต้นทุนไม่ถึงหกหมื่นบาท)
IMG_9189

ชุดควบคุมการผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์แบบ On Grid

เห็นต้นทุนต่อหน่วยแล้วทำไมจะบอกว่าแพง โซล่าร์ฟาร์มเคยขายได้หน่วยละ 8 บาท และลดมา 6 บาท ก็ยังได้กำไรอยู่จึงไม่แปลกใจที่เปิดเมื่อไหร่มีแต่คนจ้องจะขายเข้าระบบแต่ไม่ใช่ชาวบ้านทั่วไปเพราะการลงทุนโซล่าร์ฟาร์มจะต้องใช้ที่ประมาณ 10-12 ไร่ต่อเมกกะวัตต์ แต่ความจริงโซล่าร์ฟาร์มแต่ละแห่งมี 3-5 เมกกะวัตต์ หรือที่เป็นข่าวทางภาคเหนือมี 90 กว่าเมกกะวัตต์ ยิ่งทำมากต้นทุนก็ต่ำลง แต่เวลามาออกข่าวจะบอกว่าต้นทุนสูง ๆ ไม่เหมาะจะนำมาใช้ที่ว่าต้นทุนสูงคือซื้อมา แปด แล้วค่าบริหารจัดการอีกสองรวมเป็นสิบบาทแล้วขายไฟปกติ 4 บาท ถ้าคิดอย่างที่ลุงตู่บอกคือมาทำแล้วใช้เองอย่าคิดขายท่านก็ห่วงว่าแบตเตอรีแพง แผ่นยังนำเข้าและมีบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ ในไทยแต่อยากขายราคาแพง ซึ่งตอบว่าทำได้คือ
1) ผลิตแบบออนกริดไม่คิดขายคือผลิตไฟใช้ในตอนกลางวันส่วนที่เกินโหลดก็ให้เข้าสายส่งเช่นกรณี โรงเรียนเคยมีปัญหาคือผลิตวันละ 40 หน่วย ใช้กลางวัน 30 หน่วย และไฟไหลเข้าสายส่งอีก 10 หน่วยทำให้มิเตอร์หมุนกลับพอหมดแสงอาทิตย์แล้วก็จะใช้ไฟฟ้าไปจนถึงเช้าอีก 10 หน่วย ก็หมดพอดีซึ่งเป็นหลักการของ Net metering ที่ต่างประเทศเขาใช้กันเช่นโรงเรียนในอเมริกา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย มาเลเซีย แต่นั่นเขารับซื้อไฟส่วนที่เกินเข้าระบบแต่ประเทศเรายังไม่มีระเบียบ กฎหมายรองรับถ้าเข้าไปการไฟฟ้าก็ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะรายได้ลดลงก็จะบล็อกมิเตอร์ไม่ให้หมุนย้อนกลับชาวบ้านก็จะแห่มาด่าเจ้าหน้าที่ ความจริงคือไม่มีกฎระเบียบมารองรับเจ้าหน้าที่ก็ต้องทำไปตามขอบข่ายที่ทำได้หากจะด่าก็อย่าด่าแรงมากสงสารเจ้าหน้าที่บ้าง แต่จะคุ้มค่ามากคือผลิตให้พอกับการใช้งานตอนกลางวันเช่นจาก แปดโมงเช้าไปถึงสี่โมงเย็นใช้ไฟกี่หน่วยก็คำนวนหน่วยที่ต้องติดแผ่นโซล่าร์เซลล์ให้พอดีแล้วใช้จะประหยัดค่าไฟลงได้ถึง 70 % และไม่ทำให้มิเตอร์หมุนย้อนกลับด้วยมีโรงงานอุตสาหกรรม ตลาดสด และในภาคธุรกิจอื่น ๆ ทำกันเยอะแล้ว ในส่วนของโรงเรียนศรีแสงธรรมก็นำแนวคิดไปเสนอให้โรงเรียนเอกชนต่าง ๆ ที่มีความพร้อมทางด้านงบประมาณติดไปให้เป็นตัวอย่างแก่โรงเรียนรัฐบาล เพราะระเบียบปฏิบัติทางด้านงบประมาณจะขาดความคลองตัวสู้โรงเรียนเอกชนไม่ได้ ระบบนี้ไม่ต้องซื้อแบตเตอรี และไม่ต้องขายไฟให้กับรัฐก็ทำได้ การไฟฟ้าแค่พัฒนาและรักษาระบบแรงดัน ขยายสายส่งให้รองรับไฟจากโซล่าร์เซลล์ที่จะเพิ่มขึ้นในตอนกลางวันเท่านั้น ส่วนกลางคืนก็ยังคงเป็นระบบผลิตเดิมที่มีอยู่แต่อย่าบอกนะว่าไฟไม่เสถียร พระอาทิตย์ก็ดวงเดียวกัน แสงแดดก็อันเดียวกัน เทคโนโลยีก็ตัวเดียวกัน ต่างกันแค่นายทุนกับชาวบ้านเป็นเจ้าของเท่านั้น
IMG_9218
2) ระบบไฮบริด หรือระบบก้าวข้ามระเบียบรัฐที่โรงเรียนได้ทำเป็นตัวอย่างในการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์โดยไม่รอการส่งเสริม สนับสนุน หรือแก้กฏระเบียบจากทางภาครัฐ โดยใช้เทคโนโลยีแบบ Hybrid คือรับไฟจากแผ่นโซล่าร์เซลล์แล้วแปลงไปใช้ในอาคารทันทีเหมือนระบบออนกริดที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรีก็ได้ ในตอนไม่มีแสงแดดก็ดึงไฟจากการไฟฟ้ามาเข้าอินเวอร์เตอร์แล้วแปลงออกไปใช้ซึ่งไฟที่ได้จะไม่จ่ายเข้าไปในระบบของการไฟฟ้า เราไม่ต้องขออนุญาตขนานไฟกับการไฟฟ้านี่คือการก้าวข้ามไปอีกขั้นหนึ่ง หรือเมื่อมีไฟมากกว่าการใช้งานก็เอาแบตเตอรีมาสำรองไฟ 4 ลูก หรือ 8 ลูก แล้วแต่งบประมาณที่มีอยู่หรือพฤติกรรมการใช้งานของเราหากนึกภาพไม่ออกให้นึกถึง UPS ที่สำรองไฟให้กับคอมพิวเตอร์ ระบบไฮบริดนี้จะไม่มีวันไฟดับ
IMG_9136.JPG

ชุดควบคุมระบบ Hybrig

3) และนอกจากนั้นยังสามารถใช้ระบบอ๊อฟกริดหรือที่มีแบตเตอรีใช้สำหรับไฟส่องสว่างตามรั้ว ทางเดิน เป็นระบบกระแสตรง 12 โวลท์ เหมือนที่โรงเรียนทำขึ้นมา 84 ดวงก็ไม่ต้องใช้ไฟจากการไฟฟ้าเลย ยิ่งตอนไฟดับจะมีที่เดียวสว่างไปทั่วมันภูมิใจมาก
IMG_9214

นักเรียนที่นี่ได้ฝึกทักษะการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์

ทั้งหมดนี้เป็นแนวทางการจัดการด้านพลังงานอย่างง่ายภายในโรงเรียนหากจะปรับสเกลให้ใหญ่ขึ้นก็อาศัยการขยายแนวคิดการพึ่งพาตนเองออกไปเรื่อย ๆ ให้กระจายไปทุกภาคส่วน ทุกมิติของสังคม อย่าไปคิดว่านายทุนจะทำได้อย่างเดียวเอาแต่โควต้าการผลิตไปให้นายทุนพลังงานทำหากกระจายออกบ้านละ 10 กิโลวัตต์จากโควต้าของโซล่าร์ราชการ โซล่าร์สหกรณ์ที่รัฐจะรับซื้อ ลองคิดว่าเอาโควต้าการรับซื้อมากระจายให้ชาวบ้านจะได้เป็นแสนหลังคาเรือนจากโควต้า 1,000 เมกกะวัตต์ ก่อให้เกิดรายได้เดือนละแปดพันบาทก็ยังได้ การกระจายรายได้ การสร้างงาน การซื้อขาย เหล็กอิฐ หิน ปูน ทราย มีรายได้มาซื้อปลาทูให้ลูกกินไปโรงเรียนจะดีกว่าให้นายทุนขายเอาเงินไปเข้าธนาคารไม่เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ หรือแม้แต่มาพัฒนาการศึกษา อย่างนี้ทำไมเราจะทำไม่ได้ การพึ่งพาก๊าซธรรมชาติก็บอกว่ามันจะหมดไป ๆ การพัฒนาบนพื้นฐานพอเพียงไหมที่เราจะนำเข้าจากตะวันออกกลางทั้งหมด เงินลงทุนสร้างสถานีลอยน้ำกลางทะเลที่จะเก็บ LNG มูลค่ากี่แสนล้าน หากเงินจำนวนนี้นำมาพัฒนาระบบสายส่งเพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียนเช่น โซล่าร์เซลล์ กังหันลม กังหันน้ำบ้างจะเป็นเงินขนาดไหน แต่ยังไงก็ยังไม่ต้องพึ่งพาตะวันออกกลางทั้งหมด ยิ่งค้านถ่านหินมากว่าไม่สะอาดก็จะยิ่งต้องเร่งนำเข้าก๊าซมากขึ้นทุกที
IMG_9279
พูด(เขียน)มาเท่านี้ก็ยาวแล้วเดี๋ยวบางคนจะหาว่าเทศน์ผิดธรรมาสน์แต่ก็ไม่เป็นไรเพื่อให้บ้านเมืองเราพัฒนา น่าอยู่สงบสุขขึ้นเหมือนทุกวันนี้ก็สงบอยู่แต่ถ้าเพิ่มคำว่าสุขเข้าไปด้วยก็อยากให้ลุงตู่อยู่นาน ๆ ช่วยเติมคำว่าสุขอีกทีจะได้มีคำว่า สงบสุข อย่างสมบูรณ์ และถ้าสนใจอยากเห็นอยากมาดูงานที่โรงเรียนศรีแสงธรรม เปิดรับเฉพาะวันศุกร์
23 มิถุนายน 2559
IMG_9281

อาสาสมัครชาวเยอรมัน

13467843_123327381426800_839305145_o (1)

Hybrid system

ผู้ว่า ฯ มาเยี่ยม

ดร.สมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มาเยี่ยมโรงเรียนศรีแสงธรรม เพื่อนำแนวคิดการใช้พลังงานทดแทนของโรงเรียนไปมีส่วนในโครงการพัฒนาจังหวัดด้านการประหยัดพลังงาน

12961262_1003244896458908_8073011440047071534_o

นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับโรงเรียนที่ได้มีโอกาสต้อนรับพ่อเมืองอุบล ซึ่งท่านได้ให้ความสนใจที่จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนที่ขาดแคลน และชุมชนที่สนใจด้านพลังงานทดแทน

12977027_1003244886458909_731645927725905905_o

ผู้ว่าสนใจการติดตั้งโคมไฟโซล่าร์เซลล์

12973561_1003242929792438_1980326704487317763_o

ทั้งนี้ท่านนายอำเภอโขงเจียมซึ่งแวะเวียนมาเยี่ยมเยือนโรงเรียนอยู่เป็นประจำก็ได้มาต้อนรับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย

12970987_1003244806458917_3677162007049561498_o