โรงเรียนเสียดายแดด

หนังสือโรงเรียนเสียดายแดด E-Book

โรงเรียนเสียดายแดดฉบับE-Book
ดาวน์โหลด

การประยุกต์เนื้อหารายวิชาไฟฟ้าไปสู่บทเรียนการสอนเรื่องโซล่าเซลล์สำหรับโรงเรียนมัธยมในพื้นที่ขาดแคลนพลังงาน

Application of electric course content through teaching lessons on solar cells for high schools in energy-depleted areas.

Title:

ภาพป้ายประตูทางเข้าโรงเรียนเมื่อปี พ.ศ.2559

โรงเรียนขนาดเล็กในชนบทตามแนวชายแดน แต่เป็นที่รู้จักทั้งต่างประเทศ และในประเทศในนามโรงเรียนพลังงานทดแทนต้นแบบ เป็นแหล่งศึกษาดูงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และ เอกชน ตลอดจนประชาชนที่มีความสนใจทั่วไปเข้ามารับการศึกษาอบรมหลักสูตรระยะสั้นเพื่อนำไปต่อยอดความรู้ และประกอบอาชีพ 

รวมถึงนักเรียนของโรงเรียนศรีแสงธรรมยังสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในระดับมหาวิทยาลัยคณะวิศวกรรมศาสตร์จำนวนมาก หรือในระดับที่สูงขึ้นจนกระทั่งได้ทุนเรียนฟรีของรัฐบาลเกาหลีใต้ให้ไปเรียนวิศวกรรมสาขาอิเลคทรอนิกส์ และสาขาเครื่องกล จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้นำประเทศได้กล่าวชื่นชมโรงเรียนพลังงานทดแทนต้นแบบ และนักเรียนศรีแสงธรรมผ่านทางสื่อสาธารณะ

ด้วยความพากเพียรพยายามของคุณครูในการพัฒนาสื่อการสอนในหลายรูปแบบ มีนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เพื่อแก้ปัญหาเช่นรถนอนนา ไฟฉายขอข้าว และบูรณาการการสอนไปกับสาขาวิชาต่างๆ ให้นักเรียนได้เรียนรู้ เข้าใจง่าย พร้อมกับนำไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน และบริการสังคม ให้การช่วยเหลือในยามภัยพิบัติต่าง ๆ ได้อย่าง หรือช่วยเหลือโรงพยาบาลในโครงการ 77 จังหวัด 77 โรงพยาบาลโซล่าร์เซลล์ในการลดค่าไฟฟ้าปีละ 720,000 บาทตลอดระยะเวลา 30 ปี และยังเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนโครงการพระราชทาน โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวังวัดป่าศรีแสงธรรม ที่คณะครูและนักเรียนได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานทางการเกษตรที่แปลงนาสาธิตของโรงเรียน

  • ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนศรีแสงธรรม

ปี พ.ศ. 2553 พระปัญญาวชิรโมลี ได้ขออนุญาตจัดตั้ง

โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาชื่อว่าโรงเรียนศรีแสงธรรม ด้วยเงินบริจาคของวัดป่าศรีแสงธรรมร่วมกันระดมทุนด้วยการทอดผ้าป่ามาสร้างโรงเรียน แม้ว่าจะได้เพียง 10 ปี แต่มีผลงานมากมายเป็นที่ประจักษ์ 

เนื่องจากโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ คนในชุมชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพกสิกรรม และเป็นแรงงานรับจ้างในเมืองใหญ่เมื่อมีลูกก็จะปล่อยให้ตากับยายเลี้ยงหลานที่บ้านการดูแล ความอบอุ่นของครอบครัวจึงมีน้อย เกิดปัญหาไม่สนใจอยากไปโรงเรียน สิ่งเสพติด อบายมุขเข้าถึงเยาวชนได้ง่าย หรือปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรก่อให้เกิดปัญหาหย่าร้าง ปัญหาครอบครัวต่าง ๆ และที่สำคัญคือปัญหาความยากจน

วัดป่าศรีแสงธรรมในฐานะองค์กรพัฒนาสังคมแม้จะเป็นเพียงจุดเล็ก ๆ เมื่อเห็นสภาพปัญหาในพื้นที่ตลอดจึงหาแนวทางแก้ไขปัญหาคือการพัฒนาคน ทำอย่างไรจะให้คนในชุมชนมีคุณภาพมีความรู้คู่คุณธรรมจึงได้ก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม ให้การศึกษาฟรี รถรับส่งฟรี อาหารกลางวันฟรี

  • ปัญหาการขาดแคลนพลังงานของโรงเรียน

         “การจัดการศึกษาบนความขาดแคลน” ได้ถูกนำเสนอในหลายวาระเนื่องจากการก่อตั้งโรงเรียนที่มีเพียงอาคารเรียน 1 หลัง ครูที่ประจำการไม่มีใบประกอบวิชาชีพ อุปกรณ์การเรียนหรืออาคารสถานที่ต้องหาเศษไม้มาต่อเติม ห้องเรียนไม่เพียงพอต้องอาศัยการปั้นบ้านดินเพื่อให้นักเรียนได้มีที่นั่งเรียน

          ระยะเริ่มต้นจะขาดงบประมาณสนับสนุนไปทุกอย่าง และช่วงของการพัฒนาย่อมต้องการใช้งบประมาณสนับสนุน ทางโรงเรียนได้ขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ แต่เงื่อนไขยังเปิดโรงเรียนไม่ครบ 3 ปี จึงไม่เข้าเกณฑ์ไม่สามารถให้การสนับสนุนได้ และได้ทำควบคู่ไปกับการขอรับบริจาคสนับสนุนจากหน่วยงานเอกชน รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จำนวน 23 แห่ง ปรากฏว่าไม่มีที่ไหนตอบจดหมายกลับมาเลย จึงเป็นที่มาของการปั้นบ้านดินเป็นห้องเรียน และการขายบ้านมาสร้างโรงเรียน 

          อาคารเรียน 18 ล้าน โดยไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐเป็นการระดมทุนทอดผ้าป่า และพระปัญญาชิรโมลี ได้ไปขายบ้านของตัวเองมาเพิ่มให้การดำเนินการก่อสร้างเสร็จทันเปิดเรียนเพราะมีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก จากปีแรกที่เปิดเรียนมีนักเรียน 96 คน ปีที่ 3 มีนักเรียนประมาณ 130 คน จนกระทั่งปัจจุบันมีนักเรียนประมาณ 200 คน 

          เพราะความขาดแคลนจึงหาธรรมชาติใกล้ตัวมาสอน เน้นเรื่องสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ลม ไฟ แสงแดด เป็นสื่อที่หาได้ง่ายจึงเน้นทางวิทยาศาสตร์ให้นักเรียนได้ลงมือทดลองปฏิบัติ งบประมาณที่จะจัดหาสื่อการสอนไม่เพียงพอจึงต้องประยุกต์ใช้ของที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ เช่นพาเด็กดำนาด้วยกล้าต้นเดียวเก็บข้อมูลทดลองผลผลิตตอนเก็บเกี่ยวข้าว หรือการปลูกป่าในรูปแบบต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบการเจริญเติบโต รวมไปถึงนำแผ่นโซล่าร์เซลล์แตก ที่รัฐแจกให้กับประชาชนแล้วใช้ไม่ได้มาเป็นสื่อการสอนไฟฟ้าเบื้องต้น หาความสัมพันธ์กฏของโอห์มให้นักเรียนได้ทดลองเรียนรู้กับของจริงเพื่อจะได้เห็นภาพ และเข้าใจมากยิ่งขึ้น


4. สาธารณูปโภคของโรงเรียนภายในโรงเรียน

                     ประปากับไฟฟ้า คือปัญหาของทุกโรงเรียน เพราะเป็นสิ่งจำเป็น และเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำอย่างไรจะไม่ต้องจ่ายมากก็ต้องประหยัด แต่ที่โรงเรียนศรีแสงธรรมประปาได้ใช้ระบบน้ำบาดาลสูบขึ้นมาบนถังสูง แล้วปล่อยไปทั่วทั้งโรงเรียนโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และลดปัญหาเวลาไฟฟ้าดับระบบน้ำก็จะขาดไปด้วย แต่พอใช้ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์มาช่วยแก้ปัญหาทำให้ทุกอย่างที่ใช้น้ำเพียงพอไปด้วย ทั้งแปลงเกษตร ทั้งน้ำใช้ภายในโรงเรียน

          ส่วนค่าไฟฟ้าถ้าปิดระบบโซล่าร์เซลล์ทั้งหมดภายในโรงเรียนจะมีค่าไฟประมาณ 14,000 บาท แต่ถ้าเปิดระบบโซล่าร์เซลล์ทั้งหมดค่าไฟฟ้าจะเหลือเพียง 40 บาท ทั้งนี้เกิดจากการสอนนักเรียนที่มีความสนใจพาติดตั้งระบบต่างๆ ที่มีในโลกนี้มาจำลองไว้ให้นักเรียนได้เรียนรู้ และพาลงมือปฏิบัติจริง

  • การประยุกต์เนื้อหารายวิชาไฟฟ้าสู่บทเรียนการสอน

                     วัตถุประสงค์แรกเริ่มของการนำโซล่าร์เซลล์มาเพื่อลดค่าใช้จ่ายสื่อการสอนวงจรไฟฟ้าจากเดิมที่ใช้ถ่านไฟฉายหลายๆ ก้อนมาต่อขนานกัน หรือต่ออนุกรมกัน ให้นักเรียนได้ดู ทำให้สิ้นเปลืองมากถ้าจะลดค่าใช้จ่ายลงควรจะเป็นสื่อที่ไม่สิ้นเปลือง จึงเอาแผ่นโซล่าร์เซลล์แตกมาคำนวณหาพื้นที่การรับแสง ดูข้อมูลรายละเอียดการผลิตของโซล่าร์เซลล์ของแต่ละชนิดเพื่อให้ทราบถึงแรงดันของแต่ละเซลล์ แล้วมาทดลองหากระแสไฟฟ้าที่อยู่ในวงจร

          การเก็บข้อมูลการสอนในชมรมพลังงานทดแทนของโรงเรียนในแต่ละสัปดาห์ทำให้สามารถนำมาออกแบบหลักสูตรรายวิชาโซล่าร์เซลล์ได้ และผลิตสื่อการสอนในแต่ละเนื้อหาให้สอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ไม่เป็นภาระค่าใช้จ่าย แต่อธิบายให้นักเรียนเข้าใจและลงมือทำได้

หลักสูตรและการสอน

  • ผลของการสอนโซล่าเซลล์สำหรับโรงเรียนมัธยมขนาดกลาง

                     นับว่าเป็นความโชคดีที่หลักสูตรแกนกลางของชาติกำหนดให้จัดการศึกษาตามส่วนกลาง 70% และให้มีหลักสูตรสถานศึกษา 30%  เป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือบริบทของชุมชนมาจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ตามความถนัด หรือตามจุดเด่นของแต่ละพื้นที่ ดังเช่น โรงเรียนศรีแสงธรรมได้นำเรื่องของสิ่งแวดล้อมมาเป็นตัวตั้ง มีเรื่องพลังงาน และการเกษตรแยกเป็นหัวข้อย่อยออกมา จึงมีความเหมาะสมกับบริบทของชุมชนที่เป็นเกษตรกรส่วนใหญ่ 

          คุณครู และนักเรียน มีความรู้หลากหลายสามารถถ่ายทอดไปสู่ชุมชนอื่น หรือโรงเรียนอื่นๆ ที่มาขอนำหลักสูตรโซล่าร์เซลล์ของโรงเรียนศรีแสงธรรมไปจัดการเรียนการสอนหลายโรงเรียน และยังนำสื่อ นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นผลงานของโรงเรียนศรีแสงธรรมไปต่อยอดเป็นผลงานของตนเอง จนไปถึงเชิงการค้าเป็นต้น

การสอนโซล่าร์เซลล์นอกสถานที่


7. วงจรของบทเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์

          เรื่องวงจรไฟฟ้าส่วนใหญ่นักเรียนจะเข้าใจยาก หรือจำได้แต่ไม่กล้านำไปใช้จริง เพราะส่วนใหญ่จะเรียนเฉพาะทฤษฏี แล้วไม่ถูกนำไปสู่การปฏิบัติ หรือมีความกลัวอันตรายด้วยความไม่แน่ใจในความรู้ที่มีในตำราเรียน เมื่อเป็นเช่นนั้นการสอนวงจรไฟฟ้า หรือการต่อระบบไฟฟ้าต่างๆ จึงใช้รูปภาพง่ายๆ ในการสื่อสารให้เรียงลำดับการทำงานของระบบไฟฟ้า หรือการไหลของกระแสไฟในวงจร จึงพาทดลองเพื่อความให้เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้น

การทำสื่อการสอนเพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจจึงมีความสำคัญเช่นกัน แต่ละสื่อทำให้การเรียนการสอนความรู้ที่ลึกยิ่งขึ้นเพราะเป็นพื้นฐานที่จะต้องไปสู่วงจรที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น เรื่องความปลอดภัยก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระดับของงานระบบไฟฟ้าเช่นกัน โดยให้นักเรียนได้มีความรู้เกี่ยวกับระบบพื้นฐาน แรงดันไฟฟ้าต่ำเพื่อลดอันตรายในการเรียนการสอนให้เหมาะกับช่วงวัยของนักเรียน

การเรียนการสอนมีความหลากหลายในการประยุกต์ใช้มากขึ้นทั้งระบบแสงสว่าง ระบบการใช้งานในบ้าน ระบบการใช้งานในฟาร์ม ในสวน ระบบที่มีแบตเตอรี่ ระบบที่ไม่มีแบตเตอรี่ การสอนเพื่อให้เกิดความเข้าใจในองค์รวมของระบบดังผังวงจรระบบพื้นฐานของโซล่าร์เซลล์ดังที่บอกว่าได้จำลองระบบผลิตไฟฟ้าที่มีในโลกนี้มาไว้ที่โรงเรียนศรีแสงธรรม

      ผังสรุประบบโซลาร์เซลล์เบื้องต้นนี้เป็นการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ โดยหลัก ๆ มี 3 รูปแบบบคือ 1) แบบ Stand alone ทั้งมีแบตเตอรี่ และไม่มีแบตเตอรี่คือมีข้อดีคืออยู่ที่ไหนก็ได้เพียงแค่มีแสงแดดก็ใช้งานได้แล้ว 2) อีกรูปแบบที่นิยมกันคือระบบ On grid เป็นระบบที่ได้รับความนิยมใช้ในบ้านพักอาศัย โรงงานอุตสาหกรรม โรงพยาบาล หรือในเชิงพาณิชย์ติดตั้งในพื้นที่ขนาดใหญ่เรียกว่าโซล่าร์ฟาร์ม ระบบOn grid นี้จะลงทุนต่ำเพราะไม่ต้องใช้แบตเตอรี่มากักเก็บพลังงานแต่มีข้อเสียคือเมื่อไฟฟ้าจากสายส่งดับ ระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ก็จะดับไปด้วย 3) แบบ Hybrid เป็นการเอาข้อดีของแบบ Stand alone และข้อดีของแบบ On grid มาใช้ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในบ้านพักอาศัยเพราะมีความสามารถทำงานได้หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น



8. ความสามารถในการมีทักษะอาชีพในการติดตั้งโซล่าเซลล์

           หลักสูตรนอกห้องเรียน

การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรนั้นยังมีข้อจำกัดเรื่อง งบประมาณ กรอบของเวลา ความปลอดภัย การวัดและประเมินผลตามระเบียบกระบวนการตามหลักวิชาการจัดการศึกษา แต่ถ้าองค์ความรู้ที่สูงกว่าขั้นพื้นฐานนั้นเป็นหลักสูตรอบรมประชาชนที่สนใจ และนักเรียนที่ผ่านขั้นพื้นฐานมาแล้วสามารถเข้าเรียนรู้ได้ตามหน้างานจริง ตั้งเป็นทีมงาน “ช่างขอข้าว”

          ระยะเริ่มแรกของการก่อตั้งโรงเรียนงบประมาณมีจำกัดแต่ค่ารถรับ ส่งนักเรียน กับค่าอาหารกลางวันต้องพึ่งเงินบริจาค ถ้าไม่มีเงินบริจาคเราจะอยู่อย่างไร จะทำอย่างไรให้มีรายได้มาเลี้ยงตนเองได้อย่างยั่งยืน จึงเกิดเป็นทีมช่างจากชมรมพลังงานทดแทนออกไปรับงานติดตั้งโซล่าร์เซลล์ในพื้นที่รอบๆ โรงเรียน ใช้เวลาช่วงปิดเทอม หรือวันหยุดเพื่อไม่ให้กระทบการเรียน ช่วงมีค่าอาหารกลางวันก็ไม่ไป ช่วงไม่มีก็ไปรับงานเรื่อย ๆ แต่ปัจจุบันมีผู้มาติดต่อให้ไปช่วยงานติดตั้งตามต่างจังหวัดทั่วประเทศเริ่มมีนักเรียนที่จบไปแล้วเข้าศึกษาต่อทางวิศวะไฟฟ้ากลับมาช่วยงานที่โรงเรียน มาช่วยสอนน้องๆ และช่วยรับงานติดตั้งโซล่าร์เซลล์ในต่างจังหวัด และออกแบบระบบ รวมทั้งการอนุญาตกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้อง

          จากที่ไปติดตั้งตามสถานที่ต่าง ๆ ผลงานที่ปรากฏสู่สาธารณะ ทั้งคุณภาพของอุปกรณ์อันดับหนึ่งของโลก ทักษาฝีมือของทีมช่าง ภาพที่ได้นอกจากจะมีความคุ้มค่าการลงทุนแล้ว ยังมีความสวยงามเป็นตัวอย่างให้กับช่างโซล่าร์เซลล์หลาย ๆ แห่งที่มาอบรมหลักสูตรระยะสั้นในการประกอบอาชีพได้อีกด้วย

  • การตอบสนองการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ของหน่วยงานและชุมชนภายนอก

          แม้ว่าจะมีโรงงาน บ้านพักอาศัยติดต่อทีมงานช่างขอข้าวเข้ามาจำนวนมาก แต่ด้วยข้อจำกัดของทีมงานทำให้ต้องเน้นไปในที่โรงพยาบาลก่อนเพราะโรงพยาบาลช่วยเหลือคนได้มาก วัด โรงเรียน โรงงาน ถ้าอยู่โซนเดียวกัน หรือในจังหวัดเดียวกันก็สามารถติดตั้งควบคู่กันไปได้ซึ่งเป็นโครงการ 77 จังหวัด 77 โรงพยาบาล หรือที่เรียกว่าโรงพยาบาลเสียดายแดด

เริ่มต้นที่

 1) รพ.บ้านตาก จ.ตาก ติดตั้งขนาด 134 กิโลวัตต์งบประมาณ 3.3 ล้านบาท สามารถช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 80,000 บาทต่อเดือน

2) รพ.ธวัธบุรี จ.ร้อยเอ็ด ขนาดติดตั้ง 134 กิโลวัตต์ 

3) รพ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ติดตั้งขนาด 110 กิโลวัตต์

4) รพ.สังคม จ.หนองคาย ติดตั้งขนาด 110 กิโลวัตต์

5) รพ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ติดตั้งขนาด 110 กิโลวัตต์

6) รพ.กู่แก้ว จ.อุดรธานี ติดตั้งขนาด 110 กิโลวัตต์

และกำลังรอดำเนินการอีกหลายโรงพยาบาล ซึ่งต้องรอเงินบริจาคของทางวัดป่าศรีแสงธรรม และทางโรงพยาบาลช่วยระดมทุนผ่านทางโครงการ


10. สรุป

การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีพลังงานมาบูรณาการเป็นหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนมัธยมขนาดกลางให้คุณธรรมนำความรู้คู่การปฏิบัติ เพื่อช่วยแก้ปัญหาในชุมชนให้เป็นสังคมชนบทที่น่าอยู่ ดังเช่นซิลิคอน วัลเลย์ ที่แคริฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา แต่มาสร้างที่ชนบทห่างไกลความเจริญให้เป็นแหล่งรวมพลคนอัจฉริยะเรียกว่า โคกอีโด่ยวัลเลย์ เน้นการสร้างเด็ก ๆ เยาวชนสร้างคนในชุมชนให้มีทักษะอาชีพในพื้นที่ของตนเอง คือการสร้างคนบ้านนอกให้อยู่บ้านนอกอย่างมีความสุข เป็นอีกแนวทางของการจัดการศึกษาแบบมีอาชีพ

การประยุกต์เนื้อหารายวิชาไฟฟ้าไปสู่บทเรียนการสอนเรื่องโซล่าเซลล์สำหรับโรงเรียนมัธยมในพื้นที่ขาดแคลนพลังงาน

Application of electric course content through teaching lessons on solar cells

for High schools in energy-depleted areas.

ผู้เขียน: พระปัญญาวชิรโมลี ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศรีแสงธรรม

สังกัด: โรงเรียนศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลโคกยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

อีเมลล์: sisaengtham@hotmail.com

English Vertion

อบรมโซล่าร์เซลล์เพื่อชีวิต

อบรมโซล่าร์เซลล์เพื่อการใช้งานจริง ณ โรงเรียนศรีแสงธรรม บ.ดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

ทีมงานช่างขอข้าวติดตั้งที่ชลบุรี

หลักสูตร 2 วัน 1 คืน โดยมีหลักสูตรอบรมดังนี้

1 หลักสูตรสู้ภัยแล้งด้วยแสงอาทิตย์ ระบบสูบน้ำ AC. DC

2 หลักสูตรบ้านกินแดด และชุดนอนนา

3 หลักสูตรระบบออนกริดสำหรับบ้านพักอาศัย (กองโจรโซล่าร์เดิม)

4. หลักสูตรไฮบริดชาตินี้ไม่มีวันไฟดับ

ชุดสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์

กำหนดการอบรม

รุ่น 53 อบรมวันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2564

รุ่น 54 อบรมวันที่ 6-7 มีนาคม 2564

พญาแล้งลงหนอง

การลงทะเบียน

การลงทะเบียนที่สมบูรณ์ก็ต่อเมื่อท่านได้ชำระค่าละทะเบียนท่านละ 3,000 บาท ถ้ามีผู้ติดตาม 500 บาท แต่ไม่ได้เข้าอบรม

โดยชำระค่าอบรมได้ที่ผู้อำนวยการโรงเรียนศรีแสงธรรม น.ส.จิราภรณ์ ว่องไว ธ.กรุงเทพ สาขาเทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร เลขที่บัญชี 786 – 017-8586 และแนบสลิปหลักฐานการชำระค่าลงทะเบียนทางกล่องข้อความ https://www.facebook.com/sisaengtham.ac.th หรือเบอร์โทร 08 6233 1345

โรงเรียนพลังงานแสงอาทิตย์

หน่วยงานหรือองค์กรที่มีความประสงค์จะให้จัดอบรมเป็นการเฉพาะต้องรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 20 ท่านจึงจะเปิดอบรมรอบพิเศษตามวันเวลาที่ต้องการ

ปล.ถ้าสั่งอุปกรณ์เพื่อนำกลับบ้านหลังอบรมต้องสั่งจองล่วงหน้า และจ่าย 100%

อบรมโซล่าร์เซลล์เบื้องต้นรุ่น 28

ขอเชิญเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ
เรื่องการประยุกต์ใช้โซล่าร์เซลล์เบื้องต้น 
ณ โรงเรียนศรีแสงธรรม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

1-2 กุมภาพันธ์ 2563

1.รับจำนวน 30 คน
2.ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมฝึกทำ 2,500 บาท/คน
3.ค่าอุปกรณ์ฝึกอบรม ทำเสร็จนำกลับบ้านด้วย 3,500 บาท

4. รวม 6,000 บาท

————มีอาหารพร้อม ที่พักในโรงเรียน————————–

“”””””””””””””””””””เรียนรู้ง่าย ทำได้ ใช้เป็น”””””””””””””
ผู้สนใจสมัครเข้าฝึกอบรม ต้องชำระค่าลงทะเบียนสมัคร และค่าอุปกรณ์ ก่อนเข้าอบรม หรือไม่เกินวันที่   20 มกราคม 2563 เพื่อทางโรงเรียนจะสั่งอุปกรณ์ได้ทัน

49838198_2111284452321608_4639504929625473024_n (1)

ชุดนอนนา 1,500 วัตต์ เพื่อมาเป็นชุดสอนหรือท่านที่สนใจต้องการนำกลับไปใช้สามารถสั่งจองอุปกรณ์ล่วงหน้าและติดตั้งเพื่อนำกลับไปใช้งานได้

 

ชุดสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่

เป็นชุดที่สองสำหรับการแนะนำวิธีการต่อ วิธีการติดตั้งเพื่อลดค่าใช้จ่าย ให้นำไปใช้งานได้เอง

 

ชิ้นงานที่ 1 สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการ

https://www.facebook.com/v2.3/plugins/post.php?app_id=249643311490&channel=https%3A%2F%2Fstaticxx.facebook.com%2Fconnect%2Fxd_arbiter%2Fr%2Fd_vbiawPdxB.js%3Fversion%3D44%23cb%3Df314e27d0408708%26domain%3Dacsst.wordpress.com%26origin%3Dhttps%253A%252F%252Facsst.wordpress.com%252Ff1bd303159f27a%26relation%3Dparent.parent&container_width=0&href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fsisaengtham.ac.th%2Fposts%2F2111604105622976&locale=th_TH&sdk=joey&width=530

64788128_2363113830472001_6809451613065838592_n

 

สนใจเข้าร่วมฝึกทำติดต่อ
Fb: พระครูวิมลปัญญาคุณ ศรีแสงธรรม
โทร 086 233 1345,
โอนเงินค่าลงทะเบียนและค่าอุปกรณ์ ที่บัญชี
“น.ส.จิราภรณ์ ว่องไว 786-017-8586 ธ.กรุงเทพ สาขาเทสโก้โลตัสพิบูลมังสาหาร

หากโอนเสร็จกรุณาส่งหลักฐานการโอนเงิน ที่ Inbox หรือ sisaengtham@hotmail.com เพื่อยืนยันการลงทะเบียน และสั่งอุปกรณ์ จึงจะนับเป็นการจองที่สมบูรณ์ ซึ่งทางผู้จัดจะได้ส่งเอกสารอบรมล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนเข้าอบรม

ปล.เนื่องจากมีโปรแกรมอบรมให้หน่วยงานตลอดไม่มีเวลาจัดให้บุคคลทั่วไป จึงเปิดเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้ที่สนใจ หากเต็มจะปิดรับสมัครทันที

 

โรงไฟฟ้าลำตะคอง

เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา

52602614_2178399128943473_773924721300340736_n

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยโดยท่านผู้ช่วยผู้ว่าการไฟฟ้าโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนได้นำคณะศึกษาดูงานจากโรงเรียนศรีแสงธรรมไปเยี่ยมชมระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ ในโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา

 

โดยวันแรกมาเยี่ยมชมโรงไฟฟ้าสูบบกลับเขื่อนลำตะคอง แนวคิดการรองรับอนาคตการเสรีโซล่าร์เซลล์สำหรับประชาชนทั่วไปติดตั้งบนหลังคาบ้านเพื่อส่งไฟเข้าระบบจำหน่ายได้ตอนกลางวันที่บางคนไม่มีการใช้งานก็สามารถผลิตเพื่อจำหน่ายโดยมาคิดเงินกันสิ้นเดือนถ้าใช้ไฟจากสายส่งมากกว่าที่ผลิตได้ก็ให้จ่ายค่าไฟ แต่ถ้าผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ได้มากกว่าการใช้งานในเดือนนั้นก็ได้รับเงินจากรัฐ ทุกหกเดือนจะมาคิดบัญชีกัน หรือสิ้นปีค่อยมาหักลบกลบหนี้กัน

 

 

ระบบนี้หากมีเรื่องของการกักเก็บพลังงานเข้ามาแล้วอาจจะเพิ่มราคาการช่วยจ่ายในเวลาพีค หรือเวลาที่ต้องการไฟสูงสุดเช่นตอนบ่ายสองโมงในวันทำงานปกติ และตอนหัวค่ำ เหมือนภารกิจของโรงไฟฟ้าสูบกลับเขื่อนลำตะคอง ที่มีการนำไฟฟ้าในช่วงที่ไม่ได้ใช้มาสูบน้ำขึ้นบนหลังเขา แล้วปล่อยน้ำลงมาปั่นไฟในตอนที่ต้องการใช้งานอย่างรีบด่วน เพื่อช่วยเสริมระบบการผลิตหลักอย่างเช่นปัจจุบัน และยังช่วยเรื่องการกู้ระบบอย่างเช่นโรงไฟฟ้าหลักมีปัญหาดับกระทันหัน ต้องหาระบบไฟสำรอง ต้องใช้เขื่อนลำตะคองช่วยพยุงระบบไว้หลายชั่วโมงเพื่อมีเวลาเพียงพอให้เจ้าหน้าที่กู้ระบบต่างๆได้ ช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและอื่นๆ อืกมากมาย

53071321_2178406585609394_3729798987675336704_o

นอกจากนี้ยังมีกังหันลมปั่นไฟอีก 12 ต้นขนาด 24 เมกกะวัตต์ พร้อมทั้งมีศูนย์การเรียนรู้เรื่องการผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจน และกำลังเตรียมเปิดศูนย์เรียนรู้ที่ทันสมัยที่สุดในภาคอิสาน ด้วยหุ่นยนต์ HBOT อนาคตอันใกล้นี้หามีงบประมาณ หรือมีผู้สนับสนุนอาจจะเห็นศูนย์เรียนรู้ที่ทันสมัยในโรงเรียนศรีแสงธรรมก็เป็นได้ ตอนนี้ก็เป็นแค่ฝันลมๆ แล้งๆ ไปก่อน ไม่มีอะไรที่เราจะทำไม่ได้ถ้าตั้งใจจริง

 

 

กฟผ.ศึกษาดูงานโรงเรียนศรีแสงธรรม

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

41220

กฟผ.ดูงานโรงเรียนศรีแสงธรรม

รองผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นำคณะผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ศึกษาดูงานระบบพลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์โรงเรียนศรีแสงธรรม วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒

41222

นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า (รวฟ.) พร้อมด้วยนายจรัญ คำเงิน (ชฟม.) , นายพิพัทต์ คงสินทวีสุข (อฟอ.) , ผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. และนายสนอง มะลัยขวัญ นายอำเภอสิรินธร

41226

ได้ศึกษาดูงานเรียนรู้การบริหารจัดการระบบไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์พลังงานทดแทนต้นแบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ภายในโรงเรียนศรีแสงธรรม และวัดป่าศรีแสงธรรม ทั้งในระบบไฮบริด , ระบบออนกริตเพื่อประหยัดไฟฟ้า , ระบบสมาร์ทกริต , การผลิตรถพลังงานแสงอาทิตย์ , ระบบสูบน้ำด้วยไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรกรรม ฯลฯ

41228

โดยมีท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนศรีแสงธรรม เป็นวิทยากรบรรยายพร้อมนำคณะฯ ดูงานฯ

S__2867202

ซึ่งผู้บริหาร-ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. รู้สึกศรัทธาชื่นชมความรู้ ความสามารถ และแนวคิดการพัฒนาด้านพลังงานทดแทน ด้านการศึกษา การช่วยเหลือสนับสนุนหมู่บ้านชุมชนใกล้เคียงวัด/โรงเรียน โดยเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ และสร้างคุณประโยชน์ให้ชุมชน สังคมอย่างยั่งยืน ณ ห้องปฏิบัติการพลังงานไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์ โรงเรียนศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ต.ห้วยยาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

S__2867203

 

โซล่าร์ลอยน้ำ

Smart Hybrid System

39521886_1908338899282832_4974143329353596928_o.jpg

โซล่าร์เซลล์ลอยน้ำ

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าขนาด 5 กิโลวัตต์ บนทุ่นลอยน้ำภายในวัดป่าศรีแสงธรรม เพื่อจ่ายไฟฟ้าใหักับสถานีวิทยุเสียงธรรมที่เปิดตลอด 24 ชม. เนื่องจากพื้นที่ว่างมีการเพาะปลูกป่าเต็มไปหมด เหลือเพียงในสระน้ำที่ขุดเก็บกักน้ำไว้ใช้จึงต้องทำทุ่นลอยน้ำในการติดตั้งแผ่นโซล่าร์เซลล์ขนาด 320 วัตต์จำนวน 16 แผ่น สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่งมายังอินเวอร์เตอร์แบบไฮบริด

 

39454360_1906078359508886_6539573284277583872_o

ผังภาพวงจร

ระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ด้วยอินเวอร์เตอร์แบบ สมาร์ทไฮบริด เป็นเทคโนโลยีใหม่ทำงานคล้ายกับอุปกรณ์สำรองไฟฟ้าในคอมพิวเตอร์หรือ UPS ระบบจะเลือกรับไฟฟ้ากระแสตรงจากแผ่นโซล่าร์เซลล์เข้ามาแปลงเป็นกระแสสลับ 220 โวลท์ ก่อนในตอนกลางวันที่มีแสงแดดแล้วผลิตไปจ่ายไฟเข้าสถานี

40093115_1918388784944510_9075737178914422784_o

หลุยส์ เฮสดาร์ซัน

ในกรณีนี้มีการใช้พลังงานเพียง 3,000 วัตต์ชั่วโมง จะมีพลังงานที่ไม่ได้ใช้เกินมาประมาณ 2,000 วัตต์ชั่วโมงระบบก็จะทำการชาร์จพลังงานเก็บไว้ในแบตเตอรี่ และยังคงใช้ได้อยู่เหมือนเดิม เมื่อเแสงแดดหมดระบบก็จะดึงเอาพลังงานที่สะสมไว้จากแบตเตอรี่มาใช้ประมาณ 5 ชม. (ช่วงกลางคืน) พลังงานที่สะสมไว้ก็จะหมดจากแบตเตอรี่

IMG_1207

ที่ไม่ใช้แบตเตอรี่มากก็เพราะไม่ต้องการสำรองไว้มากจะเปลืองค่าแบตเตอรี่ หลังจากห้าทุ่มเป็นต้นไประบบสวิทช์อัตโนมัติก็จะตัดไปใช้ไฟจากสายส่ง ซึ่งไฟจากสายส่งนี้เราสามารถเลือกให้ชาร์จแบตช่วยแผ่นโซล่าร์เซลล์ได้ในกรณีที่พายุเข้าเป็นเดือนเหมือนเช่นทุกวันนี้ 

40067137_1918479361602119_8400086373113004032_o.jpg
ข้อดีของระบบนี้คือไฟจากสายส่งดับระบบก็ไม่ดับไปด้วยเพราะไม่ได้ซิงโคไนซ์กับไฟสายส่ง ขอให้มีแดดก็ยังใช้ได้ตลอด แม้แดดจะหมดไฟจากแบตก็ยังจ่ายต่อไปได้อีก 4-5 ชม.หากมีงบประมาณพอเอาให้จ่ายทั้งคืนรอจนแดดมาใหม่ก็ทำได้ จากภาพขั้นตอนการติดตั้งนี้จะเห็นได้ว่า ไฟจากสายส่งเป็นเพียงแค่ไฟสำรองระบบของเราเท่านั้น เป็นความมั่นคงด้านพลังงานของสถานีวิทยุเสียงธรรมที่เปิดต่อเนื่องส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาสนใจธรรมะภาคปฏิบัติกันมากขึ้นเพราะไม่ต้องลงทุนก็สร้างบุญสร้างกุศลให้ตนเองได้

การติดตั้งระบบโซล่าร์เซลล์ลอยน้ำ

ตามหลักการของอาร์คีเมดีส : แรงลอยตัวของวัตถุ = น้ำหนักของของใหลที่ถูกแทนที่โดยวัตถุนั้น
ถ้าเราต้องการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ขนาด 5 Kw.นำหนักรวมประมาณ 1,200 กก.คือเราต้องการแรงลอยตัว 1200 กก ถ้าของใหลเป็นน้ำ สิ่งที่แทนที่คืออากาศ(โดยคิดคร่าวๆตัด นน.ของอากาศออกไป)ดังนั้น
น้ำ 1 ลิตร จะหนัก 1 กก. ถ้าต้องการแรงลอยตัว 1,200 กก.ก็จะต้องแทนที่น้ำ 1,200 ลิตร คิดเป็น ลบ.เมตร ได้ 1.2 ลบ.เมตร จากการไปดูโครงสร้างแล้วทำให้หวั่นใจว่าจะเป็นการลอยน้ำแบบไหน โดยสภาพการลอยตัว

39846693_1911769628939759_2614344754829197312_n

การลอยตัวมี 3 แบบคือ
-Positive Buoyancy การลอยตัวเป็นบวก วัตถุจะลอยน้ำ
-Neutral Buoyancy การลอยตัวเป็นกลาง วัตถุไม่ลอยไม่จม มีสภาพไร้น้ำหนัก
-Negative Bouyancy การลอยตัวเป็นลบ วัตถุจมน้ำ
ความสำคัญของการลอยตัว คือปริมาตร ไม่ใช่น้ำหนัก
มีสูตรแนะนำมากมายต้องลองทำดูว่าแบบไหนจะไม่เปลืองเกินไป เทคนิคในการหาปริมาตรของทุ่นเพื่่อรองรับแผงโซล่าเซลล์ลอยน้ำ ให้แยกออกเป็น 2 ส่วนคือ

1.น้ำหนักของแผงโซล่าเซลล์และชุดโครงสร้าง 13kg/m2 และ
2.น้ำหนักของชุดโครงสร้างแพและจับยึดทุ่น ตัวเลข 40kg/m2-100kg/m2 หลังจากนั้นหาพื้นที่ที่ใช้งานทั้งหมด นำไปคูณน้ำหนักต่อตารางเมตรจะได้น้ำหนักของแพออกมา

การที่วัตถุสามารถลอยน้ำได้ จะต้องมีแรงปฏิกริยามากกว่าแรงโน้มถ่วง เพราะฉะนั้นวัตถุจะต้องมีค่าความหนาแน่นของวัตถุน้อยกว่าน้ำ ซึ่งความหนาแน่นของน้ำ D = 1/1000 kg/m3
จาก D = m/v จะได้ว่า มวล 1kg = ปริมาตร1 ลิตร (1 ลบ.ม =1000 ลิตร) สมมุติว่า ต้องการให้แพสามารถรองรับน้ำหนักได้ 1200 kg ก็ต้องใช้ทุ่นลอยน้ำที่มีปริมาตร 1200 ลิตร แต่ว่าควรเผื่่อค่าความปลอดภัยไว้ที่ 1.5 เนื่องจากมีน้ำหนักของทุ่น และอาจจะมีวัตถุอื่นๆบรรทุกในอนาคตร่วมได้ เพราะฉะนั้นจะได้ปริมาตรของทุ่นที่ปลอดภัยคือ 1200×1.5 = 1800 ลิตร หากใช้ถังเปล่าปริมาตร 200 ลิตร จะใช้ถังจำนวน 9 ถัง เป็นอย่างต่ำ โดยบางท่านอาจจะออกแบบทุ่นเองก็สามารถนำปริมาตรดังกล่าวไปคำนวณหาขนาดของทุ่นให้เหมาะสมก็ได้

40082639_1918492691600786_1724391010991079424_o

งานนี้ดาราพระเอกละครจากช่อง 7 สี หลุยส์ เฮสดาร์ซัน พระเอกลูกครึ่งฝรั่งเศส มาช่วยติดตั้้งโซล่าร์เซลล์ร่วมกับน้องๆ นักเรียนโรงเรียนศรีแสงธรรม จึงเป็นสีสันให้กับท้องถิ่นแห่งนี้อีกแบบหนึ่ง

และยังมีโซล่าร์ลอยน้ำจาก SCG มาติดตั้งระบบมาตรฐานให้อีก 5 กิโลวัตต์ ซึ่งสามารถมาชมได้ที่วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

40046251_1918492441600811_3282394615272964096_o

ต้านภัยแล้งด้วยแสงอาทิตย์

ระบบสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์

20663951_1462693810514012_4462540447017574529_n

ถังเก็บน้ำขนาด 57,000 ลิตร

การกักเก็บพลังงานส่วนที่เกินคมาไว้ในรูปแบบของน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค เป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพ และทางเลือกพลังงานที่ขาดแคลนหรือพื้นที่ห่างไกลไฟเข้าไม่ถึง

 

 

เกษตรไทยยุค 4.0 หรือ 5.0 ก็ตามส่วนมากการประกอบอาชีพจะลำบาก และมีความเป็นอยู่แบบยากจนปัญหาหลักคือน้ำทำการเกษตรอยู่ใต้ดิน หรือแม้แต่อยู่ผิวดินเมื่อนำมาใช้ในแปลงหรือในพื้นที่ต้องการก็ย่อมจะอาศัยเครื่อสูบน้ำ ถ้าไม่จากไฟฟ้าก็จากน้ำมัน ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องค่าใช้จ่าย ต้นทุนการดึงไฟจากสายส่ง หรือค่าน้ำมันในแต่ละวัน

 

 

โซล่าร์ปั๊มจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในการนำมาใช้ นับวันจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาและราคาถูกลงอย่างมากเมื่อก่อนมีการประมูลระดับสามแสนขึ้นไปซึ่งมีการกำหนดสเปคมาแล้ว การแข่งขันจึงน้อยมีปั๊มที่สามารถผูกขาดงานอยู่เจ้าเดียว แต่ปัจจุบันการแข่งขันสูงมีปั๊มออกมาแข่งขันกันมาก ราคาไม่ถึงแสน และยังมีชุดสำหรับชาวนาชาวสวนราคาประมาณสองหมื่นบาทออกมาจำหน่าย

 

 


ชุดใหญ่นี้สูบน้ำพลังแสงอาทิตย์สามารถสูบน้ำได้สูงถึง 20จ เมตร อัตราการไหลสูงสุด 8,000 ลิตร/ชม. ใช้โซล่าร์เซลล์ 330 วัตต์ 6 แผ่น เหมาะกับการใช้น้ำปริมาณมากๆ ต่อวันเพราะอัตราการไหลจะได้ถึงวันละ 40,000 ลิตร ดังนั้นจึงควรดูปริมาณความต้องการใช้น้ำของเราในแต่ละวัน 

25299607_1594692133980845_3606132680790812403_o

ชุด 400 วัตต์

สำหรับชาวสวนทั่วไปแนะนำชุดสูบน้ำขนาด 400 วัตต์ อัตราการไหลวันละ 10,000 ลิตร โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ มีแดดก็ได้น้ำทันที ถ้าหากว่ามีถังเก็บไว้จะดีที่สุด สร้างถังสูงสัก 6 เมตร ให้เก็บน้ำได้ 10,000 ลิตรขึ้นไป จากนั้นค่อยปล่อยน้ำจากถังไปใช้

17157640_1300612516722143_7532957481854694668_o

หากปล่อยน้ำไปจากบ่อบาดาลโดยตรงเวลาแดดน้อยเราก็ได้น้ำน้อย สู้แบบเก็บไว้ในถังไม่ได้ อยากใช้เมื่อไหร่ก็ได้ ปกติเรารดน้ำตอนเช้าแดดยังไม่จัด จะมีน้ำออกน้อย ถ้าปล่อยจากถังเลยก็ไม่ต้องห่วง ตอนสายๆ ค่อยสูบน้ำเก็บไว้ในถังไว้ใช้ต่อ

 

 

ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ในป่าในเขา ในนาในไร่ขอให้มีแสงแดด และมีน้ำ ทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยี และความขยันหมั่นเพียร รู้จักพึ่งพาตนเอง รู้จักคิดวิเคราะห์ ควรลงทุนไม่ลงทุน ลงทุนแล้วมีความเสียงอะไร ถ้าขาดเงินแล้วจะกู้มาลงทุนจะคุ้มค่าดอกเบี้ยไหม หรือไม่ทำจะดีกว่า อย่างนี้ให้รู้จักคิด

วิธีการต่อซับเมิร์สก็ดูเพิ่มเติมได้ พูดมากเจ็บคอ

 

Green Energy School

IMG_2621

Green Energy School

โรงเรียนศรีแสงธรรม ได้มีแนวคิดในการนำพลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าใช้ภายในโรงเรียน 100% บนแนวคิดใช้เท่าไหร่ผลิตเท่านั้น หรือที่เรียกว่า Consumption = Generation หรือจะบอกว่าเป็น Net Zero ก็ว่าได้

32584767_1761415223975201_740888047607873536_n

ซุ้มประตูโซล่าร์เซลล์

ฐานการเรียนรู้ต่างๆ ด้านพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากโซล่าร์เซลล์ เพื่อรองรับการศึกษาดูงานของผู้ที่สนใจ และรายการทีวีต่างๆ ที่เข้ามาทั้งในและต่างประเทศ จึงจัดเป็นจุดการเรียนรู้แต่ละจุดเพื่อสะดวกต่อการเยี่ยมชม และบางครั้งเจ้าหน้าที่ๆ เกี่ยวข้องมีธุระก็สามารถรับฟังการอธิบายจากครูหรือนักเรียนได้

อาคารอำนวยการ 

ได้รวมระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีในโลกขณะนี้ ไว้ในที่เดียวกัน 4 แบบคือ ระบบออนกริด ระบบสมาร์ทไฮบริด ระบบไฮบริด และระบบอ๊อฟกริด ขนาดกำลังผลิต 16 KWh. เพื่อจ่ายไฟไปยังจุดต่างๆ ผ่านตู้เมนการจ่ายไฟของโรงเรียนคือ ตู้ MDB

MDB จุดควบคุมไฟฟ้าของโรงเรียนซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อไฟจากการไฟฟ้าเข้ามายังโรงเรียน และเป็นจุดกระจายไฟฟ้าจากระบบผลิตต่างๆภายในโรงเรียนไปยังอาคารแต่ละอาคาร ซึ่งสามารถดูพลังงานที่ผลิตได้และดูการใช้พลังงานของแต่ละจุดภายในโรงเรียนผ่านวัตต์มิเตอร์ที่แสดงผลอยู่บนหน้าจอ

32384069_1761426693974054_7293102614638493696_o.jpg

อาคารรวมระบบผลิตไฟฟ้าที่มีในโลกไว้ที่นี่

อาคารเรียน 4 ชั้น

ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 100% มี Smart Hybrid Inverter 2 ชุด ขนาด 5 KWh.สำหรับผลิตไฟฟ้าให้กับชั้น 1 กับ ชั้น 2 และขนาด 3.6 KWh. สำหรับผลิตไฟฟ้าไห้กับชั้น 3 ชั้น 4 ใช้พื้นที่ติดตั้งประมาณ 60 ตารางเมตร

 

32681738_1762089383907785_6493473725252370432_o.jpg

การเชื่อมต่อสายไฟภายในโรงเรียนจะเป็นแบบร้อยท่อลอดใต้ดิน ไม่มีเสาไฟระโยงระยายภายในโรงเรียน

IMG_4156

นอกจากนั้นโรงอาหาร และบ้านพักครูก็จะมีระบบโซล่าร์เซลล์แยกออกต่างหากไม่รวมด้วยกัน และป้องกันไฟฟ้าดับ ไฟไม่พอแต่ละจุดสามารถย้ายไฟข้ามตึกไปใช้ด้วยกัน เป็นการจำลองระบบซื้อขายไฟฟ้าบ้านต่อบ้าน เมื่อเราไม่ใช้ไฟก็ขายให้ข้างบ้านที่ใช้ไฟฟ้าได้

IMG_7841

ซึ่งเป็นงานวิจัยร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ได้นำระบบการจัดการพลังงานเข้ามามีบทบาทในการใช้พลังงานให้คุ้มค่าภายในโรงเรียน ซึ่งระบบต่างๆ และวิธีการจัดการจะได้นำเสนอในโอกาสต่อไป  หรือท่านติดตามในสื่อรายการทีวีต่างๆ ที่นำไปเผยแพร่เรื่องราวของโรงเรียนศรีแสงธรรม เช่น

ท่านนายกรัฐมนตรีได้ยกตัวอย่างการพึ่งพาตนเองของโรงเรียนทางรายการคืนความสุขถึง 2 ครั้ง 2 ครา

IMG_1815

IMG_1810

หรือสำนักข่าวต่างๆประเทศก็มี นำไปเสนอเป็นภาษาต่างประเทศก็ติมตามกันได้

บ้านกินแดด

บ้านกินแดด

37085223_1841084039341652_2682955650496987136_n

บ้านดิน และบ้านกินแดด

บ้านกินแดดศรีแสงธรรม ตัวอย่างการประยุกต์ใช้พลังงานแสงอาทิตย์กับอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกอย่างในบ้านพักอาศัยสำหรับชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลจากสายส่งหรือไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ให้คนมีทางเลือกในการใช้พลังงานมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลจากสายส่งแค่ไหน หรือไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงเลย ถ้าอยากมีไฟฟ้าใช้ไม่ต้องไปออกข่าวอ้อนวอนนายกให้ยาก หรือไปทำเป็นบนบานศาลกล่าวกับเสาไฟฟ้า เอาสูตรนี้ไปลองทำดู 

โดยมีอุปกรณ์สำหรับชุดเล็กๆ สำหรับที่ต้องการใช้งานน้อย จึงแนะนำขนาด 300 วัตต์เป็นพื้นฐานสำหรับที่เหมาะกับงบประมาณ หากต้องการใช้งานมากขึ้น นานขึ้น หรือมีคนจำนวนมากก็ต้องใช้ขนาด 1,500 วัตต์ที่ติดตั้งไปกับรถนอนนา “ชุดนอนนา” โมเดล 1,500 วัตต์

 

แต่ถ้ามีงบประมาณน้อย หรือไม่ต้องการใช้มากบ้านกินแดดชุดนี้ก็สามารถใช้งานได้ดีเช่นกันโดยมีอุปกรณ์ดังนี้

37338451_1849289231854466_7465846551470931968_o

แผ่น 150  วัตต์ 2 แผ่น

  1. แผ่นโซล่าร์เซลล์ขนาด 150 วัตต์ 1แผ่นราคาประมาณ 3,000 บาท

2. คอนโทรลชาร์จ 10 แอมป์ราคาประมาณ 300 – 600 บาทแล้วแต่คุณภาพของแต่ละยี่ห้อ

3. แบตเตอรี่ 100 แอมป์ถ้าเป็นแบตรถยนต์ก็ไม่เกิน 3,000 บาท ส่วนที่นี่จะไม่แนะนำแบตเตอรี่รถยนต์ควรเป็นแบตเตอรี่แห้งราคาประมาณ 7,000 บาท

4. หากมีงบประมาณเพิ่มเติมอาจจะใช้อินเวอร์เตอร์เป็นตัวแปลงไฟกระแสตรงเป็นกระแสสลับ 220 โวลท์ขนาด 300 วัตต์ หรือไม่ต้องใช้ก็ได้ถ้าไม่มีความจำเป็น

50527314_2181838852130117_2638779210323197952_n

คอนโทรลชาร์จ 10 แอมป์

 

นอกนั้นก็เป็นอุปกรณ์การต่อ และสายไฟ ส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นประเภทกระแสตรงหรือเรียกว่า DC 12 V. ทั้งหลอดไฟ หม้อหุงข้าว เตารีด พัดลม ทีวี เครื่องสูบน้ำ (ยังไม่มีเครื่องซักผ้า) เครื่องใช้เหล่านี้มีขายหมด

37173086_1847638142019575_2710415034277691392_o เพียงเท่านี้ก็เป็นบ้านกินแดดได้ทันทีด้วยอุปกรณ์ 3-4 ชิ้นเท่านั้น จะหุงข้าวสูบน้ำ รีดผ้า ชาร์จมือถือ ก็นับว่าเป็นตัวอย่างการประยุกต์โซล่าร์เซลล์เพื่อใช้งานในชีวิตประจำวัน จากโรงเรียนศรีแสงธรรม ซิลิคอน วัลเลย์ อุบลราชธานี

IMG_2360

ชุดเล็ก 300  วัตต์แบบเคลื่อนย้าย

แต่เวลาใช้งานจริง ถ้าใช้พร้อมกันทั้งหมดที่นำมาเป็นตัวอย่างนี้นี้แผ่น 150 วัตต์แผ่นเดียวคงไม่ได้ไฟไม่เพียงพอในแต่ละวันอาจจะต้องเพิ่มจำนวนแผ่น หรือเพิ่มขนาดจาก 150 วัตต์ เป็น 330 วัตต์ 24 โวลท์พร้อมอินเวอร์เตอร์ เหมือนเช่นชุดนอนนา แต่รับรองว่าไม่ต้องใช้ไฟจากสายส่งเลยก็ว่าได้ ตัวอย่างชุดนอนนาขนาด 2,000 วัตต์ 


และแนะนำเรื่องการสูบน้ำไม่ควรใช้จากแผ่นเตอรี่เพราะแบตเตอรี่คือสิ่งที่แพงพอสมควรจึงต้องถนอมการใช้งาน แยกระบบออกมาต่างหากจะได้ช่วยยืดระยะการใช้งานของแบตเตอรีมากขึ้น

นี่ก็เป็นแนวทางการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานที่ทุกคนสามารถทำได้ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ จะอยู่ไกลจากเมืองหลวงหรือศูนย์กลางความเจริญแค่ไหนแต่เราอยู่ใกล้พระอาทิตย์เท่ากัน ดังนั้นหากที่ไหนไม่มีไฟฟ้าใช้ให้ติดต่อมาที่นี่ ศรีแสงธรรมการไฟฟ้า